ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์-จริยาปิฎก
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อปทาน
ภัททาลิวรรคที่ ๔๒
ภัททาลิเถราปทานที่ ๑
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างมณฑป
[๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ผู้เลิศ ประกอบด้วย พระกรุณา เป็นมุนี ปรารถนาความวิเวก เลิศกว่าโลก ได้เสด็จเข้า ไปยังป่าหิมพานต์ ครั้นแล้ว พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นำโลก ประเสริฐกว่าบุรุษ ได้ประทับนั่งขัดสมาธิ พระพุทธเจ้าผู้นำโลก พระนามว่าสุเมธะผู้สูงสุดกว่าบุรุษ พระองค์ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ ๗ คืน ๗ วัน เราถือหาบเข้าไปกลางป่า ณ ที่นั้นเราได้เห็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ ครั้งนั้น เราจับไม้กวาด กวาดอาศรม ปักไม้สี่อันทำเป็นมณฑป เราเอาดอกรังมามุงมณฑป เราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส โสมนัส ได้ถวายบังคมพระผู้นำโลกแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ที่ชนทั้งหลายกล่าวกันว่า มีปัญญาดังแผ่นดิน มีพระปัญญาดี ประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง พระภิกษุสงฆ์ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ เทวดาทั้งปวงทราบว่า พระพุทธเจ้าจะเปล่งวาจา จึงพากันมาประชุมด้วยคิดว่า พระพุทธ เจ้าผู้ประเสริฐสุด มีพระจักษุ จะทรงแสดงพระธรรมเทศนา โดยไม่ต้องสงสัย พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้สมควรรับ เครื่องบูชา ประทับนั่งในหมู่เทวดา ได้ตรัสพระคาถาดังต่อไปนี้ ผู้ใดทรงมณฑป มีดอกรังเป็นเครื่องมุงแก่เราตลอด ๗ วัน เราพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้นเกิดเป็นเทวดา หรือมนุษย์ จักเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำจักมีโภคทรัพย์ ล้นเหลือบริโภคกาม ช้างมาตังคะ ๖ หมื่นเชือกประดับด้วยเครื่อง อาภรณ์ทุกชนิด รัดประคน และพานหน้าพานหลังล้วนทองกอปร ด้วยเครื่องประดับศีรษะและข่ายทอง มีนายหัตถาจารย์ผู้มีมือถือหอก ซัดและขอ ขึ้นขี่ประจำ จักมาสู่ที่บำรุงผู้นั้นทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ผู้นี้จักเป็นผู้อันช้างเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว รื่นรมย์อยู่ สินธพอาชาไนย โดยกำเนิด ๖ หมื่นม้า ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่างเป็น พาหนะว่องไว มีอัสวาจารย์ผู้สวมเกราะถือธนู ขึ้นขี่ประจำ จัก แวดล้อมอยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา รถ ๖ หมื่นคัน ประดับด้วยสรรพาลังการ หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองบ้าง ด้วยหนังเสือ โคร่งบ้าง มีธงปักหน้ารถ มีคนขับถือธนูสวมเกราะขึ้นประจำ จัก แวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา บ้าน ๖ หมื่นบริบูรณ์ ด้วยเครื่องใช้ทุกสิ่ง มีทรัพย์และข้าวเปลือกล้นเหลือ บริบูรณ์ดีทุก ประการ จักมีปรากฏอยู่ทุกเมื่อ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เสนาสี่เหล่า คือ กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็น นิตย์ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๑,๘๐๐ ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ ในเทวโลก จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ครั้ง และจักรเสวย ราชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอัน ไพบูลย์โดยคณนานับไม่ถ้วน ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ พระศาสดามีพระ นามว่า โคดม ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราชจักเสด็จอุบัติ ขึ้นในโลก ข้าพระองค์เป็นทายาทในธรรมของพระองค์ท่าน เป็น โอรสอันธรรมนิรมิตแล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มี อาสวะอยู่ ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (แต่กัปนี้) ข้าพระองค์ได้เห็นพระศาสดา ผู้นำโลก ในระหว่างนี้ ข้าพระองค์ได้แสวงหาอมตบท การที่ข้าพระ องค์รู้ศาสนธรรมนี้ เป็นลาภของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ดีแล้ว วิชชา ๓ ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนา ข้าพระ- องค์ทำเสร็จแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระองค์ขอ นอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าบุรุษ ข้าพระองค์ ได้บรรลุอมตบท เพราะกล่าวสดุดีพระพุทธญาณ ข้าพระองค์เข้า ในถิ่นกำเนิดใดๆ คือ จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ย่อมเป็นผู้มีความสุข ในที่ทุกสถาน นี้เป็นผลในการที่ข้าพระองค์กล่าวสดุดีพระพุทธญาณ นี้เป็นการเกิดครั้งหลังของข้าพระองค์ ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่ ข้าพระองค์ตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มี อาสวะอยู่ ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมด แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่ข้าพระองค์ได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของข้าพระองค์นี้ เป็น การมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ พระ- พุทธศาสนา ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพระองค์ได้ทำให้แจ้ง แล้ว พระพุทธศาสนาข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระภัททาลิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ภัททาลิเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๑-๖๘ หน้าที่ ๑-๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=1&Z=68&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=1&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5478              The Pali Tipitaka in Roman :- [1] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=1&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5478              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap413/en/walters

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :