ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
สัทโทวิปาโกติกถา
[๑๔๘๕] สกวาที เสียงเป็นวิบาก หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. เสียงเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นทุกข์ เป็นผล ที่บุคคลเสวยไม่ทุกข์ไม่สุข สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกข- เวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วย เวทนาสัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต มีอารมณ์ มีความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความ ปรารถนาความตั้งใจ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เสียง ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นทุกข์ ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า เสียงไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความ นึก ฯลฯ ความตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เสียงเป็นวิบาก [๑๔๘๖] ส. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เสียงเป็นวิบาก เสียงเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ มีอารมณ์ มีความ นึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๘๗] ส. เสียงเป็นวิบาก แต่เสียงไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มี อารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ไม่เป็นผลที่ บุคคลเสวยเป็นทุกข์ ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๘๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า เสียงเป็นวิบาก หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตนั้น เป็นผู้มีเสียงดุจเสียงพรหม กล่าวคำด้วยน้ำเสียงอันไพเราะดุจเสียงนกการะเวก เพราะกรรมนั้น อันได้ทำไว้แล้ว ได้สะสมแล้ว ได้เพิ่มพูนแล้ว เป็นกรรมไพบูลย์ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น เสียงก็เป็นวิบาก น่ะสิ
สัทโทวิปาโกติกถา จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๕๑๖๒-๑๕๑๙๙ หน้าที่ ๖๓๒-๖๓๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=15162&Z=15199&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1485&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1485&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1485&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1485&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1485              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]