ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
             [๒๑] 	สมัยต่อมาจากพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่า
                          สัตว์ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ มีพระนามว่าสิขี ทรงย่ำยีมารและ
                          เสนามารแล้ว ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ทรงประกาศพระ-
                          ธรรมจักร เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อพระสิขีชินเจ้าผู้
                          ประเสริฐ ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่
                          สัตว์แสนโกฏิ เมื่อพระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหมู่คณะ สูงสุดกว่า
                          นรชน ทรงแสดงธรรมอีก ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่น
                          โกฏิ เมื่อพระองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก
                          ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ แม้พระสิขี
                          บรมศาสดา ก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
                          มีจิตสงบระงับผู้คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุขีณาสพมาประชุม
                          กันหนึ่งแสน ครั้งที่ ๒ แปดหมื่น ครั้งที่ ๓ เจ็ดหมื่น เปรียบ
                          เหมือนดอกปทุมอันเจริญในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้ ฉะนั้น สมัยนั้นเราเป็น
                          กษัตริย์พระนามว่าอรินทมะ ได้ถวายข้าวและน้ำให้พระสงฆ์ มีพระ
                          พุทธเจ้าเป็นประธานฉันจนเพียงพอ ได้ถวายผ้าอย่างดีมากมายหลาย
                          โกฏิผืน ได้ถวายยานช้างอันประดับแล้ว แก่พระสัมพุทธเจ้า เรา
                          ได้สร้างยานช้างให้เป็นของควรแก่สมณะแล้วนำเข้าไปถวาย เรายัง
                          ฉันทะของเราซึ่งตั้งไว้มั่นเป็นนิตย์ให้เต็ม แม้พระพุทธสิขีผู้เป็น
                          นายกชั้นเลิศของโลก พระองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์เราว่า ในกัปที่ ๓๑
                          แต่กัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ........... ข้ามแม่น้ำใหญ่
                          ฉะนั้นเราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส
                          อย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้น
                          ไป พระนครชื่อว่าอรุณวดี พระบรมกษัตริย์พระนามว่าอรุณ เป็น
                          พระชนกของพระสีขีบรมศาสดา พระนางประภาวดีเป็นพระชนนี
                          พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เจ็ดพันปี ทรงมีปราสาทอัน
                          ประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุวัฑฒกะ คิริ และนารีวาหนะ ทรงมี
                          พระสนมนารีกำนัลในสองหมื่นสี่พันนาง ล้วนประดับประดาสวย
                          งาม พระมเหสีพระนามว่าสรรพกามา พระราชโอรสพระนามว่า
                          อตุละ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วย
                          คชสารยานพระที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระสิขี
                          มหาวีรเจ้าผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลกอุดมกว่านรชน อันพรหมทูล
                          อาราธนาแล้วทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน ทรงมีพระ-
                          อภิภูเถระ และพระสัมภวเถระเป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่า
                          เขมังกรเป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระมขีลาเถรีและพระปทุมาเถรีเป็น
                          พระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์ เรียกกันว่า บุณฑริก
                          [ไม้กุ่มบก]  สิริวัฑฒอุบาสกและนันทอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
                          จิตราอุบาสิกาและสูจิตราอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้า
                          พระองค์นั้น มีพระองค์สูง ๗๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดังทองคำ
                          ล้ำค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ พระรัศมี ของพระองค์
                          ซ่านออกไปจากพระวรกายด้านละวาเนืองนิตย์ พระรัศมีนั้นเปล่ง
                          ออกไปยังทิศน้อยทิศใหญ่ ๓ โยชน์ พระองค์มีชนมายุเจ็ดหมื่นปี
                          ทรงดำรงอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้ประชุมชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มาก
                          มาย พระองค์ทรงยังฝนคือธรรมให้ตก ยังมนุษย์พร้อมทั้งเทวดาให้
                          ชุ่มชื่น ให้บรรลุความเกษมแล้ว เสร็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก
                          พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ อันสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
                          หายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระพุทธสิขีมุนี
                          ผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ อัสสาราม พระสถูปอันประเสริฐ
                          ของพระองค์สูง ๓ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ อัสสารามนั้น ฉะนี้แล.
จบสิขีพุทธวงศ์ที่ ๒๐
เวสสภูพุทธวงศ์ที่ ๒๑
ว่าด้วยพระประวัติพระเวสสภูพุทธเจ้า

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๘๒๔๕-๘๒๙๕ หน้าที่ ๓๕๒-๓๕๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=8245&Z=8295&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.2&item=21&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.2&item=21&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.2&item=21&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.2&item=21&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.2&i=21              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]