ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๓. สามัญญวรรค

๓. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยสามัญญลักษณะ
[๒๒-๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วย องค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ไม่สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้ องค์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ นายโคบาลในโลกนี้ ๑. ไม่รู้รูปโค ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะโค ๓. ไม่กำจัดไข่ขาง ๔. ไม่ปกปิดแผล ๕. ไม่สุมไฟ ๖. ไม่รู้ท่าน้ำ ๗. ไม่รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้ว ๘. ไม่รู้ทาง ๙. ไม่ฉลาดในที่หากิน ๑๐. รีดนมไม่ให้เหลือ ๑๑. ไม่บูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อโค เป็นจ่าฝูง ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ธรรม ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ไม่รู้รูป ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ ๓. ไม่กำจัดไข่ขาง ๔. ไม่ปกปิดแผล ๕. ไม่สุมไฟ ๖. ไม่รู้ท่าน้ำ ๗. ไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๘. ไม่รู้ทาง ๙. ไม่ฉลาดในโคจร ๑๐. รีดนมไม่ให้เหลือ ๑๑. ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล

... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในจักษุ ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในจักษุ ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสิ้นไปในจักษุ ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเสื่อมไปในจักษุ ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความคลายไปในจักษุ ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความดับไปในจักษุ ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสละคืนในจักษุ (๑-๘) [๓๐-๖๙] ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในโสตะ ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในฆานะ ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชิวหา ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในกาย ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในใจ ... (๙-๔๘) [๗๐-๑๑๗] ... ในรูป ... ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ในโผฏฐัพพะ ... ในธรรมารมณ์ ... (๔๙-๙๖) [๑๑๘-๑๖๕] ... ในจักขุวิญญาณ .... ในโสตวิญญาณ ... ในฆานวิญญาณ ... ในชิวหาวิญญาณ ... ในกายวิญญาณ ... ในมโนวิญญาณ ... (๙๗-๑๔๔) [๑๖๖-๒๑๓] ... ในจักขุสัมผัส ... ในโสตสัมผัส ... ในฆานสัมผัส ... ในชิวหา- สัมผัส ... ในกายสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ... (๑๔๕-๑๙๒) [๒๑๔-๒๖๑] ... ในเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่โสต- สัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ... ในเวทนา ที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส ... (๑๙๓-๒๔๐) [๒๖๒-๓๐๙] ... ในรูปสัญญา ... ในสัททสัญญา ... ในคันธสัญญา ... ใน รสสัญญา ... ในโผฏฐัพพสัญญา ... ในธัมมสัญญา ... (๒๔๑-๒๘๘) [๓๑๐-๓๕๗] ... ในรูปสัญเจตนา ... ในสัททสัญเจตนา ... ในคันธสัญเจตนา ... ในรสสัญเจตนา ... ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในธัมมสัญเจตนา ... (๒๘๙-๓๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล

[๓๕๘-๔๐๕] ... ในรูปตัณหา ... ในสัททตัณหา ... ในคันธตัณหา ... ใน รสตัณหา ... ในโผฏฐัพพตัณหา ... ในธัมมตัณหา ... (๓๓๗-๓๘๔) [๔๐๖-๔๕๓] ... ในรูปวิตก ... ในสัททวิตก ... ในคันธวิตก ... ในรสวิตก ... ใน โผฏฐัพพวิตก ... ในธัมมวิตก ... (๓๘๕-๔๓๒) [๔๕๔-๕๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้น เหมือนกัน เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปวิจาร ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในรูปวิจาร ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในรูปวิจาร ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสิ้นไปในรูปวิจาร ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเสื่อมไปในรูปวิจาร ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความคลายไปในรูปวิจาร ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความดับไปในรูปวิจาร ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปวิจาร ... ในสัททวิจาร ... ในคันธวิจาร ... ในรสวิจาร ... ในโผฏฐัพพวิจาร ... ใน ธัมมวิจาร ... (๔๓๓-๔๘๐)
สามัญญวรรค จบ
๔. ราคเปยยาล
[๕๐๒] ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้ องค์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ นายโคบาลในโลกนี้ ๑. รู้รูป ฯลฯ ฉันใด ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สามารถ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ พิจารณาเห็นความสละคืนในจักษุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด) ธรรม ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน ๕. เมตตาเจโตวิมุตติ ๖. กรุณาเจโตวิมุตติ ๗. มุทิตาเจโตวิมุตติ ๘. อุเบกขาเจโตวิมุตติ ๙. อากาสานัญจายตนฌาน ๑๐. วิญญาณัญจายตนฌาน ๑๑. อากิญจัญญายตนฌาน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑) [๕๐๓-๕๑๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการ เพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ ... เพื่อความดับไปแห่งราคะ ... เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืนราคะ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการนี้ เพื่อความสลละคืนราคะ (๒-๑๐) [๕๑๒-๖๘๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ... เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล

... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ ... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความสละโทสะ ... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ... อติมานะ (ความดูหมิ่น) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ (๑๑-๑๗๐) เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค
ราคเปยยาล จบ
อังคุตตรนิกายประกอบด้วยพระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร
เอกาทสกนิบาต จบ
อังคุตตรนิกาย จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๔๙}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๔๔๕-๔๔๙. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=218              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=8721&Z=12639                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=229              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=229&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8892              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=229&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8892                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i229-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i229-02-e.php# https://suttacentral.net/an11.22-29/en/sujato https://suttacentral.net/an11.30-69/en/sujato https://suttacentral.net/an11.70-117/en/sujato https://suttacentral.net/an11.118-165/en/sujato https://suttacentral.net/an11.166-213/en/sujato https://suttacentral.net/an11.214-261/en/sujato https://suttacentral.net/an11.262-309/en/sujato https://suttacentral.net/an11.310-357/en/sujato https://suttacentral.net/an11.358-405/en/sujato https://suttacentral.net/an11.406-453/en/sujato https://suttacentral.net/an11.454-501/en/sujato https://suttacentral.net/an11.502-981/en/sujato https://suttacentral.net/an11.982/en/sujato https://suttacentral.net/an11.983-991/en/sujato https://suttacentral.net/an11.992-1151/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :