ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)
ว่าด้วยรูปเป็นวิบาก
[๗๖๕] สก. รูปเป็นวิบากใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. รูปมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ ฯลฯ สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความ นึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๕-๗๖๘/๒๘๗-๒๘๘) @ เพราะมีความเห็นว่า กัมมชรูป(รูปที่เกิดจากกรรม) ก็เรียกว่าวิบากได้ เหมือนกับที่เรียกจิตที่เป็นผลของ @กรรมว่าวิบากจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๖๕-๗๖๘/๒๘๗-๒๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๐๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๖. โสฬสมวรรค]

๘. รูปังวิปาโกติกถา (๑๖๓)

สก. หากรูปไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นวิบาก” [๗๖๖] สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้ อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปเป็นวิบาก มีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มี ความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. รูปเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผัสสะเป็นวิบาก ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๖๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นวิบาก” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. สภาวธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้ เป็นวิบาก มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากสภาวธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเพราะคนได้มีการทำกรรมไว้ จึงเป็นวิบาก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปที่เกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้ เป็นวิบาก”
รูปังวิปาโกติกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๐๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๐๗-๘๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=181              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=17425&Z=17463                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1675              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1675&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6481              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1675&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6481                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv16.8/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :