ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
อุเทนเถราปทานที่ ๑๐ (๔๑๐)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัวบาน
[๔๑๒] ภูเขาชื่อปทุม ตั้งอยู่ในที่ไม่ไกลต่อภูเขาหิมวันต์ เราทำอาศรมสร้างบรรณ ศาลาอย่างดีไว้ใกล้ภูเขาปทุมนั้น ที่ใกล้ภูเขานั้น มีแม่น้ำท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ น้ำใสแจ๋ว เย็นจืดสนิท น้ำไหลอยู่เป็นนิตย์ ในกาลนั้น ปลาสลาด ปลากะบอก ปลาสวาย ปลาเค้า และปลาตะเพียน อยู่ใน แม่น้ำย่อมทำแม่น้ำให้งาม ดาดาษไปด้วยต้นมะม่วง ต้นหว้า ต้นกุ่ม ต้นหมากเม่า ต้นราชพฤกษ์ ต้นแคฝอย ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ต้นปรู ต้นมะก่ำหลวง ต้นกะทุ่ม ต้นกาหลง ดอกกำลังบาน กลิ่นหอม ฟุ้งไป ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ต้นคำ ต้นสน ต้นกะทุ่ม หตฺถปาตา จ กำลังดอกบาน กลิ่นหอมตลบอบอวล ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ต้นสมอ ต้นมะขามป้อม ต้นมะม่วง ต้นหว้า ต้นสมอพิเภก ต้น พุทรา ต้นรกฟ้า ต้นมะตูม มีผลมากอยู่ใกล้อาศรมของเรา ต้นอ้อย ต้นกล้วย กำลังผลิดอกออกผลใกล้อาศรมของเรานั้น ไม้กลิ่นหอมตลบ อบอวล ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม ต้นอโสก จ วรี และต้นสะเดา กำลังดอกบานกลิ่นหอมตลบอบอวล ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม ต้น มะนาว ต้นมะงั่ว ต้นดีหมี มีดอกบาน หอมตลบอบอวล ย่อมทำให้ อาศรมของเรางาม ไม้ยางทราย ต้นคณฑีเขมา และต้นจำปา มีดอก บาน กลิ่นหอมตลบอบอวล ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม ในที่ไม่ไกล มีสระบัว มีนกจากพรากส่งเสียงร้องอยู่ ดาดาษด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวง และอุบล มีน้ำใสแจ๋ว เย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ ใจ น้ำใสสะอาด เสมอด้วยแก้วผลึก ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม ใน สระนั้น บัวหลวง บัวขาว บัวอุบล บัวขม และบัวเผื่อน ดอกบาน สะพรั่ง ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ปลาสลาด ปลากะบอก ปลาสวาย ปลาเค้า และปลาตะเพียนว่ายอยู่ในสระนั้น ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม จระเข้ ปลาฉลาม เต่า คหาโอคหา และงูเหลือมเป็นอันมาก ย่อมทำอาศรม ของเราให้งาม นกพิราบ นกเป็ดน้ำ นกจากพราก นกกาน้ำ นกต้อย ตีวิด และนกสาลิกา ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม มะม่วงหอมน่าดู ต้น ลำเจียก ดอกกำลังบาน มีกลิ่นหอมอบอวล ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาป่า หมาไน สัญจรอยู่ในป่า ใหญ่ ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ฤาษีทั้งหลาย (เกล้าผมเป็นเชิง) สวมชฎา มีหาบเต็ม นุ่งห่มหนังสัตว์ สัญจรอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมทำ อาศรมของเราให้งาม บางพวกทรงหนังเสือ มีปัญญา มีความประพฤติ สงบ และบริโภคอาหารแต่น้อยทั้งหมดนั้น ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ในกาลนั้น ฤาษีทั้งหลายเอาหาบใส่บ่าเข้าสู่ป่า กินเหง้ามันและผลไม้ อยู่อาศรม ในกาลนั้น ฤาษีเหล่านั้นไม่ต้องนำฟืนมา น้ำสำหรับล้างเท้าก็ไม่ ต้องนำมา ด้วยอานุภาพแห่งฤาษีทั้งปวง ฟืนและน้ำย่อมนำตัวมาเอง ฤาษี ๘๔,๐๐๐ ตน ประชุมกันอยู่ในอาศรมนั้น ทั้งหมดนี้เป็นผู้เพ่งฌาน แสวงหาประโยชน์อันสูงสุด ฤาษีเหล่านั้นเป็นผู้มีตบะ ประพฤติพรหม- จรรย์ ตักเตือนกันและกัน เป็นผู้แน่นแฟ้น เหาะไปในอากาศได้ทุกคน อยู่ในอาศรมประชุมกันทุก ๕ วัน ไม่ระส่ำระสาย มีความประพฤติสงบ ระงับ อภิวาทกันและกันแล้ว จึงบ่ายหน้ากลับไปตามทิศ (ที่ตนอยู่) ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง พระองค์ เสด็จอุบัติขึ้นกำจัดความมืดโดยรอบอาศรมของเรา มียักษ์ (เทวดา) ผู้มี ฤทธิ์ ยักษ์ตนนั้นได้บอกข่าวพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตระแก่เราว่า พระพุทธเจ้าองค์นี้พระนามว่าปทุมุตระ เป็นมหามุนี เสด็จอุบัติแล้ว จง รีบไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าเถิด ท่านผู้เนียรทุกข์ เราได้ฟังคำของยักษ์แล้ว มีใจเลื่อมใสยิ่งนัก เก็บอาศรมแล้ว ออกจากป่าในขณะนั้น เมื่อไฟกำลัง ไหม้ผ้าอยู่ เราออกจากอาศรม พักอยู่กลางทางคืนหนึ่งแล้ว เข้าไปเฝ้า พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก สมควร รับเครื่องบูชา กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ แสดงอมฤตบทอยู่ เราถือดอก ปทุมอันบานเต็มที่ เข้าไปเฝ้าพระองค์แล้ว มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ถวาย บังคมพระพุทธเจ้า บูชาพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ แล้วเอาหนัง- สัตว์ห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง สรรเสริญพระองค์ผู้นำของโลกว่า พระสัม- พุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ ประทับนั่งอยู่ที่นี้ด้วยพระญาณใด เราจักสรรเสริญ พระญาณนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว พระสัมพุทธเจ้าทรงตัดกระแส สงสารแล้ว ทรงยังสรรพสัตว์ให้ข้าม สรรพสัตว์นั้นฟังธรรมของพระ- องค์แล้ว ย่อมข้ามกระแสตัณหาได้ พระองค์เป็นศาสดา เป็นธงชัย เป็นหลัก เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่พึ่ง และเป็นประทีปของสัตว์ทั้งหลาย สูงสุดกว่าสัตว์ คณาจารย์ผู้นำหมู่ประมาณเท่าใด ที่ท่านกล่าวไว้ในโลก พระองค์เป็นผู้มีปัญญาเลิศกว่าคณาจารย์เหล่านั้น คณาจารย์เหล่านั้นนับ เป็นภายในของพระองค์ พระองค์ผู้มีปัญญา ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ ข้ามพ้นด้วยพระญาณของพระองค์ หมู่ชนอาศัยการได้เฝ้าพระองค์แล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ คันธชาติเหล่าใดเหล่าหนึ่งหอม ฟุ้งไปในโลก ข้าแต่พระมหามุนีผู้เป็นนาบุญ คันธชาติเหล่านั้นที่จะเสมอ ด้วยกลิ่นหอมของพระองค์ไม่มี พระองค์ผู้มีจักษุ ขอจงทรงเปลื้องกำเนิด ดิรัจฉาน นรก พระองค์ทรงแสดงบทอันเป็นปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สงบระงับ พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก สมควรกับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมี ความเลื่อมใสได้บูชาญาณของเรา ด้วยมือทั้งสองของตน เราจักพยากรณ์ ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัลป จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๐๐๐ ครั้ง เราเป็นผู้ได้ลาภ อันได้ดีแล้ว เรายังพระพุทธเจ้าผู้มีวัตรงามให้ทรงโปรด กำหนดอาสวะ ทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้น ได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ อยู่ การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำ ให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระอุเทนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อุเทนเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติสสเมตเตยยเถราปทาน ๒. ปุณณกเถราปทาน ๓. เมตตคูเถราปทาน ๔. โธตกเถราปทาน ๕. อุปสีวเถราปทาน ๖. นันทกเถราปทาน ๗. เหมกเถราปทาน ๘. โตเทยยเถราปทาน ๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน ๑๐. อุเทนเถราปทาน
และในวรรคนี้มีคาถา ๓๘๓ คาถา.
จบ เมตเตยยวรรคที่ ๔๑.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๙๔๓๗-๙๕๒๗ หน้าที่ ๔๒๕-๔๒๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=9437&Z=9527&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=412              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=412              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [412] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=32&item=412&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5471              The Pali Tipitaka in Roman :- [412] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=32&item=412&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5471              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap412/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :