![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() กุลทูสกสิกขาบทวรรณนา ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป :- ในกุลทูสกสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- [แก้อรรถเรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ] บทว่า กิฏาคิริสฺมึ ได้แก่ ในชนบทที่มีชื่ออย่างนั้น. ในคำว่า อาวาสิกา โหนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- อาวาสของภิกษุเหล่านี้มีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุเหล่านี้จึงชื่อว่า อาวาสิกะ (เจ้าอาวาส). วิหารท่านเรียกว่า อาวาส. วิหารนั้นเกี่ยวเนื่องแก่ภิกษุเหล่าใด โดยความเป็นผู้ดำเนินหน้าที่มีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ และการซ่อมแซมของเก่าเป็นต้น, ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า อาวาสิกะ (เจ้าอาวาส). แต่ภิกษุเหล่าใดเพียงแต่อยู่ในวิหารอย่างเดียว ภิกษุเหล่านั้น ท่านเรียกว่า เนวาสิกะ (เจ้าถิ่น). ภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะนี้ได้เป็นเจ้าอาวาส. สองบทว่า อลชฺชิโน ปาปภิกฺขู ได้แก่ เป็นพวกภิกษุลามก ไม่มีความละอาย. เพราะว่า ภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านั้น เป็นภิกษุฉัพพัคคีย์ชั้นหัวหน้าแห่งภิกษุฉัพพัคคีย์ทั้งหลาย. [ประวัติพวกภิกษุฉัพพัคคีย์] ____________________________ ๑- ๖ คน คือ ปัณฑุกะ ๑ โลหิตกะ ๑ เมตติยะ ๑ ภุมมชกะ ๑ อัสสชิ ๑ ปุนัพพสุกะ ๑ บวชแล้ว เรียกว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ แปลว่า มีพวก ๖. ๒- นิตฺถเรณกฏฺฐาเนติ อุปฺปนฺนกิจฺจสฺส นิปฺผาทนฏฺฐาเนติ โยชนาปาโฐ ฯ ๑/๔๙๓. ลำดับนั้น พวกเธอจึงกล่าวกะภิกษุชื่อบัณฑุกะและโลหิตกะว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ขึ้นชื่อว่ากรุงสาวัตถี มีตระกูลห้าล้านเจ็ดแสนตระกูลอยู่ครอบครอง เป็นปากทางแห่งความเจริญของแคว้นกาสีและโกศลทั้งสอง กว้างประมาณ ๓๐๐ โยชน์ ประดับด้วยหมู่บ้าน ๘ หมื่นตำบล, พวกท่านจงให้สร้างสำนักในสถานที่ใกล้ๆ กรุงสาวัตถีนั้นนั่นแล แล้วปลูกมะม่วง ขนุนและมะพร้าวเป็นต้น สงเคราะห์ตระกูลด้วยดอกและผลไม้เหล่านั้น ให้พวกเด็กหนุ่มของตระกูลบวชแล้วขยายบริษัทให้เจริญเถิด. กล่าวกะพวกภิกษุชื่อว่าเมตติยะและภุมมชกะว่า ท่านผู้มีอายุ! ชื่อว่ากรุงราชคฤห์มีพวกมนุษย์ ๑๘ โกฏิอยู่ครอบครอง เป็นปากทางแห่งความเจริญของแคว้นอังคะและมคธทั้งสอง กว้าง ๓๐๐ โยชน์ ประดับด้วยหมู่บ้าน ๘ หมื่นตำบล, พวกท่านจงให้สร้างสำนักในที่ใกล้ๆ กรุงราชคฤห์นั้นแล้ว ปลูกมะม่วง ขนุนและมะพร้าวเป็นต้น สงเคราะห์ กล่าวกะพวกภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะว่า ท่านผู้มีอายุ! ขึ้นชื่อว่ากิฏาคีรีชนบท อันเมฆ (ฝน) ๒ ฤดูอำนวยแล้ว ย่อมได้ข้าวกล้า ๓ คราว, พวกท่านจงให้สร้างสำนักในที่ใกล้ๆ กิฏาคิรีชนบทนั้นนั่นแล ปลูกมะม่วง ขนุนและมะพร้าวเป็นต้นไว้ สงเคราะห์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น บรรดาพวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น แต่ละฝ่ายมีภิกษุเป็นบริวารฝ่ายละ ๕๐๐ รูป รวมเป็นจำนวนภิกษุ ๑,๕๐๐ รูป บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุชื่อปัณฑุกะและโลหิตกะ พร้อมทั้งบริวารเป็นผู้มีศีลแล เที่ยวไปยังชนบทเป็นที่จาริกร่วมเสด็จกับพระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกเธอไม่ก่อให้เกิดเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำ แต่ชอบย่ำยีสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว. ส่วนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์นอกนี้ทั้งหมดเป็นอลัชชี ย่อมก่อให้เกิดเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำด้วย ย่อมพากันย่ำยีสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้วด้วย. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาห บทว่า เอวรูปํ ได้แก่ มีกำเนิดอย่างนี้. สองบทว่า อนาจารํ อาจรนฺติ ความว่า ย่อมประพฤติล่วงมารยาทที่ไม่ควรประพฤติ คือกระทำสิ่งที่ไม่ควรกระทำ. บทว่า มาลาวจฺฉํ ได้แก่ ต้นไม้มีดอกตูม (กอไม้ดอก). จริงอยู่ ต้นไม้ดอกก็ดี กอไม้ดอกก็ดี ที่ดอกยังตูม ท่านเรียกว่ากอไม้ดอกทั้งนั้น. ก็ภิกษุเหล่านั้นปลูกเองบ้าง ให้คนอื่นปลูกบ้างซึ่งกอไม้ดอกมีชนิดต่างๆ กันมากมาย. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะทั้งหลายจึงกล่าวว่า มาลาวจฺฉํ โรเปนฺติปิ โรปาเปนฺติปิ ดังนี้. บทว่า สิญฺจนฺติ ได้แก่ ย่อมรดน้ำเองบ้าง. บทว่า สิญฺจาเปนฺติ ได้แก่ ย่อมใช้ให้คนอื่นรดบ้าง. [อธิบายลักษณะ ๕ มีอกัปปิยโวหารเป็นต้น] บรรดาลักษณะ ๕ เหล่านั้นที่มีชื่อว่า อกัปปิยโวหาร ได้แก่ การตัดเอง การใช้ให้ตัดจำพวกของสดเขียว, การขุดเอง การใช้ให้ขุดหลุม, การปลูกเอง การใช้ให้ปลูกกอไม้ดอก, การก่อเอง การใช้ให้ก่อคันกั้น, การรดน้ำเอง การใช้ให้รดน้ำ, การทำรางน้ำให้ตรงไป การรดน้ำที่เป็นกัปปิยะ การรดด้วยน้ำล้างมือล้างหน้าล้างเท้าและน้ำอาบ. ที่ชื่อว่า กัปปิยโวหาร ได้แก่ คำว่า จงรู้ต้นไม้นี้, จงรู้หลุมนี้, จงรู้กอไม้ดอกนี้, จงรู้น้ำในที่นี้ และการทำรางน้ำที่แห้งให้ตรง. ที่ชื่อว่า ปริยาย ได้แก่ คำมีอาทิว่า บัณฑิตควรให้ปลูกต้นไม้ทั้งหลายมีต้นไม้ ที่ชื่อว่า โอภาส ได้แก่ การยืนถือจอบและเสียมเป็นต้น และกอไม้ดอกทั้งหลาย ที่ชื่อว่า นิมิตกรรม ได้แก่ การนำจอบ เสียม มีด ขวานและภาชนะน้ำมาวางไว้ในที่ไกล้ๆ. ลักษณะทั้ง ๕ ประการนี้ย่อมไม่ควรในการปลูก เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ตระกูล. เพื่อประโยชน์แก่การบริโภคผล กิจ ๒ อย่างคืออกัปปิยโวหารและกัป ในการเก็บเองและในเพราะการใช้ให้เก็บผลไม้ แม้ตามปกติก็เป็นปาจิตตีย์. แต่ (ในการเก็บและในการใช้ให้เก็บ) เพื่อต้องการประทุษร้ายตระกูล เป็นปาจิตตีย์ด้วย เป็นทุกกฏด้วย. ในเพราะการร้อยดอกไม้ มีการร้อยตรึงเป็นต้น มีพวงดอกไม้สำหรับประดับอกเป็นที่สุด เป็นทุกกฏอย่างเดียว แก่ภิกษุผู้ทำเพื่อต้องการประทุษร้ายตระกูล หรือเพื่อประการอื่น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเป็นอนาจาร และเพราะเป็นปาปสมาจารดังตรัสไว้ในคำว่า ปาปสมาจาโร นี้. หากโจทก์ท้วงว่า เหตุไร ในการปลูกต้นไม้เพื่อประโยชน์แก่การบูชาพระรัตนตรัย จึงไม่เป็นอนาบัติ เหมือนในการปลูกต้นไม้เพื่อประโยชน์แก่อารามเป็นต้นเล่า? เฉลยว่า เป็นอนาบัติเหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า ในการปลูกต้นไม้ เพื่อประโยชน์แก่อารามเป็นต้นนั้น เป็นอนาบัติ เพราะกัปปิยโวหารและอาการมีปริยายเป็นต้นฉันใด, แม้ในการปลูกต้นไม้เพื่อประโยชน์แก่การบูชาพระรัตนตรัย ก็คงเป็นอนาบัติฉันนั้น. โจทก์ท้วงว่า ก็ในการปลูกต้นไม้นั้น แม้ปลูกเองในกัปปิยปฐพี ย่อมควรมิใช่หรือ? เฉลยว่า คำนั้นท่านกล่าวแล้วในมหาปัจจรีและกุรุนที แต่ในมหาอรรถกถามิได้กล่าวไว้. ถ้าแม้นท่านจะพึงฉงนไปว่า ถึงคำที่กล่าวแล้วในอรรถกถานอกนี้จะเป็นประมาณได้ก็จริง, แต่การรดน้ำที่เป็นกัปปิยะ ท่านได้กล่าวไว้ในมหาอรรถกถา, การรดน้ำที่เป็นกัปปิยะนั้นเป็นอย่างไร? แม้การรดน้ำที่เป็นกัปปิยะนั้น ก็ไม่ผิด. อันที่จริงในการปลูกและการรดนั้น เมื่อท่านกล่าวอยู่ว่า ซึ่งดอกไม้ดอก ดังนี้ ในเมื่อท่านควรจะกล่าวโดยไม่แปลกกันว่า ปลูกเองบ้าง ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดเองบ้าง ให้ผู้อื่นรดบ้างซึ่งต้นไม้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมให้ทราบ อธิบายว่า คำว่า กอไม้ดอก นี้กล่าวหมายเอาต้นไม้ที่มีดอกและผล เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ตระกูลเท่านั้น, แต่ยังมีปริยายในการปลูก เพื่อประโยชน์แก่อารามเป็นต้นอย่างอื่น เพราะเหตุนั้น คำใดที่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายทราบความมีปริยายในการปลูกเพื่อประโยชน์แก่อารามเป็นต้นนั้น และความไม่มีปริยายในการปลูก เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ตระกูลนี้แล้ว กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย, คำนั้นเป็นอันท่านกล่าวชอบแท้. จริงอยู่ คำนี้ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวแล้วว่า พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายในปางก่อนได้รจนาอรรถกถา ทั้งหลาย ไม่ได้ละมติของพระสาวกทั้งหลายผู้รู้ธรรมและวินัย เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วทีเดียว เพราะเหตุนั้นแล คำใดที่ กล่าวแล้วในอรรถกถาทั้งหลาย, คำนั้นทั้งหมด เว้นคำที่เขียน ด้วยคำพลั้งเผลอเสียแล้ว ย่อมเป็นประมาณของบัณฑิตทั้งหลาย ผู้มีความเคารพในสิกขาในพระศาสนา เพราะเหตุใด. การปลูกเป็นต้นและการร้อยเป็นต้นทุกๆ อย่าง พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว. ในวิสัยมีการร้อยเป็นต้นนั้น พึงมีคำถามว่า ถ้าเป็นอาบัติในเพราะการร้อยเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่การบูชาพระรัตนตรัยแล้ว เหตุไร ในเพราะการนำไปเป็นต้นจึงเป็นอนาบัติ มีคำแก้ว่า เพราะนำไปเพื่อประโยชน์แก่กุลสตรีเป็นต้น จึงเป็นอาบัติ. จริงอยู่ ในหรณาธิการ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวไว้ให้พิเศษแล้วว่า เต กุลิตฺถีนํ เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นำไปเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธเจ้าเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกโต วณฺฏิกํ ได้แก่ ระเบียบดอกไม้ที่จัดทำรวมขั้วดอกไม้เข้าด้วยกัน (มาลัยต่อก้าน). บทว่า อุภโต วณฺฏิกํ ได้แก่ ระเบียบดอกไม้ที่ทำแยกขั้วดอกไม้ไว้สองข้าง (มาลัยเรียงก้าน). ส่วนในบทว่า มญฺชริกํ เป็นต้นมีวินิจฉัยว่า บุปผวิกัติที่ทำคล้ายกำไล เรียกว่า มัญชริกา (ดอกไม้ช่อ). ระเบียบดอกไม้ที่ใช้เข็มหรือซี่ไม้เสียบดอกย่างทรายเป็นต้นทำ ชื่อว่า วิธูติกา (ดอกไม้พุ่ม). บทว่า วฏํสโก ได้แก่ เทริด (ดอกไม้กรองบนศีรษะ). ระเบียบดอกไม้สำหรับประดับหู ชื่อ อาเวฬา (ดอกไม้พวง). พวงดอกไม้ที่ตั้งอยู่ตรงอก คล้ายแก้วมุกดาหาร ชื่อ ทับทรวง (ดอกไม้แผงสำหรับประดับ). พรรณนาเฉพาะบทในพระบาลีนี้เท่านี้ก่อน. [ว่าด้วยการวินิจฉัยอาบัติในการปลูกเองเป็นต้น] เป็นอาบัติปาจิตตีย์กับทุกกฏ แก่ภิกษุผู้ปลูกกอไม้ดอกเอง ในอกัปปิยปฐพี เพื่อประโยชน์แก่การประทุษร้ายสกุล. ภิกษุใช้ให้ปลูกด้วยอกัปปิยโวหารก็เหมือนกัน, ในการปลูกเองก็ดี ใช้ให้ปลูกก็ดี ในกัปปิยปฐพี เป็นทุกกฏอย่างเดียว. ในปฐพีแม้ทั้งสอง ในเพราะใช้ให้ปลูกกอไม้ดอกแม้มาก ด้วยการสั่งครั้งเดียว เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ หรือเป็นทุกกฏล้วน แก่ภิกษุนั้น ครั้งเดียวเท่านั้น, ไม่เป็นอาบัติในเพราะใช้ให้ปลูกด้วยกัป ก็ในการรดเอง และการใช้ให้รด มีวินิจฉัยอาบัติดังนี้ :- เป็นปาจิตตีย์ทุกๆ แห่ง ด้วยน้ำที่เป็นอกัปปิยะ. เพื่อประโยชน์แก่การประทุษ ในการเก็บเอง เพื่อประโยชน์แก่การประทุษร้ายตระกูล เป็นทุกกฏกับปาจิต [อรรถาธิบายบุปผวิกัติ ๖ ชนิด] บรรดาบุปผวิกัติ ๖ ชนิดนั้น ที่ชื่อว่า คัณฐิมะ พึงเห็นในดอกอุบลและดอกปทุมเป็นต้นที่มีก้าน หรือในดอกไม้ทั้งหลายอื่นที่มีขั้วยาว. จริงอยู่ ดอกไม้ที่ร้อยตรึงก้านกับก้าน หรือขั้วกับขั้วนั่นเอง ชื่อ คัณฐิมะ. แม้คัณฐิมะนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีจะทำเองก็ดี ใช้ให้ทำด้วยถ้อยคำเป็นอกัปปิยะก็ดี ย่อมไม่ควร. แต่จะใช้ให้ทำด้วยกัปปิยวาจาเป็นต้นว่า จงรู้อย่างนี้, ทำได้อย่างนี้แล้วจะพึงงาม, จงทำดอกไม้ทั้งหลายเหล่านี้ไม่ให้กระจัดกระจาย ดังนี้ ควรอยู่. การเอาด้ายหรือปอเป็นต้นร้อยคุมดอกไม้มีดอกมะลิเป็นต้น ด้วยอำนาจระเบียบดอกไม้มีขั้วข้างเดียวและมีขั้วสองข้าง (ด้วยอำนาจมาลัยต่อก้านและมาลัยเรียงก้าน) ชื่อว่า โคปปิมะ. คนทั้งหลายทบปอหรือเชือกเป็นสองเส้น และร้อยดอกไม้ไม่มีขั้วเป็นต้นในปอหรือเชือกนั้น แล้วขึงไว้ตามลำดับ, แม้ดอกไม้นี้ก็ชื่อว่า โคปปิมะ เหมือนกัน. โคปปิมะทั้งหมด ไม่ควรโดยนัยก่อนเหมือนกัน. ที่ชื่อว่า เวธิมะ คือ ดอกไม้ที่คนทั้งหลายเสียบดอกไม้ที่มีขั้วมีดอกมะลิเป็นต้นที่ขั้ว หรือเสียบดอกไม้ที่ไม่มีขั้วมีดอกพิกุลเป็นต้น ภายในช่องดอก ด้วยเสี้ยนตาลเป็นต้นแล้วร้อยไว้นี้ ชื่อว่า เวธิมะ. แม้ดอกไม้นั้นก็ไม่สมควร โดยนัยก่อนเหมือนกัน. ก็คนบางคนเอาหนาม หรือเสี้ยนตาลเป็นต้นปักที่ต้นกล้วยแล้วเสียบดอกไม้ไว้ที่หนามเป็นต้นนั้น. บางพวกเสียบดอกไม้ไว้ที่กิ่งไม้มีหนาม. บางพวกเสียบดอกไม้ไว้ที่หนาม ซึ่งปักไว้ที่ฉัตรและฝา เพื่อกระทำฉัตรดอกไม้และเรือนยอดดอกไม้. บางพวกเสียบดอกไม้ไว้ที่หนามซึ่งผูกไว้ที่เพดานธรรมาสน์. บางพวกเสียบดอกไม้มีดอกกรรณิ ก็การที่จะผูกหนามไว้ที่เพดานธรรมาสน์ เพื่อเสียบดอกไม้ก็ดี จะ ดอกไม้ที่มีชื่อว่า เวฐิมะ พึงเห็นในพวงดอกไม้และกำดอกไม้. อธิบายว่า คนบางพวก เมื่อจะทำพวงดอกไม้แขวนยอด (ธรรมาสน์เป็นต้น) จึงร้อยดอกไม้ทั้งหลาย๑- เพื่อแสดงอาการเป็นพุ่มอยู่ภายใต้ บางพวกมัดดอกอุบลเป็นต้นที่ก้านอย่างละ ๘ ดอกบ้าง อย่างละ ๑๐ ดอกบ้างด้วยด้าย หรือด้วยปอ กระทำให้เป็นกำดอกอุบล หรือเป็นกำดอกบัวหลวง. การทำดอกไม้อย่างนั้น ไม่ควรทั้งสิ้น โดยนัยก่อนเหมือนกัน. แม้การที่จะเอาผ้ากาสาวะพันดอกอุบลเป็นต้น ที่พวกสามเณรถอนขึ้นวางไว้บนบกให้เป็นห่อ ก็ไม่ควร. แต่จะเอาปอหรือก้านของดอกอุบลเป็นต้นนั้นนั่นแหละ มัดเข้าด้วยกัน หรือกระทำให้เป็นห่อสะพาย ควรอยู่. ____________________________ ๑- สารตฺถทีปนี ๓/๑๑๖ มตฺถกทามนฺติ ธมฺมาสนาทิมตฺถเก ลมฺพกทามํ. ที่ชื่อว่า ห่อสะพายนั้น คือพวกภิกษุรวบเอาชายทั้งสองข้างของผ้ากาสาวะที่พาดไว้บนคอเข้ามาแล้ว ทำให้เป็นถุง (โป่งผ้า) ใส่ดอกไม้ลงในถุงนั้น ดุจถุงกระสอบ นี้ ท่านเรียกว่า ห่อสะพาย. การกระทำดอกไม้เช่นนั้น ควรอยู่. คนทั้งหลายเอาก้านแทงใบบัว แล้วเอาใบห่อดอกอุบลเป็นต้น ถือไป. แม้ในวิสัยที่เอาใบอุบลเป็นต้น ห่อถือไปนั้น จะผูกใบปทุมเบื้องบนดอกไม้ทั้งหลายเท่านั้น ควรอยู่. แต่ก้านปทุม ไม่ควรผูกไว้ภายใต้ดอก (แต่การผูกก้านปทุมไว้ภายใต้ดอก ไม่ควร). ที่ชื่อว่า ปูริมะ พึงเห็นในพวงมาลัย และดอกไม้แผ่น. อธิบายว่า ผู้ใดเอาพวงมาลัยวงรอบเจดีย์ก็ดี ต้นโพธิ์ก็ดี ชุกชีก็ดี นำวกกลับมาให้เลยที่เดิม (ฐานเดิม) ไป, แม้ด้วยการวงรอบเพียงเท่านั้น ดอกไม้ของผู้นั้นชื่อว่า ปูริมะ. ก็จะกล่าวอะไรสำหรับผู้ที่วงรอบมากครั้ง. เมื่อสอดเข้าไปทางระหว่างฟันนาค๒- (บันไดแก้ว). ปล่อยให้ย้อยลงมา แล้วตลบพันรอบฟันนาค (บันไดแก้ว) อีก แม้ดอกไม้นี้ก็ชื่อว่า ปูริมะ. แต่จะสอดวลัยดอกไม้เข้าไปในฟันนาค (บันไดแก้ว) สมควรอยู่. ____________________________ ๒- นาคทนฺตกํ แปลว่า ฟันนาค, ฟันมังกร, บันไดแก้ว, และกระจังก็ได้. คนทั้งหลายย่อมทำแผงดอกไม้ (ดอกไม้แผ่น) ด้วยพวงมาลัย. แม้ในวิสัยดอกไม้แผงนั้น จะขึงพวงมาลัยไปเพียงครั้งเดียว ควรอยู่. เมื่อนำย้อนกลับมาอีก จัดเป็นการร้อยวงทีเดียว. ดอกไม้ชนิดนั้นไม่ควรทุกอย่าง โดยนัยก่อนเหมือนกัน. ก็การได้พวงดอกไม้ที่เขาทำด้วยพวงมาลัยแม้เป็นอันมากแล้ว ผูกไว้เบื้องบนแห่งอาสนะเป็นต้น ควรอยู่. ก็การเอาพวงมาลัยที่ยาวมากขึงไป หรือวงรอบไปครั้งหนึ่งแล้ว (เมื่อถึงเงื่อนเดิม) อีก ให้แก่ภิกษุอื่นเสีย สมควรอยู่. แม้ภิกษุนั้นก็ควรทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ที่ชื่อว่า วายิมะ พึงเห็นในดอกไม้ตาข่าย ดอกไม้แผ่น และดอกไม้รูปภาพ. เมื่อภิกษุกระทำตาข่ายดอกไม้ แม้บนพระเจดีย์เป็นทุกกฏทุกๆ ช่องตาข่ายแต่ละตา. ในฝาผนัง ฉัตร ต้นโพธิ์และเสาเป็นต้นก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ก็การที่ภิกษุจะร้อยกรองแผงดอกไม้แม้ที่คนอื่นทำให้เต็มแล้ว ก็ไม่ได้. คนทั้งหลายย่อมกระทำรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น ด้วยดอกไม้ที่ร้อยคุมทั้งหลายนั่นแล. แม้รูปช้างและรูปม้าเป็นต้นเหล่านั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานแห่ง วายิมะ ดอกไม้นั้นย่อมไม่ควรทั้งสิ้น โดยนัยก่อนเหมือนกัน. แต่เมื่อจะวางดอกไม้ (ตามปกติไม่ได้ร้อย) ในตอนที่คนเหล่าอื่นทำไว้แล้ว กระทำแม้ให้เป็นรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวบุปผวิกัติไว้ ๘ ชนิด รวมกับพวงพู่ห้อยและพวงดังพระจันทร์เสี้ยว. บรรดาพวงพู่ห้อยและพวงดังพระจันทร์เสี้ยวนั้น พวงห้อยที่เป็นพู่ในระหว่างพวงพระจันทร์เสี้ยว ท่านเรียกชื่อว่า กลัมพกะ (พวงพู่ห้อย). การวงรอบพวงมาลัยกลับไปกลับมา (อันเขาทำ) โดยอาการดังพระจันทร์เสี้ยว ท่านเรียกชื่อว่า อัฑฒจันทกะ (พวงพระจันทร์เสี้ยว). แม้ดอกไม้ทั้งสองชนิดนั้น ก็จัดเข้าในปูริมะ (ร้อยวง) เหมือนกัน. ส่วนในกุรุนที ท่านกล่าวว่า แม้การจัดพวงมาลัยสองสามพวงเข้าด้วยกัน แล้วทำให้เป็นพวงดอกไม้ก็ชื่อว่า วายิมะ เหมือนกัน. แม้การทำพวงดอกไม้นั้นในมหาอรรถ และมิใช่แต่พวงดอกไม้อย่างเดียวเท่านั้น, พวงดอกไม้ทำด้วยแป้งก็ดี พวงดอกไม้ทำคล้ายลูกคลีก็ดี พวงดอกไม้ที่ทำคล้ายฟันสุนัข๓- (ที่ทำด้วยไม้ไผ่ก็ว่า) ซึ่งท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีก็ดี พวกภิกษุก็ดี พวกภิกษุณีก็ดี จะทำเอง ก็ไม่ควร จะใช้ให้ทำก็ไม่ควร เพราะสิกขาบทเป็นสาธารณบัญญัติ. แต่จะกล่าวถ้อยคำที่เป็นกัปปิยะ มีการบูชาเป็นเครื่องหมาย สมควรทุกๆ แห่ง. ปริยาย โอภาสและนิมิตกรรม สมควรทั้งนั้นแล. ____________________________ ๓- อตฺถโยชนา ๑/๕๐๑ ขรปตฺตทามนฺติ สุนขทนฺตสทิสํ กตปุปฺผทามํ, ๓- เวฬาทีหิ กตปุปฺผทามนฺติปิ เกจิ. แปลว่า พวงดอกไม้ที่ทำคล้ายฟันสุนัข ๓- ชื่อขรปัตตาทามะ, อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวงดอกไม้ทำด้วยไม้ไผ่ ๓- เป็นต้น ก็มี. [ว่าด้วยความประพฤติอนาจารต่างๆ] บทว่า ลาเสนฺติ มีความว่า พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้นลุกขึ้นดุจลอยตัวอยู่เพราะปีติ แล้วให้นางระบำผู้ชำนาญเต้นรำ ร่ายระบำ รำฟ้อน คือให้จังหวะ (ร่ายรำ).๑- ____________________________ ๑- สารัตถทีปนี ๓/๑๑๘ แก้ไว้ว่า แสดงนัยยิ่งๆ มีอธิบายว่า ประกาศความ ๑- ประสงค์ของตนแล้วลุกขึ้นแสดงอาการฟ้อนรำก่อน ด้วยกล่าวว่า ควร ๑- ฟ้อนรำอย่างนี้ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สอดนิ้วมือเข้าปาก ทำเสียง ๑- หมุนตัวดุจจักร ชื่อว่า ให้ เรวกะ. - ผู้ชำระ. สองบทว่า นจฺจนฺติยาปิ นจฺจนฺติ มีความว่า ในเวลาที่หญิงฟ้อนร่ายรำอยู่ แม้ภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้น ก็ร่ายรำไปข้างหน้าหรือข้างหลังแห่งหญิงฟ้อนนั้น. สองบทว่า นจฺจนฺติยาปิ คายนฺติ มีความว่า ในขณะที่หญิงฟ้อนนั้นฟ้อนอยู่ พวกภิกษุเหล่านั้น ย่อมขับร้องคลอไปตามการฟ้อนรำ. ในทุกๆ บท ก็มีนัยอย่างนี้. สองบทว่า อฏฺฐปเทปิ กีฬนฺติ มีความว่า ย่อมเล่นหมากรุกบนกระดานหมากรุกแถวละ ๘ ตา. ในกระดานหมากรุกแถวละ ๑๐ ตา ก็เหมือนกัน. บทว่า อากาเสปิ มีความว่า เล่นหมากเก็บในอากาศ เหมือนเล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตา และแถวละ ๑๐ ตาฉะนั้น. บทว่า ปริหารปเถ มีความว่า ทำวงเวียนมีเส้นต่างๆ ลงบนพื้นดินแล้ว เล่นวกวนไปตามเส้นวกวนในวงเวียนนั้น (เล่นชิงนาง). สองบทว่า สนฺติกายปิ กีฬนฺติ ได้แก่ เล่นกีฬาหมากไหวบ้าง. อธิบายว่า ตัวหมากรุกและหินกรวดเป็นต้นที่ทอดไว้รวมกัน เอาเล็บเท่านั้นเขี่ยออก และเขี่ยเข้าไม่ให้ไหว. ถ้าว่า ในลูกสกาตัวหมากรุกหรือหินกรวดเหล่านั้น บทว่า ขลิกาย ได้แก่ เล่นโยนห่วงบนกระดานสกา. บทว่า ฆฏิกาย มีความว่า การเล่นกีฬาไม้หึ่ง ท่านเรียกว่า ฆฏิกา เล่นด้วยกีฬาไม้หึ่งนั้น. ความว่า เที่ยวเอาไม้ยาวตีไม้สั้นเล่น. บทว่า สลากหตฺเถน มีความว่า เล่นเอาพู่กันจุ่มด้วยน้ำครั่ง น้ำ ฝาง หรือน้ำผสมแป้งแล้วถามว่า จะเป็นรูปอะไร? จึงแต้มพู่กันนั้นลงที่พื้น หรือที่ฝาผนังแสดงรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น. บทว่า อกฺเขน แปลว่า ลูกสกา. บทว่า ปงฺกจิเรน มีความว่า หลอดใบไม้ ท่านเรียกว่า ปังกจิระ เล่นเป่าหลอดใบไม้นั้น. บทว่า วงฺกเกน ได้แก่ ไถเล็กๆ เป็นเครื่องเล่นของพวกเด็กชาวบ้าน. บทว่า โมกฺขจิกาย มีความว่า การเล่นหกคะเมน ตีลังกา ท่านเรียกว่า โมกขจิกา. อธิบายว่า เล่นค้ำยันไม้บนอากาศ หรือปักศีรษะลงที่พื้นแล้วหมุนไปรอบๆ ทั้งข้างล่างและข้างบน (เล่นจับบาร์หรือปักศีรษะลงจดพื้นแล้วหกคะเมนตีลังกา). บทว่า จิงฺคุเลน มีความว่า กังหันที่หมุนไปโดยถูกลมพัด ซึ่งกระทำด้วยใบตาลเป็นต้น เรียกว่า จิงคุลกะ, เล่นด้วยกังหันนั้น. บทว่า ปตฺตาฬหเกน มีความว่า กรวยใบไม้ เรียกว่า ปัตตาฬหกะ เล่นตวงทรายเป็นต้น ด้วยกรวยใบไม้นั้น. บทว่า รถิเกน ได้แก่ รถน้อยๆ. บทว่า ธนุเกน ได้แก่ ธนูน้อยๆ. บทว่า อกฺขริกาย มีความว่า การเล่นทายอักษรที่อากาศ หรือที่หลัง เรียกว่า อักขริกา เล่นด้วยกีฬาทายอักษรนั้น. บทว่า มเนสิกาย มีความว่า เล่นด้วยกีฬาทายความคิดทางใจที่ท่านเรียกว่า มเนสิกา. บทว่า ยถาวชฺเชน มีความว่า การเล่นแสดงประกอบท่าทางของคนพิการมีคนตาบอด คนกระจอกและคนค่อมเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่าเล่นเลียนคนพิการ. ภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะเล่นด้วยการเล่นเลียนคนพิการ เหมือนพวกชนชาวเวลัมพกเล่น (ชนพวกเล่นกายกรรม) ฉะนั้น. สองบทว่า หตฺถิสฺมิมฺปิ สิกฺขนฺติ มีความว่า ย่อมศึกษาศิลปะที่ควรศึกษา มีช้างเป็นนิมิต. แม้ในศิลปะมีม้าเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้. บทว่า ธาวนฺติปิ ได้แก่ วิ่งขับไปตามหลัง. บทว่า อาธาวนฺติปิ มีความว่า วิ่งหันหน้าวกกลับมาตลอดระยะทางที่ตนวิ่งไป (วิ่งเปี้ยวกัน). บทว่า นิพฺพุชฺฌนฺติ ได้แก่ ย่อมทำการปล้ำกัน. สองบทว่า นลาฏิกมฺปิ เทนฺติ มีความว่า ย่อมแตะนิ้วที่หน้าผากตนแล้ว แตะที่หน้าผากของหญิงฟ้อนนั้น พร้อมกับพูดว่า ดีละ ดีแล้ว น้องหญิง! สองบทว่า วิวิธมฺปิ อนาจารํ มีความว่า ประพฤติอนาจารต่างๆ มีกลองปากเป็นต้น (ปี่พาทย์ปาก, ผิวปากเป็นต้น) แม้อื่นๆ ซึ่งไม่ได้มาในพระบาลี. [แก้อรรถตอนชาวกิฏาคีรีพบภิกษุอาคันตุกะ] บทว่า อภิกฺกนฺเตน คือ มีการเดิน. บทว่า ปฏิกฺกนฺเตน คือ มีการถอยกลับ. บทว่า อวโลกิเตน คือ การมองดูไปข้างหน้า. บทว่า วิโลกิเตน คือ ดูข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง. บทว่า สมฺมิญฺชิเตน คือ การคู้ข้ออวัยวะเข้า. บทว่า ปสาริเตน คือ การเหยียดข้อเหล่านั้นนั่นแหละออก. ในบททั้งปวงเป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถบอกอิตถัมภูต. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้มีการเดินไปข้างหน้า ถอยกลับ เหลียวซ้าย แลขวา คู้เข้า เหยียดออกอันน่าเลื่อมใส เพราะถูกควบคุมด้วยสติสัมปชัญญะ. บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ คือ มีจักษุทอดลงเบื้องต่ำ. บทว่า อิริยาปถสมฺปนฺโน มีความว่า มีอิริยาบถเรียบร้อย เพราะมีกิริยาก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น อันน่าเลื่อมใสนั้น. บทว่า กฺวายํ ตัดบทเป็น โก อยํ แปลว่า ภิกษุนี้เป็นใคร? บทว่า อพฬพโฬ วิย มีความว่า ได้ยินว่า ชนทั้งหลายเรียกคนอ่อนแอว่า อพฬ. ก็คำกล่าวย้ำนี้ เป็นไปในอรรถว่า อย่างยิ่ง, เพราะฉะนั้น จึงมีคำอธิบายว่า เหมือนคนอ่อนแอเหลือเกิน. ด้วยบทว่า มนฺทมนฺโท ชาวบ้านย่อมแสดงคุณแท้ๆ โดยเป็นโทษอย่างนี้ว่า เป็นผู้อ่อนแอนัก คืออ่อนเปียกนัก เพราะเป็นผู้มีอิริยาบถมีการก้าวเดินเป็นต้นไม่ปราดเปรียว. บทว่า ภากุฏิกภากุฏิโก วิย มีความว่า เพราะท่านเป็นผู้มีจักษุทอดลง ชาวบ้านจึงสำคัญพูดกันว่า ภิกษุนี้ทำหน้าสยิ้ว มีหน้านิ่วคิ้วขมวด เที่ยวไปเหมือนคนโกรธ. บทว่า สณฺหา คือ เป็นผู้ละเอียด. อธิบายว่า เป็นผู้ฉลาดชักนำอุบาสกชนไปในฐานะอันควรอย่างนี้ว่า แน่ะโยมหญิง โยมชาย พี่สาว น้องสาว! ท่านหาเป็นคนไม่มีพละกำลังเหมือนภิกษุรูปนี้ไม่. บทว่า สขิลา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวาจานุ่มนวล. บทว่า สุขสํภาสา นี้ เป็นคำแสดงเหตุแห่งคำก่อน. จริงอยู่ ชนผู้มีการพูดจาอ่อนหวาน เป็นสัมโมทนียกถา ไม่หยาบคาย เสนาะหู ท่านเรียกว่า ผู้มีวาจาไพเราะ. ด้วยเหตุนั้น ชาวบ้านจึงกล่าวว่า (พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา) เป็นผู้พูดไพเราะ พูดอ่อนหวาน. ก็ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา เห็นพวกอุบาสกอุบาสิกาแล้วกล่าวสัมโมทนียกถาไพเราะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็นผู้พูดไพเราะ อ่อนหวาน ไม่เป็นคนอ่อนแอและอ่อนเปียกเหมือนภิกษุนี้เลย. บทว่า มิหิตปุพฺพงฺคมา มีวิเคราะห์ว่า ภิกษุเหล่านี้มีการยิ้มแย้มเป็นไปก่อนพูด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีการยิ้มแย้มเป็นเบื้องหน้า. ความว่า ภิกษุเหล่านั้นยิ้มแย้มก่อนจึงพูดภายหลัง. บทว่า เอหิสฺวาคตวาทิโน มีความว่า เห็นอุบาสกแล้วมักพูดอย่างนี้ว่า มาเถิด ท่านมาดีแล้ว หาเป็นคนมีหน้าสยิ้ว เพราะเป็นคนมีหน้านิ่วคิ้วขมวดเหมือนภิกษุนี้ไม่. พวกชาวกิฏาคีรีชนบท ครั้นแสดงความเป็นผู้มีหน้าไม่สยิ้ว เพราะเป็นผู้มีปกติยิ้มแย้มก่อนเป็นต้น โดยอรรถอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงแม้โดยสรูปอีก จึงได้กล่าวว่า มีหน้าไม่สยิ้ว มีหน้าชื่นบาน มักพูดก่อน. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ทั้ง ๓ บทมีบทว่า อภากุฏิกา เป็นต้นนี้ แสดงความไม่มีแห่งอาการแม้ทั้ง ๓ โดยมาสับลำดับกัน. คือ อย่างไร? คือ บรรดาบททั้ง ๓ มีบทว่า อภากุฏิกา เป็นต้นนั่น ด้วยบทว่า อภากุฏิกา นี้ ท่านแสดงความไม่มีอาการสยิ้วหน้าสยิ้วตา. ด้วยบทว่า อุตฺตานมุขา นี้ ท่านแสดงความไม่มีแห่งอาการอ่อนแอและอ่อนเปียก. ก็ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้หน้าเบิกบานด้วยการลืมตาทั้งสองมองดู. ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าไม่เป็นคนอ่อนแอและอ่อนเปียก. ด้วยบทว่า ปุพฺพภาสิโน นี้ ท่านแสดงความไม่มีแห่งอาการอ่อนแอและอ่อนเปียก. ก็ภิกษุเหล่าใดย่อมทักทายก่อนว่า แน่ะโยมหญิง! โยมชาย! ดังนี้ เพราะเป็นผู้ฉลาดในการโอภาปราศรัย, ภิกษุเหล่านั้นหาเป็นผู้ไม่มีพละกำลังไม่ ฉะนี้แล. [อุบาสกนิมนต์ภิกษุอาคันตุกะไปยังเรือน] ถามว่า ก็วาจานี้ เป็นวิญญัติวาจา หรือไม่เป็น? ตอบว่า ไม่เป็น. ธรรมดาปัญหาที่เขาถามแล้วนี้ ควรจะตอบ. เพราะฉะนั้น ถ้าแม้นว่าในทุกวันนี้ ใครๆ ถามภิกษุผู้เข้าไปสู่ละแวก. บ้านในเวลาเช้าก็ดี ในเวลาเย็นก็ดี ว่า ท่านเที่ยวไปทำไม ขอรับ! การที่ภิกษุบอกความประสงค์ที่ตนเที่ยวไปแล้ว เมื่อเขาถามว่า ได้แล้วหรือยังไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ก็บอกว่า ยังไม่ได้ แล้วรับเอาสิ่งของที่เขาถวาย ควรอยู่. บทว่า ทุฏฺโฐ มีความว่า ไม่ได้ทรุดโทรมลง ด้วยการยังความเลื่อมใสเป็นต้นให้พินาศไป, แต่ทรุดโทรมลง ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้โทรม. ทานทั้งหลายนั่นแล ท่านเรียกว่า ทานบถ. อีกอย่างหนึ่ง ทานประจำ ท่านเรียกว่า ทานบถ มีคำอธิบายว่า ทานวัตร. บทว่า อุปจฺฉินฺนานิ ได้แก่ ถูกพวกทายกตัดขาดแล้ว. อธิบายว่า บัดนี้พวกทายกเหล่านั้น ไม่ถวายทานนั้น. บทว่า ริญฺจนฺติ มีความว่า พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้แยกกันอยู่ คือกระจายกันอยู่. มีคำอธิบายว่า ย่อมพากันหลีกหนีไป. บทว่า สณฺฐเหยฺย มีความว่า พึงดำรงอยู่โดยชอบ คือพึงเป็นที่พำนักของเหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก. ภิกษุนั้นรับสาสน์ของอุบาสกผู้มีศรัทธามีความเลื่อมใส ด้วยคำว่า เอวมาวุโส ดังนี้แล. ได้ยินว่า การนำข่าวสาสน์ที่เป็นกัปปิยะเห็นปานนี้ไป ย่อมควร. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่พึงทำความรังเกียจในข่าวสาสน์ทั้งหลายเช่นนี้ว่า ขอท่านจงถวายบังคมพระบาท คำว่า กุโต จ ตฺวํ ภิกฺขุ อาคจฺฉติ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังมา. แต่โดยอรรถภิกษุนั้นเป็นผู้มาแล้ว. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ คำปัจจุบันกาลในอรรถอดีตที่ใกล้ต่อปัจจุบันกาล ย่อมมีได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความผิด. แม้ในคำว่า ตโต อหํ ภควา อาคจฺฉามิ นี้ ในสุดท้ายก็มีนัยนี้เหมือนกัน. [ทรงรับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุฉัพพัคคีย์] พระอัสสชิและปุนัพพสุกะอันสงฆ์พึงให้ทำโอกาสว่า พวกผมต้องการจะพูดกะพวกท่าน แล้วพึงโจทด้วยวัตถุและอาบัติ, ครั้นโจทแล้วพึงให้ระลึกถึงอาบัติที่พวกเธอยังระลึกไม่ได้. ถ้าพวกเธอปฏิญญาวัตถุและอาบัติ หรือปฏิญญาเฉพาะอาบัติ ไม่ปฏิญญาวัตถุ พึงยกอาบัติขึ้นปรับ. ถ้าปฏิญญาเฉพาะวัตถุ ไม่ปฏิญญาอาบัติ, แม้ในการปฏิญญาอย่างนั้น ก็พึงยกอาบัติขึ้นทีเดียวว่า เป็นอาบัติชื่อนี้ ในเพราะวัตถุนี้. ถ้าพวกเธอไม่ปฏิญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรับอาบัติตามปฏิญญาแล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า สงฆ์พึงลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า พฺยตฺเตน ภิกฺขุนา ดังนี้. คำนั้นตื้นทั้งนั้น. ก็ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ในวัดที่ตนเคยอยู่ หรือในบ้านที่ตนทำกุลทูสกกรรม. เมื่อจะอยู่ในวัดนั้น ไม่พึงเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านใกล้เคียง. แม้จะอยู่ในวัดใกล้เคียง ก็ไม่ควรเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้น. แต่พระอุปติสสเถระถูกพวกอันเตวาสิกค้านว่า ท่านขอรับ! ธรรมดาว่า นครใหญ่มีประมาณถึง ๑๒ โยชน์ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า ภิกษุทำกุลทูสกกรรมในถนนใด, ท่านห้ามแต่ถนนนั้น. ลำดับนั้น ท่านถูกพวกอันเตวาสิกค้านเอาว่า แม้ถนนก็ใหญ่ มีประมาณเท่านครเทียว แล้วจึงกล่าวว่า ภิกษุกระทำกุลทูสกกรรมในลำดับเรือนแถวใด ท่านห้ามลำดับเรือนแถวนั้น ดังนี้. ท่านถูกพวกอันเตวาสิกค้านอีกว่า แม้ลำดับเรือน ก็มีขนาดเท่าถนนทีเดียว จึงกล่าวว่า ท่านห้าม ๗ หลังคาเรือนข้างโน้นและข้างนี้. ก็คำทั้งหมดนั้น เป็นเพียงมโนรถของพระเถระเท่านั้น. ถ้าแม้นวัดใหญ่มีขนาด ๓ โยชน์เป็นอย่างสูง และนครโตขนาด ๑๒ โยชน์เป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุผู้ทำกุลทูสกกรรม จะอยู่ในวัดจะเที่ยวไปในนคร (นั้น) ไม่ได้เลย ฉะนี้แล. ข้อว่า เต สงฺเฆน ปพฺพาชนียกมฺมกตา มีความว่า ถามว่า สงฆ์ได้กระทำกรรมแก่พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้น อย่างไร? ตอบว่า สงฆ์ไม่ได้ไปข่มขี่กระทำกรรมเลย, โดยที่แท้ เมื่อพวกตระกูลอาราธ ก็เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้แล้ว บำเพ็ญวัตร ๑๘ ประการให้บริบูรณ์ขออยู่ กรรมอันสงฆ์พึงระงับ. และแม้ภิกษุผู้มีกรรมระงับแล้วนั้น ตนทำกุลทูสกกรรมไว้ในตระกูลเหล่าใดในครั้งก่อน ไม่ควรรับปัจจัยจากตระกูลเหล่านั้น. แม้บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะแล้วก็ไม่ควรรับ, ปัจจัยเหล่านั้น จัดเป็นของไม่สมควรแท้. เมื่อภิกษุถูกทายกถามว่า ทำไม ท่านจึงไม่รับ? ตอบว่า เพราะได้กระทำไว้อย่างนี้เมื่อก่อน ดังนี้, ถ้าพวกชาวบ้านกล่าวว่า พวกกระผมไม่ถวายด้วยเหตุอย่างนั้น, ถวายเพราะท่านมีศีลในบัดนี้ (ต่างหาก) ดังนี้ ควรรับได้. กุลทูสกกรรม เป็นกรรมอันภิกษุผู้กระทำเฉพาะในสถานที่ให้ทานตามปกติ, จะรับทานตามปกติจากสถานที่นั้นนั่นแล ควรอยู่. ทานที่ทายกถวายเพิ่มเติม ไม่ควรรับ. บทว่า น สมฺมา วตฺตนฺติ มีความว่า ก็พวกภิกษุอัสสชิปุนัพพสุกะเหล่านั้นย่อมไม่ประพฤติโดยชอบ ในวัตร ๑๘ ประการ. ข้อว่า น โลมํ ปาเตนฺติ มีความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ไม่หายเย่อหยิ่ง เพราะไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันสมควร. ข้อว่า น เนตฺถารํ วตฺตนฺติ มีความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติตามทางเป็นเครื่องช่วยถอนตนเอง. ข้อว่า ภิกฺขู น ขมาเปนฺติ มีความว่า ย่อมไม่กระทำให้ภิกษุทั้งหลายอดโทษอย่างนี้ว่า พวกกระผมกระทำผิด ขอรับ! แต่พวกกระผมจะไม่กระทำเช่นนี้อีก, ขอท่านทั้งหลายจงอดโทษแก่พวกกระผมเถิด. บทว่า อกฺโกสนฺติ คือ ย่อมด่าการกสงฆ์ ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐. บทว่า ปริภาสนฺติ คือ ย่อมแสดงภัยแก่ภิกษุเหล่านั้น. ข้อว่า ฉนฺทคามิตา ฯเปฯ ภยคามิตา ปาเปนฺติ มีความว่า ย่อมให้ถึง คือประกอบด้วยความลำเอียงเพราะรักใคร่กันบ้าง ฯลฯ ด้วยความลำเอียงเพราะกลัวบ้าง อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นผู้มีความลำเอียง เพราะรัก ฯลฯ และมีความลำเอียงเพราะกลัว. บทว่า ปกฺกมนฺติ มีความว่า บรรดาสมณะ ๕๐๐ ซึ่งเป็นบริวารของพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนั้น บางพวกก็หลีกไปสู่ทิศ. บทว่า วิพฺภมนฺติ คือ บางพวกก็สึกเป็นคฤหัสถ์. ในคำว่า กถํ หิ นาม อสฺสชิปุนพฺพสุกา นี้ ท่านเรียกภิกษุแม้ทั้งหมดว่า อัสสชิปุนัพพสุกะ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุทั้งสองรูปผู้เป็นหัวหน้า. [อรรถาธิบายกุลทูสกกรรมมีการให้ดอกไม้เป็นต้น] ภิกษุใดประทุษร้ายซึ่งตระกูลทั้งหลาย เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่ากุลทูสกะ. และเมื่อจะประทุษร้าย ไม่ใช่ประทุษร้ายด้วยของเสีย มีของไม่สะอาดและเปือกตมเป็นต้น. โดยที่แท้ย่อมทำความเลื่อมใสของตระกูลทั้งหลายนั้นให้พินาศไป ด้วยข้อปฏิบัติชั่วของตน, ด้วยเหตุนั้นแล ในบทภาชนะแห่งบทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุปฺเผน วา เป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ปุปฺผทาเนน เป็นต้นนั้นดังนี้ :- ภิกษุใดนำไปให้เองก็ดี ให้นำไปให้ก็ดี เรียกมาให้เองก็ดี ให้เรียกมาให้ก็ดี หรือว่าให้ดอกไม้ที่เป็นของตน อย่างใดอย่างหนึ่งแก่บุคคลทั้งหลายที่เข้าไปหาเอง เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ตระกูล, ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ. ให้ดอกไม้ของคนอื่น ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน. ให้ด้วยไถยจิต พระวินัยธรพึงปรับตามราคาสิ่งของ. แม้ในของสงฆ์ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ส่วนความแปลกกันดังต่อไปนี้ เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้ให้ดอกไม้ ที่เขากำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ โดยถือว่าตนเป็นใหญ่. ถามว่า ชื่อว่าดอกไม้ ควรให้แก่ใคร ไม่ให้แก่ใคร? ตอบว่า เมื่อจะให้แก่มารดาบิดาก่อน นำไปให้เองก็ดี ให้นำไปให้ก็ดี เรียกมาให้เองก็ดี ให้เรียกมาให้ก็ดี ควรทั้งนั้น. สำหรับญาติที่เหลือ ให้เรียกมาให้เท่านั้นจึงควร. ก็แลการให้ดอกไม้นั้น. เพื่อประโยชน์แก่การบูชาพระรัตนตรัยจึงควร. แต่จะให้ดอกไม้แม้แก่ใครๆ เพื่อประโยชน์แก่การประดับ หรือเพื่อประโยชน์แก่การบูชาศิวลึงค์เป็นต้น ไม่ควร. และเมื่อจะให้นำไปให้แก่มารดาบิดา ควรใช้สามเณรผู้เป็นญาติเท่านั้นให้นำไปให้. สามเณรผู้มิใช่ญาตินอกนั้น ถ้าปรารถนาจะนำไปเองเท่านั้น จึงควรให้นำไป. ภิกษุผู้แจก ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า ควรให้ครึ่งส่วนแก่คฤหัสถ์ที่มาถึง, ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ควรให้แต่น้อย. ภิกษุผู้ไม่ได้รับสมมติควรอปโลกน์ให้, พวกสามเณรผู้มีความเคารพในอาจารย์และอุปัชฌายะ ได้นำดอกไม้เป็นอันมากมากองไว้. พระเถระทั้งหลายให้แก่พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้น หรือแก่พวกอุบาสกผู้มาถึงแต่เช้าตรู่ ด้วยกล่าวว่า เธอจงถือ พวกชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายผู้ทำการบูชาด้วยดอกไม้ แล้วเข้าไปยังบ้านค่อนข้างสายว่า เพราะเหตุไร ขอรับ! พวกท่านจึงเข้ามาสายนัก? พวกภิกษุตอบว่า ที่วัดมีดอกไม้มาก พวกเราได้ทำการบูชา (ก่อนเข้ามา). พวกชาวบ้านรู้ว่า ได้ทราบว่าที่วัดมี พวกชาวบ้านขอวาระดอกไม้ว่า ท่านขอรับ! พวกกระผมจักบูชา ณ วันชื่อโน้น แล้วมาในวันที่อนุญาต. และพวกสามเณรได้เก็บดอกไม้ไว้แต่เช้าตรู่. พวกชาวบ้านเมื่อไม่เห็นดอกไม้เป็นต้น จึงพูดว่า ดอกไม้อยู่ที่ไหน ขอรับ! พระเถระทั้งหลายตอบว่า พวกสาม แต่ในมหาปัจจรีและกุรุนที ท่านกล่าวว่า พระเถระทั้งหลายย่อมไม่ได้เพื่อจะใช้ให้พวกสามเณรให้, ถ้าพวกสามเณรให้ดอกไม้เหล่านั้นแก่พวกชาวบ้านเหล่านั้นเสียเองนั่นแล, การให้นั่น สมควร, แต่พระเถระทั้งหลายควรกล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า พวกสาม แต่ถ้าว่า พวกชาวบ้านขอวาระดอกไม้แล้ว เมื่อพวกสามเณรไม่ได้เก็บดอกไม้ไว้ ถือเอายาคูและภัตเป็นต้นมาแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงให้สามเณรทั้งหลายเก็บให้ การใช้ให้พวกสามเณรผู้เป็นญาติเท่านั้นเก็บให้ จึงควร. พระเถระทั้งหลายยกพวกสาม ในมหาปัจจรีและกุรุนทีกล่าวว่า ก็ถ้าว่าพระธรรมกถึกบางรูปจะกล่าวว่า อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ดอกไม้ที่วัดมีมาก, พวกท่านจงถือเอายาคูและภัตเป็นต้น ไปทำการบูชาด้วยดอกไม้เถิด, ยาคูและภัตเป็นต้นนั้น ย่อมไม่สมควรแก่พระธรรม แม้ผลไม้ที่เป็นของของตน จะให้แก่มารดาบิดาและพวกญาติที่เหลือย่อมควร โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. แต่เมื่อภิกษุผู้ให้ เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ตระกูล พึงทราบว่าเป็นทุกกฏเป็นต้น ในเพราะผลไม้ของตน ของคนอื่น ของสงฆ์ และของที่เขากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. เฉพาะผลไม้ที่เป็นของของตน จะให้แก่พวกคนไข้ หรือแก่พวกอิสรชนผู้มาถึงซึ่งหมดเสบียงลง ก็ควร. ไม่จัดเป็นการให้ผลไม้. แม้ภิกษุผู้แจกผลไม้ที่สงฆ์สมมติ จะให้กึ่งส่วนแก่พวกชาวบ้านผู้มาถึงในเวลาแจกผลไม้แก่สงฆ์ ก็ควร. ผู้ไม่ได้รับสมมติควรอปโลกน์ให้. แม้ในสังฆาราม สงฆ์ก็ควรทำกติกาไว้ ด้วยการกำหนดผลไม้หรือด้วยการกำหนดต้นไม้ เมื่อพวกคนไข้หรือพวกคนอื่นขอผลไม้จากผลหรือจากต้นไม้ที่กำหนดไว้นั้น พึงให้ผลไม้ ๔-๕ ผล หรือพึงแสดงต้นไม้ ตามที่กำหนดไว้ว่า พวกเธอถือเอาจากต้นนี้ได้ แต่ไม่ควรพูดว่า ผลไม้ที่ต้นนี้ดี, พวกเธอจงถือเอาจากต้นนี้. พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า จุณฺเณน นี้ ดังต่อไปนี้ :- ภิกษุให้จุรณสน หรือน้ำฝาดอย่างอื่นของของตนเพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ตระกูล เป็นทุกกฏ. แม้ในของของคนอื่นเป็นต้น ก็พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยดังกล่าวมาแล้ว. ส่วนความแปลกกันดังต่อไปนี้ :- ในจุรณวิสัยนี้ เปลือกไม้แม้ที่สงฆ์รักษาและสงวนไว้ ก็จัดเป็นครุภัณฑ์แท้. แม้ในพวกดินเหนียว ไม้ชำระฟันและไม้ไผ่ บัณฑิตรู้จักของที่ควรเป็นครุภัณฑ์แล้ว พึงทราบวินิจฉัยดังกล่าวแล้วในจุรณนั่นแล. แต่การให้ใบไม้ ไม่มาในบาลีนี้. แม้การให้ใบไม้นั้น ก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน. ข้าพเจ้าจักพรรณนาการให้ใบไม้ทั้งหมด โดยพิสดารในการวินิจฉัยครุภัณฑ์ แม้ข้างหน้า. เวชกรรมวิธี ในบทว่า เวชฺชกาย วา นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในตติยปาราชิกวรรณนานั่นแล. กรรม คือ การงานของทูตและการส่งข่าวสาสน์ของพวกคฤหัสถ์ ท่านเรียกว่า ชังฆเปสนียะ ในคำว่า ชงฺฆเปสนิเกน นี้, ข้อนั้น อันภิกษุไม่ควรกระทำ. ด้วยว่าเมื่อภิกษุรับข่าวสาสน์ของพวกคฤหัสถ์แล้วเดินไป เป็นทุกกฏ ทุกๆ ย่างเท้า. แม้เมื่อฉันโภชนะที่อาศัยกรรมนั้นได้มาก็เป็นทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน. แม้เมื่อไม่รับข่าวสาสน์แต่แรก ภายหลังตกลงใจว่า บัดนี้ นี้คือบ้านนั้น เอาละ เราจักแจ้งข่าวสาสน์นั้น แล้วแวะออกจากทาง ก็เป็นทุกกฎ ทุกๆ ย่างเท้า. เมื่อฉันโภชนะที่บอกข่าวสาสน์ได้มา เป็นทุกกฏโดยนัยก่อนเหมือนกัน. แต่ภิกษุไม่รับข่าวสาสน์มา เมื่อถูกคฤหัสถ์ถามว่า ท่านขอรับ! อันผู้มีชื่อนี้ ในบ้านนั้น มีข่าวคราวเป็นอย่างไร? ดังนี้ จะบอกก็ควร. ในปัญหาที่เขาถาม ไม่มีโทษ. แต่จะส่งข่าวสาสน์ของพวกสหธรรมิก ๕ ของมารดาบิดา คนปัณฑุปลาสและไวยาวัจกรของตนควรอยู่. และภิกษุจะส่งข่าวสาสน์ที่สมควร มีประการดังกล่าวแล้วในก่อน ของพวกคฤหัสถ์ควรอยู่. เพราะข่าวสาสน์ที่สมควรนี้ ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นกรรม คือการเดินข่าว. ก็แลปัจจัยที่เกิดขึ้นจากกุลทูสกกรรม ๘ อย่างนี้ ย่อมไม่สมควรแก่สห ภิกษุนั้นมีความประพฤติลามก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปาปสมาจาร. ก็เพราะปาปสมาจารมีการปลูกต้นไม้ดอกเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้วในสิกขาบทนี้ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสไว้ในบทภาชนะแห่งบทว่า ปาปสมาจาร นี้ โดยนัยเป็นต้นว่า มาลาวจฺฉํ โรเปนฺติปิ ดังนี้. บทว่า ติโรกฺขา แปลว่า ลับหลัง. ก็คำว่า กุลานิ นี้ ในคำว่า กุลานิ จ เตน ทุฏฺฐานิ นี้เป็นเพียงโวหาร. แต่โดยความหมาย พวกชาวบ้านถูกภิกษุนั้นประทุษร้าย ฉะนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า กุลานิ จ เตน ทุฏฺฐานิ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุพฺเพ สทฺธา หุตฺวา ดังนี้. บทว่า ฉนฺทคามิโน มีวิเคราะห์ว่า ผู้ชื่อว่า มีฉันทคามินะ เพราะอรรถว่า ย่อมลำเอียงเพราะชอบพอกัน. ในบทที่เหลือ ก็มีนัยอย่างนี้. ในคำว่า สมนุภาสิตพฺโพ ตสฺส ปฏินิสฺสคฺคาย นี้ บัณฑิตพึงเห็นความอย่างนี้ว่า เป็นทุกกฏอย่างเดียว เพราะกุลทูสกกรรม. แต่ภิกษุนั้นหลีกเลี่ยงกล่าวคำใดกะสงฆ์ว่า เป็นผู้มีความลำเอียงเพราะชอบพอกันเป็นต้น สงฆ์พึงกระทำสมนุภาสนกรรม เพื่อสละคืนซึ่งคำว่า เป็นผู้มีลำเอียงเพราะชอบกัน เป็นต้นนั้นเสีย. คำที่เหลือทุกๆ แห่ง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. แม้สมุฏฐานเป็นต้นก็เช่นเดียวกับปฐมสังฆเภทสิกขาบทนั้นแล. กุลทูสกสิกขาบทวรรณนา จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา เตรสกัณฑ์ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๓ จบ. |