ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
วัตตสูตร
[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อันสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรม ต้อง ประพฤติชอบในธรรม ๘ ประการ คือ ไม่พึงให้อุปสมบท ๑ ไม่พึงให้นิสัย ๑ ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก ๑ ไม่พึงยินดีการสมมติตนเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี ๑ แม้ ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงโอวาทภิกษุณี ๑ ไม่พึงยินดีการได้รับสมมติจากสงฆ์ไรๆ ๑ ไม่พึงนิยมในตำแหน่งหัวหน้าตำแหน่งไรๆ ๑ ไม่พึงให้ประพฤติวุฏฐานพิธีเพราะ ตำแหน่งเดิมนั้น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อันสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแล้ว พึงประพฤติชอบในธรรม ๘ ประการนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๓
จบสติวรรค
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สติสูตร ๒. ปุณณิยสูตร ๓. มูลสูตร ๔. โจรสูตร ๒ สูตร ๕. สมณสูตร ๖. ยสสูตร ๗. ปัตตสูตร ๒ สูตร ๘. อัปปสาทสูตร ๙. ปสาทสูตร ๑๐. ปฏิสารณียสูตร ๒ สูตร ๑๑. วัตตสูตร ฯ
หมวดแห่งวรรคนั้นมีว่า
นางโพชฌา นางสิริมา นางปทุมา นางสุธรรมา นางมนุชา นางอุตตรา นางมุตตา นางเขมา นางรุจี นางจุนที นางพิมพี นางสุมนา นางมัลลิกา นางติสสมาตา นางโสณมาตา นางกาณมาตา นางอุตตรมาตา นางวิสาขามิคารมาตา นาง ขุชชุตตราอุปาสิกา สามาวตีอุปาสิกา นางสุปปวาสาโกฬิยธีตา นางสุปปิยาอุปาสิกา นางนกุลมาตาคหปตานี ฯ [๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อ ความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อ ความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ฯ [๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการเพื่อ ความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ผู้มีรูปสัญญาในภายใน ย่อม เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมี ความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีรูปสัญญาใน ภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกหาประมาณมิได้ ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมีผิวพรรณ ทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มี อรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมี ผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึง เห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกหาประมาณมิได้ ทั้ง มีผิวพรรณดีทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้น แล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายในเห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว มี สีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูป ทั้งหลายแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก เหลือง มีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปทั้งหลายแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอกแดง มีสีแดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปทั้งหลายแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลาย ในภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปทั้งหลายแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญ ธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ฯ [๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการ เพื่อ ความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก ๑ ย่อมน้อมใจเชื่อว่า งาม ๑ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ มนสิการถึงนานัตตสัญญา ย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศ หาที่สุดมิได้ ๑ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ๑ เพราะล่วงวิญญาณัญ จายตนะโดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าอะไรๆ ย่อมไม่มี ๑ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๑ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้ง ปวง ย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญ ธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ฯ [๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งราคะ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ ความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯ
จบอัฏฐกนิบาต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๗๓๙๑-๗๔๕๙ หน้าที่ ๓๑๙-๓๒๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=7391&Z=7459&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=200&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=23&item=200&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=23&item=200&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=23&item=200&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=200              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]