ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ลิจฉวีสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[๑๕๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้ เมืองเวสาลี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวีชื่อนันทกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส กะมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวีชื่อนันทกะว่า [๑๕๘๑] ดูกรนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกร นันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. [๑๕๘๒] ดูกรนันทกะ ก็แลอริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วยอายุทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยวรรณะทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยสุขทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบ ด้วยยศทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นใหญ่ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่ เป็นของมนุษย์ ดูกรนันทกะ ก็เราได้ฟังแต่สมณะหรือพราหมณ์อื่น จึงกล่าวเรื่องนั้น หามิได้ ความจริง เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง จึงกล่าวเรื่องนั้น. [๑๕๘๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว บุรุษคนหนึ่งได้กล่าวกะมหาอำมาตย์ ของเจ้าลิจฉวีชื่อนันทกะว่า ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว ท่านผู้เจริญ นันทกะมหาอำมาตย์กล่าวว่า ดูกรพนาย บัดนี้ยังไม่ต้องการอาบน้ำภายนอก ต้องการจักอาบน้ำภายใน คือ ความเลื่อมใสใน พระผู้มีพระภาค.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สรกานิวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหานามสูตรที่ ๑ ๒. มหานามสูตรที่ ๒ ๓. โคธาสูตร ๔. สรกานิสูตรที่ ๑ ๕. สรกานิสูตรที่ ๒ ๖. ทุสีลยสูตรที่ ๑ ๗. ทุสีลยสูตรที่ ๒ ๘. เวรภยสูตรที่ ๑ ๙. เวรภยสูตรที่ ๒ ๑๐. ลิจฉวีสูตร.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๙๒๖๘-๙๒๙๙ หน้าที่ ๓๘๖-๓๘๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=9268&Z=9299&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=9268&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=348              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1580              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=9577              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=9577              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn55/sn55.030.than.html https://suttacentral.net/sn55.30/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]