ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๔๙๓] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะ
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธานุสารีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์
นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธา
นุสารีบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔
ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔
เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมด
นั้นเป็นสัทธาธิมุตบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค
ทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์
ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็น
สัทธาธิมุต ฯ
             [๔๙๔] เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า เป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์ที่ไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็น
สหชาตปัจจัย ... สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยสามารถ
แห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถ
แห่งสมาธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดา
ปัตติผล ฯลฯ ได้สกทาคามิมรรค ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรค
ทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า
เป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
... สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี ฯ
             [๔๙๕] เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์ มีประมาณยิ่ง
เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นธรรมานุสารีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔
ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นธรรมานุสารี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์
มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฐิปัตตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญ
ดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดา
ปัตติผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นทิฐิปัตตะ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรค
ทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า เป็นทิฐิปัตตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็น
สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้น
เป็นทิฐิปัตตะ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๖๖๕๒-๖๗๐๓ หน้าที่ ๒๗๓-๒๗๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=6652&Z=6703&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=64              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=469              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [493-495] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=493&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=3868              The Pali Tipitaka in Roman :- [493-495] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=31&item=493&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=3868              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :