![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณนา ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป :- พึงทราบวินิจฉัยในทุฏฐโทสสิกขาบทนั้น ดังต่อไปนี้ :- [แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ] มีคำอธิบายว่า พวกเราจะตั้งชื่อให้แพะผู้ตัวนั้น อย่างนี้ว่า แพะตัวนี้ ชื่อว่าทัพพมัลลบุตร. แม้ในคำว่า เมตฺติยํ นาม ภิกฺขุนึ นี้ ก็นัยนี้. คำว่า เต ภิกฺขู เมตฺติยภุมฺมชเก ภิกฺขู อนุยุญฺชึสุ มีความว่า พวกภิกษุเหล่านั้นสอบสวนอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! พวกท่านเห็นพระทัพพมัลลบุตรกับนางเมตติยาภิกษุณี ณ ที่ไหนกัน? พวกเธอตอบว่า ที่เชิงเขาคิชฌกูฏ. ภิกษุทั้งหลายถามว่า ในเวลาไหน? พวกเธอตอบว่า ในเวลาไปภิกขาจาร. พวกภิกษุถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า ท่านทัพพะ! พวกภิกษุเหล่านี้กล่าวอย่างนี้ ท่านอยู่ที่ไหน ในเวลานั้น? ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า ข้าพเจ้าแจกภัตตาหารอยู่ในพระเวฬุวัน. ใครบ้างทราบว่าท่านอยู่ในเวฬุวัน ในเวลานั้น? ภิกษุสงฆ์ ขอรับ. พวกภิกษุเหล่านั้นจึงถามสงฆ์ว่า ท่านทั้งหลายทราบไหมว่า ท่านผู้มีอายุทัพพะนี้ อยู่ที่เวฬุวันในเวลานั้น? ภิกษุสงฆ์ ขอรับ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! พวกเรารู้ว่า พระเถระอยู่ที่เวฬุวันเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ท่านได้รับสมมติแล้ว. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะพระเมตติยะและภุมมชกะว่า ท่านผู้มีอายุ! ถ้อยคำของท่านทั้งสอง ไม่สมกัน, พวกท่านอ้างเลศ กล่าวกะพวกเรากระมัง? พระเมตติยะและภุมมชกะทั้งสองนั้น ถูกพวกภิกษุเหล่านั้นซักฟอกอย่างนั้น ได้กล่าวว่า ขอรับ ท่านผู้มีอายุ! จึงได้บอกเรื่องราวนั้น. ในคำว่า กิมฺปน ฯเปฯ อธิกรณสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- แพะนี้ (อธิกรณ์กล่าวคือแพะนี้) แห่งส่วนอื่น หรือส่วนอื่นแห่งแพะนั้น มีอยู่ เพราะเหตุนั้น แพะนั้นจึงชื่อว่า อัญญภาคิยะ (มีส่วนอื่น). สัตว์ที่รองรับ พึงทราบว่า อธิกรณ์. อธิบายว่า ที่ตั้งแห่งเรื่อง. เพราะว่า แพะที่พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะ กล่าวว่า ชื่อว่าทัพพมัลลบุตร นั้นย่อมมีแก่ส่วนคือโกฏฐาส ฝักฝ่าย กล่าวคือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน และความเป็นแพะอื่นจากส่วนคือโกฏฐาส ฝักฝ่าย กล่าวคือกำเนิดมนุษย์ และความเป็นภิกษุของท่านพระทัพพมัลลบุตร. อีกอย่างหนึ่ง ส่วนอื่นนั้น มีอยู่แก่แพะนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น แพะนั้นจึงได้การนับว่า มีส่วนอื่น. ก็เพราะแพะนั้น เป็นที่รองรับ เป็นที่ตั้งแห่งเรื่องของสัญญา คือการตั้งชื่อแห่งพวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะนั้น ผู้กล่าวอยู่ว่า พวกเราจะสมมติแพะนี้ ให้ชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร, เพราะฉะนั้น แพะนั้น พึงทราบว่า อธิกรณ์. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้นหมายถึงแพะนั้น จึงได้กล่าวว่า อญฺญภาคิยสฺส อธิกรณสฺ ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะอธิกรณ์เหล่านั้น ไม่มี. เพราะว่าภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้ถือเอาเอกเทศบางอย่างให้เป็นเพียงเลศ แห่งอธิกรณ์ ๔ อย่าง บางอธิกรณ์ซึ่งมีส่วนอื่น. และชื่อว่า เลศแห่งอธิกรณ์ ๔ ก็ไม่มี. จริงอยู่ เลศทั้งหลาย มีเลศ คือชาติเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับบุคคลเหล่านั้น มิได้ตรัสไว้สำหรับอธิกรณ์ มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น. และชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร นี้ เป็นเอก ก็บรรดาเทศและเลศนี้ ส่วนที่ชื่อว่าเทศ เพราะอรรถว่า ปรากฏคือถูกอ้างถึง ถูกเรียกว่า แพะนี้มีความสัมพันธ์แก่ส่วนอื่นนั้น. คำว่า เทศนี้ เป็นชื่อแห่งส่วนใดส่วนหนึ่ง บรรดาส่วนมีชาติเป็นต้น. ที่ชื่อว่าเลศ เพราะอรรถว่า รวม คือยึดวัตถุแม้อื่นไว้ ได้แก่ติดอยู่เพียงเล็กน้อยโดยเป็นเพียงโวหารเท่านั้น. คำว่า เลศ นี้ เป็นชื่อแห่งส่วนใดส่วนหนึ่ง บรรดาส่วนมีชาติเป็นต้นเหมือนกัน. คำอื่นนอกจากสองคำนั้น มีอรรถกระจ่างทั้งนั้น. แม้ในสิกขาบทบัญญัติ ก็มีอรรถอย่างนี้เหมือนกัน. [อธิบายอธิกรณ์เป็นเรื่องอื่นและเป็นเรื่องนั้น] ก็ข้อที่อธิกรณ์ทั้งปวงเป็นเรื่องนั้น และเป็นเรื่องอื่นนี้ อันผู้ศึกษาพึงทราบว่า ทรงประมวลมาแล้ว เพื่อแสดงแม้ซึ่งคำโจทด้วยอำนาจแห่งอธิกรณ์ อันเป็นเรื่องอื่นแห่งอาบัติ ที่ตรัสไว้แล้วในที่สุดนั่นแล. อันที่จริง เมื่อนิเทศว่า กถญฺจ อาปตฺติ อาปตฺติยา อญฺญภาคิยา โหติ ดังนี้ อันพระองค์ควรปรารภถึง เพราะในอุเทศนั้นได้ทรงยกขึ้นไว้ก่อนว่า อาปตฺตญฺญภาคิยํ วา เป็นต้น. เนื้อความนี้จักมาในคราวพิจารณาอธิกรณ์เป็นส่วนนั้น แห่งอาปัตตาธิกรณ์นั่นแล เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ทรงปรารภอย่างนั้น ทรงกำหนดเอาบทสุดท้ายทีเดียว ปรารภนิเทศว่า กถญฺจ อธิกรณํ อธิกรณสฺส อญฺญภาคิยํ ดังนี้. ในวาระทั้งสองนั้น อัญญภาคิยวาร มีเนื้อความตื้นทีเดียว. จริงอยู่ อธิกรณ์แต่ละอย่างๆ จัดเป็นเรื่องอื่น คือเป็นฝ่ายอื่น เป็นส่วนอื่นแห่งอธิกรณ์ ๓ อย่างนอกนี้ เพราะมีวัตถุเป็นวิสภาคกัน. ส่วนในตัพภาคิยวาร มีวินิจฉัยว่า วิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นเรื่องนั้น เป็นฝ่ายนั้น เป็นส่วนนั้นแห่งวิวาทาธิกรณ์ ก็เพราะมีวัตถุเป็นสภาคกัน. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องนั้นแห่งอนุวาทาธิกรณ์ ก็เหมือนกัน. คืออย่างไร? คือเพราะว่า วิวาทที่อาศัยเภทกรวัตถุ ๑๘ เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และวิวาทที่อาศัยเภทกรวัตถุเกิดขึ้นในบัดนี้ ย่อมเป็นวิวาทาธิกรณ์อย่างเดียวกันแท้ เพราะมีวัตถุเป็นสภาคกัน. อนึ่ง อนุวาทที่อาศัยวิบัติ ๔ เกิดขึ้นตั้งแต่พุทธกาล และอนุวาทที่อาศัยวิบัติ ๔ เกิดในบัดนี้ ย่อมชื่อว่า เป็นอนุวาทาธิกรณ์อย่างเดียวกันแท้ เพราะมีวัตถุเป็นสภาคกัน. ส่วนอาปัตตาธิกรณ์ ไม่จัดเป็นเรื่องนั้นโดยส่วนเดียว แห่งอาปัตตาธิกรณ์ เพราะมีวัตถุทั้งเป็นสภาคกัน ทั้งเป็นวิสภาคกัน และเพราะพึงเห็นคล้ายความเป็นเอง เพราะเหตุนั้น อาปัตตาธิกรณ์ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นเรื่องนั้น แห่งอาปัต ก็ในคำว่า กิจฺจาธิกรณํ กิจฺจาธิกรณสฺส ตพฺภาคิยํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- อธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรม ๔ เกิดขึ้น ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และอธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรม ๔ เกิดขึ้นในบัดนี้ ย่อมเป็นกิจจาธิกรณ์อย่าง เดียวกันแท้ เพราะเป็นสภาคกัน และเพราะเห็นได้คล้ายกัน. ถามว่า อธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรมเกิดขึ้น ชื่อว่า กิจจาธิกรณ์ หรือว่า ข้อนั้นเป็นชื่อแห่งสังฆกรรมทั้งหลายเท่านั้น. แก้ว่า ข้อนั้น เป็นชื่อแห่งสังฆกรรมทั้งหลายเท่านั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกอธิกรณ์ที่อาศัยสังฆกรรมเกิดขึ้นว่า กิจจาธิกรณ์ เพราะอาศัยกรรมลักษณะที่ภิกษุใฝ่ใจถึง ซึ่งตรัสไว้ว่า "ชื่อว่าสังฆกรรมนี้และนี้ ควรทำอย่างนี้" เกิดขึ้นและเพราะอาศัยสังฆกรรมก่อนๆ เกิดขึ้น. ก็เพราะสองบทว่า เทโส หรือ เลส [แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ตอนว่าด้วยเลศ] บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ขตฺติโย ทิฏฺโฐ โหติมีความว่า บุคคลอื่นบางคน เป็นเชื้อชาติกษัตริย์ ย่อมเป็นผู้อันโจทก์นี้เห็นแล้ว. คำว่า ปาราชิกํ ธมฺมํ อชฺฌาปชฺชนฺโต ได้แก่ เป็นผู้ต้องบรรดาปาราชิกมีเมถุนธรรมเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. คำว่า อญฺญํ ขตฺติยํ ปสฺสิตฺวา โจเทติ มีความว่า ภายหลังโจทก์นั้น เห็นภิกษุอื่นผู้มีชาติเป็นกษัตริย์ ซึ่งเป็นคู่เวรของตน แล้วถือเอาเลศ คือชาติกษัตริย์นั้น โจทอย่างนี้ว่า กษัตริย์ต้องธรรม คือปาราชิก ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว, ท่านเป็นกษัตริย์ เป็นผู้ต้องธรรม คือปาราชิก. อีกอย่างหนึ่ง โจทว่า ท่าน คือกษัตริย์นั้น ไม่ใช่ผู้อื่นเป็นผู้ต้องธรรมคือปาราชิก, ท่านเป็นผู้มิใช่สมณะ เป็นผู้มิใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตร, ไม่มีอุโบสถ ปวารณา หรือว่าสังฆกรรม ร่วมกับท่าน ต้องสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด. ก็ในคำว่า ขตฺติโย มยา ทิฏฺโฐ เป็นต้นนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบความที่กษัตริย์เหล่านั้น เป็นผู้มีส่วนอื่น ด้วยอำนาจแห่งกษัตริย์ ผู้ไม่เหมือนกันและกันนั้นๆ มีลักษณะสูง หรือที่ตนได้เห็นแล้วเป็นต้น และความที่กษัตริย์เหล่านั้น เป็นอธิกรณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้รองรับบัญญัติคือชาติกษัตริย์. ผู้ศึกษาพึงทราบโยชนาในบททั้งปวงโดยอุบายนี้นั่นแล. พึงทราบวินิจฉัยในปัตตเลสนิเทศ ดังนี้ :- บาตรดินเหนียวมีสัณฐานงาม มีผิวเรียบสนิท มีสีเหมือนแมลงภู่ คล้ายกับบาตรโลหะ ท่านเรียกว่า บาตรเคลือบ. บาตรดินตามปกติ ท่านเรียกว่า บาตรดินธรรมดา. ก็เพราะตรัสนิเทศแห่งเลศ คืออาบัติไว้โดยสังเขปด้วยบทเดียวกันเท่านั้น ฉะนั้น เพื่อแสดงเลศ คืออาบัติแม้นั้นโดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า เราได้เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ดังนี้. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสนิเทศแห่งเลศ คืออาบัตินั้นไว้ในอธิการแห่งเลศ คืออาบัตินั้นเสียทีเดียว แต่กลับมาตรัสไว้ต่างหาก ในนิเทศแห่งบทว่า สงฺฆาทิเสโส นี้เล่า? แก้ว่า ก็เพราะในนิเทศแห่งเลศ ไม่มีสภาคกัน. จริงอยู่ นิเทศแห่งเลศทั้งหลาย ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งการเห็นภิกษุรูปอื่น แล้วโจทภิกษุอีกรูปหนึ่ง. แต่นิเทศแห่งเลศ คืออาบัตินี้ ตรัสด้วยอำนาจการเห็นภิกษุรูปเดียวนั่นแล ต้องอาบัติอื่น แล้วโจทด้วยอาบัติอื่น. ถามว่า ถ้าอย่างนั้น อธิกรณ์มีส่วนอื่น จะมีได้อย่างไร? แก้ว่า มีได้ เพราะอาบัติ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า อธิกรณ์เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และเลศอันโจทก์อ้างแล้ว แม้ด้วยอาการอย่างนี้. แท้จริง ภิกษุนั้นต้องสังฆาทิเสสใด, อธิกรณ์คือสังฆาทิเสสนั้น เป็นอธิกรณ์มีส่วนอื่นแห่งปาราชิก. ก็ที่ชื่อว่าเลศแห่งอธิกรณ์มีส่วนอื่นนั้น คือความเป็นอาบัติทั่วไปแก่อาบัติทั้งปวง เหมือนความเป็นกษัตริย์ทั่วไปแก่กษัตริย์ทั้งปวงฉะนั้น. นัยทั้งหลายมีอาบัติที่เหลือเป็นมูล และโจทาปกวาร ผู้ศึกษาพึงทราบโดยอุบายนี้. คำว่า อนาปตฺติ ตถาสญฺญี โจเทติ วา โจทาเปติ วา มีความว่า ภิกษุใดมีความสำคัญอย่างนี้ว่า ผู้นี้ต้องปาราชิกทีเดียว โจทเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นโจทอย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. บทที่เหลือทั้งหมดตื้นทั้งนั้น. แม้ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น ก็เหมือนกับปฐมทุฏฐโทสสิกขาบทนั้นแล. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทวรรณนา จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา เตรสกัณฑ์ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๙ จบ. |