ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
             [๑๐๕๔] ถามว่า วิวาทาธิกรณ์ มีอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ไหม?
             ตอบว่า วิวาทาธิกรณ์ ไม่มีอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ แต่เพราะ
วิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ย่อมมีได้. เปรียบเหมือน
อะไร. เปรียบเหมือน ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ วิวาทกันว่า
             นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
             นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
             นี้พระตถาคตตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิตไว้
             นี้พระตถาคตทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา
             นี้พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
             นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๕๓.

นี้เป็นอาบัติเบา นี้เป็นอาบัติหนัก นี้เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน การ กล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น อันใด นี้ เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์. สงฆ์วิวาทกันในวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์. เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์. เมื่อโจท ย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์. สงฆ์ทำกรรมตามอาบัติ นั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์. เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจา- *ธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้.
อธิบายอนุวาทาธิกรณ์


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๙๒๐๓-๙๒๒๒ หน้าที่ ๓๕๒-๓๕๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=9203&Z=9222&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=8&item=1054&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=8&item=1054&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=1054&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=8&item=1054&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1054              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :