ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และทำสัปปายะในสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๙๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ ทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาธิมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๑๐ จบ
(สมาธิมูลกะ จบ)
๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร
ว่าด้วยการเข้าและการตั้งอยู่ในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาด ในการตั้งอยู่ในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกฐิติสูตรที่ ๑๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๙๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร

๑๒. สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตร
ว่าด้วยการเข้าและการออกจากสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ ฉลาดในการออกจากสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตรที่ ๑๒ จบ
๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความพร้อมในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๙๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตรที่ ๑๓ จบ
๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร
ว่าด้วยการเข้าและอารมณ์ในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตรที่ ๑๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๙๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร

๑๕. สมาปัตติมูลกโคจรสูตร
ว่าด้วยการเข้าและโคจรในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ ฉลาดในโคจรในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกโคจรสูตรที่ ๑๕ จบ
๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร
ว่าด้วยการเข้าและอภินิหารในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๙๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตรที่ ๑๖ จบ
๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความเคารพในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ ทำโดยเคารพในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ ทำโดยเคารพในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตรที่ ๑๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๙๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร

๑๘. สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความเพียรต่อเนื่องในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด
สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตรที่ ๑๘ จบ
๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยการเข้าและผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล
[๖๘๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ทำ สัปปายะในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในการเข้าสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และทำ สัปปายะในสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้า สมาธิ และทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ ยิ่งใหญ่ที่สุด ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และทำสัปปายะใน สมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ ยิ่งใหญ่ที่สุด”
สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๑๙ จบ
(สมาปัตติมูลกะ จบ)
๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๘ สูตร มีฐิติมูลกวุฏฐานสูตรเป็นต้น
[๖๘๑-๖๘๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ

๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ และฉลาดในการออกจากสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด
ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะที่ ๒๐-๒๗ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๘ สูตร จนถึงฐิติมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๒๗ ให้เต็ม
เหมือนสูตรต้น ฐิติมูลกะ จบ)
๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๗ สูตร มีวุฏฐานมูลกกัลลิตสูตรเป็นต้น
[๖๘๙-๖๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ และฉลาดในความพร้อมในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด
วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะที่ ๒๘-๓๔ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๗ สูตร จนถึงวุฏฐานมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๓๔
ให้เต็มเหมือนสูตรต้น วุฏฐานมูลกะ จบ)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๐๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ

๓๕-๔๐. กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๖ สูตร มีกัลลิตมูลกอารัมมณสูตรเป็นต้น
[๖๙๖-๗๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะที่ ๓๕-๔๐ จบ
(พึงขยายพระสูตรอีก ๖ สูตร จนถึงกัลลิตมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๔๐ ให้
เต็มเหมือนสูตรต้น กัลลิตมูลกะ จบ)
๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีอารัมมณมูลกโคจรสูตรเป็นต้น
[๗๐๒-๗๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่ ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๐๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ และฉลาดในโคจรในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะที่ ๔๑-๔๕ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๕ สูตร จนถึงอารัมมณมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๔๕
ให้เต็มเหมือนสูตรต้นๆ อารัมมณมูลกะ จบ)
๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๔ สูตร มีโคจรมูลกอภินีหารสูตรเป็นต้น
[๗๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ และ ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในโคจรในสมาธิ และฉลาดใน อภินิหารในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๐๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๕๓-๕๒. อภินีหารมูลกสัสกัจจสุตตาทิติกะ

[๗๐๘] “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรสมาธิ แต่ไม่ทำ โดยเคารพในสมาธิ ฯลฯ พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร [๗๐๙] “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ฯลฯ [๗๑๐] “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ทำ สัปปายะในสมาธิ ฯลฯ
โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะที่ ๔๖-๔๙ จบ
(โคจรมูลกะ จบ)
๕๐-๕๒. อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓ สูตร มีอภินีหารมูลกสักกัจจสูตรเป็นต้น
[๗๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่ ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ และทำโดยเคารพในสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๐๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ

ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด [๗๑๒] “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ แต่ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ฯลฯ [๗๑๓] “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ ฯลฯ
อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะที่ ๕๐-๕๒ จบ
(อภินีหารมูลกะ จบ)
๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๒ สูตร มีสักกัจจมูลกสาตัจจการีสูตรเป็นต้น
[๗๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่ ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิและ ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๐๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร

[๗๑๕] “... ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่ทำ สัปปายะในสมาธิ ฯลฯ
สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะที่ ๕๓-๕๔ จบ
๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยความเพียรต่อเนื่องและผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล
[๗๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่ ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ ๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ และทำสัปปายะในสมาธิ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ และทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๐๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ และทำ สัปปายะในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๕๕ จบ
(พึงขยายความพระสูตรทั้ง ๕๕ นี้ให้พิสดาร)
ฌานสังยุต จบ
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร ๒. สมาธิมูลกฐิติสูตร ๓. สมาธิมูลกวุฏฐานสูตร ๔. สมาธิมูลกกัลลิตสูตร ๕. สมาธิมูลกอารัมมณสูตร ๖. สมาธิมูลกโคจรสูตร ๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร ๘. สมาธิมูลกสักกัจจการีสูตร ๙. สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตร ๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร ๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร ๑๒. สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตร ๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร ๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร ๑๕. สมาปัตติมูลกโคจรสูตร ๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร ๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร ๑๘. สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตร ๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร ๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ ๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ ๓๕-๔๐. กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะ ๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ ๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๐๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]

รวมสังยุตที่มีในขันธวารวรรค

๕๐-๕๒. อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะ ๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ
๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร
ขันธวารวรรคที่ ๓ จบ
รวมสังยุตที่มีในขันธวารวรรคนี้ คือ
๑. ขันธสังยุต ๒. ราธสังยุต ๓. ทิฏฐิสังยุต ๔. โอกกันตสังยุต ๕. อุปปาทสังยุต ๖. กิเลสสังยุต ๗. สารีปุตตสังยุต ๘. นาคสังยุต ๙. สุปัณณสังยุต ๑๐. คันธัพพกายสังยุต ๑๑. วลาหกสังยุต ๑๒. วัจฉโคตตสังยุต ๑๓. ฌานสังยุต
ขันธวารวรรคสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๐๘}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎกที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๓๙๓-๔๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=333              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=6832&Z=11044                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=594              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=594&items=18              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=594&items=18                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i585-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn34.10/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.11/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.12/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.13/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.14/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.15/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.16/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.17/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.18/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.19/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.20-27/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.28-34/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.35-40/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.41-45/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.46-49/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.50-52/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.53-54/en/sujato https://suttacentral.net/sn34.55/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :