ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. ทุจจริตวรรค ๙. สีวถิกสูตร

๙. สีวถิกสูตร
ว่าด้วยป่าช้า
[๒๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ป่าช้ามีโทษ ๕ ประการ โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่สะอาด ๒. มีกลิ่นเหม็น ๓. มีภัย ๔. เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ดุร้าย ๕. เป็นที่คร่ำครวญของคนจำนวนมาก ภิกษุทั้งหลาย ป่าช้ามีโทษ ๕ ประการนี้แล ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้าก็มีโทษ ๕ ประการนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรม ที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด เรากล่าวอย่างนี้เพราะ เขาเป็นคนไม่สะอาด เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็นเหมือนป่าช้าที่ไม่สะอาด ๒. กิตติศัพท์อันชั่วของเขาผู้ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบ วจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด ย่อมกระฉ่อนไป เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขาเป็นคนมีกลิ่นเหม็น เรากล่าวว่าบุคคลนี้ เป็นเหมือนป่าช้าที่มีกลิ่นเหม็น ๓. เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมเว้นห่างไกลบุคคลผู้ ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบ มโนกรรมที่ไม่สะอาด เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขามีภัย เรากล่าวว่า บุคคลนี้เป็นเหมือนป่าช้าที่มีภัย ๔. เขาประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด ย่อมอยู่ร่วมกันกับบุคคลที่เหมือนกัน เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขาเป็นที่อยู่ที่ดุร้าย เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็น เหมือนที่อยู่ของอมนุษย์ดุร้าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๘๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. ทุจจริตวรรค ๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร

๕. เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักเห็นเขาประกอบกายกรรม ที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่ สะอาดแล้ว ย่อมถึงกับหมดอาลัยเป็นธรรมดาว่า ‘โอ เป็นทุกข์จริง หนอสำหรับเราผู้จำต้องอยู่ร่วมกับบุคคลเช่นนี้’ เรากล่าวอย่างนี้ เพราะเขาเป็นที่คร่ำครวญ เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็นหมือนป่าช้าเป็น ที่คร่ำครวญของคนจำนวนมาก ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้ามีโทษ ๕ ประการนี้แล
สีวถิกสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๘๙-๓๙๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=249              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=6341&Z=6367                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=249              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=249&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2077              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=249&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2077                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i241-e.php#sutta9 http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/05/an05-249.html https://suttacentral.net/an5.249/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :