ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ว่าด้วยเหตุที่ติเตียนมี ๒ อย่าง
[๖๙๔] ชื่อว่าความติด ในคำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดในโลก ได้แก่ความ ติด ๒ อย่าง คือ ความติดด้วยตัณหา ๑ ความติดด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดด้วยทิฏฐิ มุนีนั้นละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ จึงเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่เข้าไปติด ย่อมไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คือ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อม ไม่ติดในโลก. คำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ความว่า บุคคลย่อมติเตียนได้ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ เพราะกระทำอย่าง ๑ เพราะไม่กระทำอย่าง ๑. บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่ กระทำอย่างไร? บุคคลย่อมติเตียนตนได้ว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต เราไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ทำมโนสุจริต เราทำปาณาติบาต ฯลฯ เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ทำสัมมาทิฏฐิ บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมติเตียนตนว่า เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารใน อินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบความเพียรเป็น เครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เราไม่ได้เจริญ สัมมัปปธาน ๔ เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เราไม่ได้เจริญพละ ๕ เราไม่ ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เราไม่กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ละสมุทัย เรา ไม่เจริญมรรค เราไม่ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ อย่างนี้ มุนีไม่กระทำกรรมเป็นเหตุ ติเตียนตน คือ ไม่ยังกรรมนั้นให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้ บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ติเตียนตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้ ติเตียนตน ย่อมไม่ติดในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ไม่เป็นผู้ดำเนินไปด้วย ความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้น ขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดอยู่ในโลก.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๗๔๘๕-๗๕๐๙ หน้าที่ ๓๑๕-๓๑๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=7485&Z=7509&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=694&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=29&item=694&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=29&item=694&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=29&item=694&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=694              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]