![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() สองบทว่า มกฺกฏึ อามิเสน ความว่า จำพวกสัตว์ดิรัจฉานเป็นอันมากมีเนื้อ นกยูง ไก่และลิงเป็นต้น ไม่มีความคิดระแวงรังเกียจ เพราะอานุภาพแห่งคุณมีขันติและ มีคำอธิบายว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเอาอามิส มีข้าวต้ม ข้าวสวย และของเคี้ยวเป็นต้นล่อ คือสงเคราะห์นางลิงตัวหนึ่ง ในบรรดาสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า ตสฺสา เป็นสัตตมีวิภัตติ. บทว่า ปฏิเสวติ ความว่า ย่อมเป็นผู้เสพโดยมาก. วัตตมานาวิภัตติ ย่อมลงในอรรถว่า ปจุร คือมาก. สองบทว่า โส ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เสพเมถุนธรรมนั้น. สองบทว่า เสนาสนจาริกํ อาหิณฺฑนฺตา ความว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นมาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้อาคันตุกภัตแต่เช้าตรู่ ทำภัตกิจเสร็จแล้ว ชักชวนกันว่า พวกเราจักดูสถานที่อยู่ของภิกษุทั้งหลาย แล้วก็เที่ยวไป. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายจึงกล่าวว่า เสนาสนจาริกํ อาหิณฺฑนฺตา. [ลิงตัวเมียแสดงของลับแก่ภิกษุอาคันตุกะ] บทว่า เฉปฺปํ แปลว่า หาง. บทว่า โอทฺทิสิ๑- แปลว่า วางไว้ตรงหน้า. สองบทว่า นิมิตฺตมฺปิ อกาสิ ความว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นย่อมรู้ความต้องการเมถุน ด้วยความกำหนดอย่างใด ด้วยกิริยาอย่างใด, ลิงตัวเมียนั้นก็ได้ทำนิมิตนั้น ด้วยความกำหนดและกิริยานั้นๆ. สองบทว่า โส ภิกฺขุ ความว่า นี้เป็นวิหาร (ที่อยู่) ของภิกษุใด, (ภิกษุนั้นย่อมเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้ ไม่ต้องสงสัยแล.) สองบทว่า เอกมนฺตํ นิลียึสุ ความว่า ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นได้แอบซ่อนอยู่ ณ โอกาสแห่งหนึ่ง. สองบทว่า สจฺจํ อาวุโส ความว่า ภิกษุรูปนั้น เพราะถูกพวกภิกษุอาคันตุกะเห็นกรรมที่เธอทำนั้นอย่างประจักษ์ตาทักท้วงขึ้น เหมือนจับโจรได้พร้อมกับของกลางฉะนั้น เมื่อไม่สามารถจะพูดคำเป็นต้นว่า ผมทำกรรมชั่วอะไรหรือ? จึงพูดรับว่า จริง ขอรับ! หลายบทว่า นนุ อาวุโส ตเถว ตํ โหติ ความว่า คุณ! แม้ในเพราะสัตว์เดีย จริงอยู่ การมองดูก็ดี จับต้องก็ดี ลูบคลำก็ดี แตะต้องก็ดี กระทบก็ดี แม้ซึ่งหญิงมนุษย์ เป็นความชั่วหยาบทั้งนั้น, กิริยามีการมองดูเป็นต้นนั้นทั้งหมด แม้ซึ่งสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นความชั่วหยาบเหมือนกัน, ในหญิงมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียนี้ จะมีความแปลกกันอะไร? ท่านได้อ้างเลศในฐานที่มิใช่เลศแล. หลายบทว่า อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ ปาราชิโก โหติ อสํวาโส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำสิกขาบทให้มั่นขึ้นอีกว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน. ____________________________ ๑- บาลี เป็น โอฑฺฑิ แปลว่า ได้แอ่นตะโพก. [สิกขาบททั้งหมดมีโทษ ๒ อย่าง] โลกวัชชะ (มีโทษทางโลก) ๑ ปัณณัตติวัชชะ (มีโทษทางพระบัญญัติ) ๑. บรรดาโทษ ๒ อย่างนั้น สิกขาบทใดในฝ่ายสจิตตกะ มีจิตเป็นอกุศลล้วนๆ, สิกขาบทนั้นชื่อว่าเป็นโลกวัชชะ ที่เหลือเป็นปัณณัตติวัชชะ. บรรดาโทษ ๒ อย่างนั้น อนุบัญญัติในสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะ เมื่อเกิดขึ้น กั้น ปิดประตู ตัดกระแส ทำให้ตึงขึ้นกว่าเดิม ย่อมเกิดขึ้น. ส่วนอนุบัญญัตินี้ว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ๑- เว้นไว้แต่ฝัน๒- พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะไม่มีการล่วงละเมิด และเพราะเป็นอัพโพหาริก. ในสิกขาบทที่เป็นปัณณัตติวัชชะ เมื่อภิกษุยังไม่ได้ทำการล่วงละเมิด อนุบัญ ส่วนอนุบัญญัติเห็นปานนี้ว่า โดยที่สุด (บอก) แม้แก่หญิงแพศยาอันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ๓- ชื่อว่ามีคติเหมือนพระบัญญัติทีเดียว เพราะเกิดขึ้นในเมื่อภิกษุทำการล่วงละเมิดแล้ว. ก็เพราะปฐมสิกขาบทนี้เป็นโลกวัชชะ ไม่ใช่เป็นปัณณัตติวัชชะ, เพราะฉะนั้น อนุบัญญัตินี้ก็กั้นปิดประตู ตัดกระแส ได้แก่ทำให้ตึงขึ้นกว่าเดิมอีก ย่อมเกิดขึ้น. ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลเรื่องแม้ทั้งสองมา แล้วบัญญัติปฐมปาราชิก ทำให้ตึงขึ้นกว่าเดิม ด้วยอำนาจมูลเฉทอย่างนั้น เรื่องภิกษุชาววัชชีบุตรแม้อื่นอีกก็เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เพื่อแสดงความเกิดขึ้นแห่งเรื่องภิกษุวัชชีบุตรนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายจึงได้กล่าวคำนี้ว่า ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้. อธิบายความแห่งคำนั้นว่า สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วอย่างนี้ แก่ภิกษุทั้งหลาย และเรื่องแม้อื่นนี้ก็ได้เกิดขึ้น. ____________________________ ๑- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๒๓๒/หน้า ๑๗๒. ๒- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๓๐๒/หน้า ๒๒๔. ๓- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๔๒๙/หน้า ๓๐๒. จบ มักกฏีวัตถุกถา. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ปฐมปาราชิกสิกขาบท อนุบัญญัติที่ ๑ เรื่องลิงตัวเมีย จบ. |