ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมสังคณี
_________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มาติกา
ติกมาติกา (๒๒ ติกะ)
๑. กุสลติกะ
[๑] กุสลา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นกุศล (๓๖๓,๙๘๕,๑๓๘๔) อกุสลา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอกุศล (๓๖๕,๔๒๗,๙๘๖,๑๓๘๕) อพฺยากตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต (๔๓๑,๕๘๓,๙๘๗)
๒. เวทนาติกะ
[๒] สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา (๙๘๘,๑๓๘๗) ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา (๙๘๙,๑๓๘๘) อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา (๙๙๐,๑๓๘๙)
๓. วิปากติกะ
[๓] วิปากา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นวิบาก (๙๙๑,๑๓๙๐) วิปากธมฺมธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก (๙๙๒,๑๓๙๑) เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก (๙๙๓,๑๓๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ติกมาติกา

๔. อุปาทินนติกะ
[๔] อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิยึด ถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน (๙๙๔,๑๓๙๓) อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน (๙๙๕,๑๓๙๔) อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาทิฏฐิไม่ยึด ถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน (๙๙๖,๑๓๙๕)
๕. สังกิลิฏฐติกะ
[๕] สํกิลิฏฺฐสํกิเลสิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ ของกิเลส (๙๙๗,๑๓๙๖) อสํกิลิฏฺฐสํกิเลสิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ ของกิเลส (๙๙๘,๑๓๙๗) อสํกิลิฏฺฐาสํกิเลสิกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น อารมณ์ของกิเลส (๙๙๙,๑๓๙๘)
๖. วิตักกติกะ
[๖] สวิตกฺกสวิจารา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร (๑๐๐๐,๑๓๙๙) อวิตกฺกวิจารมตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๑๐๐๑,๑๔๐๐) อวิตกฺกาวิจารา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร (๑๐๐๒,๑๔๐๑)
๗. ปีติติกะ
[๗] ปีติสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ (๑๐๐๓,๑๔๐๒) สุขสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข (๑๐๐๔,๑๔๐๓) อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา (๑๐๐๕,๑๔๐๔)
๘. ทัสสนติกะ
[๘] ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค (๑๐๐๖,๑๔๐๕) ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ (๑๐๑๑,๑๔๐๖) เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ- มรรคและมรรคเบื้องบน ๓ (๑๐๑๒,๑๔๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ติกมาติกา

๙. ทัสสนเหตุติกะ
[๙] ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค (๑๐๑๓,๑๔๐๘) ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ (๑๐๑๘,๑๔๐๙) เนว ทสฺสเนน น ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณ ด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ (๑๐๑๙,๑๔๑๐)
๑๐. อาจยคามิติกะ
[๑๐] อาจยคามิโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ (๑๐๒๐,๑๔๑๑) อปจยคามิโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน (๑๐๒๑,๑๔๑๒) เนวาจยคามิโน นาปจยคามิโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิจุติและนิพพาน (๑๐๒๒,๑๔๑๓)
๑๑. เสกขติกะ
[๑๑] เสกฺขา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล (๑๐๒๓,๑๔๑๔) อเสกฺขา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นของอเสขบุคคล (๑๐๒๔,๑๔๑๕) เนวเสกฺขา นาเสกฺขา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล (๑๐๒๕,๑๔๑๖)
๑๒. ปริตตติกะ
[๑๒] ปริตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ (กามาวจร) (๑๐๒๖,๑๔๑๗) มหคฺคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ (รูปาวจรและอรูปาวจร) (๑๐๒๗,๑๔๑๘) อปฺปมาณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ (โลกุตตระ) (๑๐๒๘,๑๔๑๙)
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ
[๑๓] ปริตฺตารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีปริตตะ (กามาวจร) เป็นอารมณ์ (๑๐๒๙,๑๔๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ติกมาติกา

มหคฺคตารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ (รูปาวจรอรูปาวจร) เป็นอารมณ์ (๑๐๓๐,๑๔๒๑) อปฺปมาณารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ (โลกุตตระ)เป็นอารมณ์ (๑๐๓๑,๑๔๒๒)
๑๔. หีนติกะ
[๑๔] หีนา ธมฺมา. สภาวธรรมชั้นต่ำ (๑๐๓๒,๑๔๒๓) มชฺฌิมา ธมฺมา. สภาวธรรมชั้นกลาง (๑๐๓๓,๑๔๒๔) ปณีตา ธมฺมา. สภาวธรรมชั้นประณีต (๑๐๓๔,๑๔๒๕)
๑๕. มิจฉัตตติกะ
[๑๕] มิจฺฉตฺตนิยตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน (๑๐๓๕,๑๔๒๖) สมฺมตฺตนิยตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน (๑๐๓๖,๑๔๒๗) อนิยตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น (๑๐๓๗,๑๔๒๘)
๑๖. มัคคารัมมณติกะ
[๑๖] มคฺคารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์ (๑๐๓๘,๑๔๒๙) มคฺคเหตุกา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ (๑๐๓๙,๑๔๒๙) มคฺคาธิปติโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอธิบดี (๑๐๔๐,๑๔๒๙)
๑๗. อุปปันนติกะ
[๑๗] อุปฺปนฺนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เกิดขึ้น (๑๐๔๑,๑๔๓๐) อนุปฺปนฺนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น (๑๐๔๒,๑๔๓๐) อุปฺปาทิโน ธมฺมา. สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอน (๑๐๔๓,๑๔๓๐)
๑๘. อตีตติกะ
[๑๘] อตีตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอดีต (๑๐๔๔,๑๔๓๑) อนาคตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต (๑๐๔๕,๑๔๓๑) ปจฺจุปฺปนฺนา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน (๑๐๔๖,๑๔๓๑)
๑๙. อตีตารัมมณติกะ
[๑๙] อตีตารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ (๑๐๔๗,๑๔๓๒) อนาคตารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ (๑๐๔๘,๑๔๓๓) ปจฺจุปฺปนฺนารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ (๑๐๔๙,๑๔๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี ทุกมาติกา

๒๐. อัชฌัตตติกะ
[๒๐] อชฺฌตฺตา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นภายในตน (๑๐๕๐,๑๔๓๕) พหิทฺธา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน (๑๐๕๑,๑๔๓๕) อชฺฌตฺตพหิทฺธา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภายนอกตน (๑๐๕๒,๑๔๓๕)
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ
[๒๑] อชฺฌตฺตารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ (๑๐๕๓,๑๔๓๖) พหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ (๑๐๕๔,๑๔๓๗) อชฺฌตฺตพหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา. สภาวธรรมที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ (๑๐๕๕,๑๔๓๗)
๒๒. สนิทัสสนติกะ
[๒๒] สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ (๑๐๕๖,๑๔๓๘) อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ (๑๐๕๗,๑๔๓๙) อนิทสฺสนาปฺปฏิฆา ธมฺมา. สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ (๑๐๕๘,๑๔๔๐)
ติกมาติกา ๒๒ ติกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๑-๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=1&Z=103                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=1&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=1&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds1.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :