ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๒. โพชฌังคสูตร๑-
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๑๐๒] ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้วิชชา ๓ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม) ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง) ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้ วิชชา ๓ ประการบริบูรณ์ วิชชา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, ๓๕๗/๒๕๘, องฺ.สตฺตก. ๒๓/๒๖/๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สมณสัญญาวรรค ๓. มิจฉัตตสูตร

๑. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ฯลฯ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ๒. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้ เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ อย่างนี้แล๑- ๓. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมให้ วิชชา ๓ ประการนี้บริบูรณ์
โพชฌังคสูตรที่ ๒ จบ
๓. มิจฉัตตสูตร
ว่าด้วยมิจฉัตตธรรม
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรม(ธรรมที่ผิด) จึงมีการพลาด จากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรมอย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มี การบรรลุสวรรค์และมรรคผล คือ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ(ดำริผิด) ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีมิจฉาวาจา(เจรจาผิด) ผู้มีมิจฉาวาจา ย่อมมีมิจฉากัมมันตะ(กระทำผิด) ผู้มีมิจฉากัมมันตะ ย่อมมีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด) ผู้มีมิจฉาอาชีวะ ย่อมมีมิจฉาวายามะ(พยายามผิด) ผู้มีมิจฉาวายามะ ย่อมมีมิจฉาสติ(ระลึกผิด) @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๙๗ (อาหุเนยยสูตร) หน้า ๒๒๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๔๓-๒๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=100              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=4827&Z=4843                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=102              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=102&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=102&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i101-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an10.102/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :