ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๑๕
ปัจจยตากถา
[๑๕๙๖] สกวาที ความเป็นปัจจัย ท่านจำกัดไว้ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. วิมังสา เป็นเหตุและเป็นอธิบดีด้วย มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วิมังสา เป็นเหตุและเป็นอธิบดีด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย [๑๕๙๗] ฉันทาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า ฉันทาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยสหชาต ปัจจัย [๑๕๙๘] ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยสหชาต- ปัจจัย ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ด้วยมิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ด้วย ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปปัจจัย (และ) เป็น ปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย [๑๕๙๙] ส. วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นองค์แห่งมรรคด้วย มิใช่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วิริยาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคด้วย ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัย โดยมรรคปัจจัย [๑๖๐๐] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยสหชาต- ปัจจัย [๑๖๐๑] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นอาหารด้วย มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอาหารด้วย ด้วย เหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็น ปัจจัยโดยอาหารปัจจัย [๑๖๐๒] ส. จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นอินทรีย์ด้วย มิใช่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า จิตตาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย [๑๖๐๓] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยสหชาต- ปัจจัย [๑๖๐๔] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นอินทรีย์ด้วย มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย [๑๖๐๕] ส. วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม และเป็นองค์แห่งมรรคด้วย มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วิมังสาธิปติ เป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย [๑๖๐๖] ส. ปัจจเวกขณา ทำอริยธรรมให้หนัก บังเกิดขึ้นและทำอริยธรรมนั้น ให้ เป็นอารมณ์ด้วย มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่าปัจจเวกขณา ทำอริยธรรมให้หนัก บังเกิดขึ้น และทำอริยธรรม นั้นให้เป็นอารมณ์ด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า (อริยธรรม) เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย และเป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย [๑๖๐๗] ส. กุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่งกุศลธรรมหลังๆ และ เป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า กุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่งกุศลธรรม หลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย [๑๖๐๘] ส. อกุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่งอกุศลธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า อกุศลธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย แห่งอกุศล- ธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย [๑๖๐๙] ส. กิริยาอัพยากตธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย แห่งกิริยาอัพยา- กตธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า กิริยาอัพยากตธรรมก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแห่ง กิริยาอัพยากตธรรมหลังๆ และเป็นอาเสวนะด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย (และ) เป็นปัจจัยโดย อาเสวนปัจจัย [๑๖๑๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความเป็นปัจจัย ท่านจำกัดไว้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัยก็ได้ หรือ? ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ป. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นปัจจัยท่านก็จำกัดไว้ น่ะสิ
ปัจจยตากถา จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๖๔๖๓-๑๖๕๕๖ หน้าที่ ๖๘๕-๖๘๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=16463&Z=16556&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1596&items=15              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1596&items=15&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1596&items=15              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1596&items=15              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1596              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]