บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [๑] [๒] หน้าต่างที่ ๒ / ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาอัชฌาจารนั้นนั่นเอง จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ประคองจิตของเราให้ยินดีแล้วหนอ. คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไม่ทรงเล็งเห็นอัชฌาจาร (ความประพฤติล่วงละเมิดเช่นนั้นของภิกษุทั้งหลาย) จึงมิได้ทรงบัญญัติปาราชิกหรือสังฆาทิเสส แต่ได้ทรงบัญญัติกองอาบัติเล็กน้อย ที่เหลือไว้เพียง ๕ กองเท่านั้น ในเพราะเรื่องนั้นๆ เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงได้กล่าวไว้ว่า เพราะสิกขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติไว้. บทว่า อนาทีนวทสฺโส ความว่า ท่านสุทินน์ เมื่อไม่เล็งเห็นข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงบัญญัติสิกขาบทชี้โทษไว้ในบัดนี้ จึงเป็นผู้มีความสำคัญ (ในการเสพเมถุนธรรมนั้น) ว่าไม่มีโทษ. จริงอยู่ ถ้าท่านพระสุทินน์นี้พึงรู้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรทำ หรือว่า สิ่งที่ทำนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อมูลเฉท ดังนี้ไซร้, กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา แม้จะถึงความสิ้นชีวิตไป อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุก็จะไม่พึงทำ, แต่ท่านเมื่อไม่เล็งเห็นโทษในการเสพเมถุนธรรมนี้ จึงได้เป็นผู้มีความสำคัญว่า ไม่มีโทษ. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้มีความเห็นว่าไม่มีโทษ. บทว่า ปุราณทุติยิกาย นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ. บทว่า อภิวิญฺญาเปสิ คือ ให้เป็นไปแล้ว. จริงอยู่ แม้การให้เป็นไป ท่านเรียกว่า วิญฺญาปนา เพราะยังกายวิญญัติให้เคลื่อนไหว. ก็ หลายบทว่า สา เตน คพฺภํ คณฺหิ ความว่า แม้ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์นั้น ก็ตั้งครรภ์เพราะอัชฌาจารนั้นนั่นเอง หาได้ตั้งครรภ์โดยประการอื่นไม่. [เหตุที่ให้สตรีตั้งครรภ์มี ๗ อย่าง] แก้ว่า ย่อมมีได้. ถามว่า ย่อมมีได้อย่างไร? แก้ว่า ย่อมมีได้ (เพราะเหตุ ๗ อย่างคือ) เพราะการเคล้าคลึงกาย ๑ เพราะการจับผ้า (นุ่งห่ม) ๑ เพราะการดื่มน้ำอสุจิ ๑ เพราะการลูบคลำสะดือ (ของสตรี) ๑ เพราะการจ้องดู (รูป) ๑ เพราะเสียง ๑ เพราะกลิ่น ๑. จริงอยู่ สตรีทั้งหลาย บางพวกเป็นผู้มีความกำหนัดยินดีด้วยฉันทราคะ ในเวลาที่ตนมีระดู แม้เมื่อยินดีการที่บุรุษจับมือ จับช้องผม และการลูบคลำอวัยวะน้อยใหญ่ (ของตน) ย่อมตั้งครรภ์ได้. การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการเคล้าคลึงกาย ด้วยอาการอย่างนี้. อนึ่ง นางภิกษุณีผู้เป็นภรรยาเก่าของพระอุทายีเถระ เอาปากอมน้ำอสุจินั้นไว้ส่วนหนึ่ง ใส่อีกส่วนหนึ่งเข้าในองคชาตรวมกับผ้านั่นเอง. นางก็ตั้งครรภ์ได้เพราะเหตุนั้น.๑- การตั้งครรภ์ย่อมมีได้ เพราะการจับผ้า (นุ่งห่ม) ด้วยอาการอย่างนี้. แม่เนื้อ ผู้เป็นมารดาของมิคสิงคดาบส ได้มายังสถานที่ถ่ายปัสสาวะของดาบส ในเวลาที่ตนมีระดู แล้วได้ดื่มน้ำปัสสาวะ ซึ่งมีน้ำสมภพเจือปนอยู่. แม่เนื้อนั้นก็ตั้งครรภ์ แล้วออกลูกเป็นมิคสิงคดาบส เพราะเหตุที่ตนดื่มน้ำปัสสาวะนั้น.๒- การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการดื่มน้ำอสุจิ ด้วยอาการอย่างนี้. อนึ่ง ท้าวสักกะทรงทราบข้อที่มารดาบิดาของพระสามดาบสโพธิสัตว์ เสียจักษุ มีพระประสงค์จะประทานบุตร (แก่ท่านทั้งสองนั้น) จึงทรงรับสั่งกะทุกุลบัณฑิต (ผู้เป็นบิดาของพระสามดาบสโพธิสัตว์นั้น) ว่า เมถุนธรรมควรแก่ท่านทั้งสองหรือ? ทุกุลกบัณฑิตทูลว่า อาตมภาพทั้งสองบวชเป็นฤษีแล้ว ไม่มีความต้องการ ด้วยเมถุนธรรมนั่น. ท้าวสักกะทรงรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น ในเวลาที่นางปาริกาตาปสินีนี้มีระดู ท่านพึงเอานิ้วมือลูบคลำสะดือ (ของนาง) เถิด. ทุกุลกบัณฑิตนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. นางปาริกาตาปสินีนั้นก็ตั้งครรภ์ แล้วคลอดทารกชื่อสามดาบส เพราะเหตุที่ลูบคลำสะดือนั้น.๓- การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะการลูบคลำสะดือ ด้วยอาการอย่างนี้. โดยนัยนี้นั่นแล ควรทราบเรื่องมัณฑัพ ถามว่า การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการจ้องดู (รูป) อย่างไร? แก้ว่า สตรีบางพวกในโลกนี้ ในเวลาที่ตนมีระดู เมื่อไม่ได้การเคล้าคลึงกับชาย จึงเข้าไปในเรือน จ้องดูชายด้วยอำนาจความกำหนัดพอใจ (แล้วก็ตั้งครรภ์) เหมือนนางสนมชาววัง ฉะนั้น. นางย่อมตั้งครรภ์ เพราะการจ้องดูชายนั้น. การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการจ้องดูรูป ด้วยอาการอย่างนี้. อนึ่ง บรรดานกตระกรุมทั้งหลาย (นกยาง) ชื่อว่านกตระกรุมตัวผู้ย่อมไม่มี. นางนกตระกรุมเหล่านั้น ในเวลาที่ตนมีระดู ครั้นได้ฟังเสียงเมฆ (คำราม) แล้ว ย่อมตั้งครรภ์ ถึงแม่ไก่ทั้งหลายจะมากตัวก็ตาม ในกาลบางครั้ง ครั้นได้ฟังเสียงไก่ผู้ตัวเดียว (ขัน) ก็ย่อมตั้งครรภ์ได้. ถึงแม่โคทั้งหลาย ครั้นได้ฟังเสียงโคอุสภะ (โคตัวผู้) แล้ว ก็ย่อมตั้งครรภ์เหมือนอย่างนั้น. การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะเสียง ด้วยอาการอย่างนี้. อนึ่ง แม่โคทั้งหลายนั่นเอง ในกาลบางครั้ง ย่อมตั้งครรภ์ได้เพราะกลิ่นของโคตัวผู้, การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะกลิ่น ด้วยอาการอย่างนี้. ส่วนในเรื่องนี้ ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์นี้ ย่อมตั้งครรภ์เพราะอัชฌาจาร ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน ๑ มารดามีระดู ๑ สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ปรากฏ ๑, เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ จึงมีได้.๕- ____________________________ ๑- วิ. มหา. เล่ม ๒/ข้อ ๔๒ ๒- ชาตกัฏฐกถา. ๘/๑, ๗/๓๙๖. ๓- นัยชาตกัฏฐกถา. ๙/๑๒๓-๔. ๔- ชาตกัฏฐกถา. ๗/๕-๖. ๕- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๔๕๒. ปปัญจสูทนี. ๒/๔๑๗-๘. [เทพเจ้าประกาศความชั่วของพระสุทินน์] จริงอยู่ ตนของชนผู้กระทำความชั่วนั้น ย่อมรู้ความชั่ว (ที่ตนทำ) นั้น ก่อนกว่าคนอื่นทั้งหมด, ต่อจากนั้น อารักขเทพเจ้าทั้งหลายย่อมรู้, ภายหลังต่อมาเทพเจ้าแม้เหล่าอื่น ผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ก็ย่อมรู้, เพราะเหตุนั้น ภุมมเทพเจ้าทั้งหลายผู้อาศัยอยู่ในไพรสณฑ์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผู้รู้จิตของบุคคลอื่น พบเห็นอัชฌาจารนั้นของท่านพระสุทินน์นั้น ก็ได้กระจายเสียงให้บันลือลั่นไป คือได้เปล่งเสียงออกโดยอาการที่เทพเจ้าแม้เหล่าอื่นจะได้ยิน. ถามว่า ได้ยินว่า อย่างไร? แก้ว่า ได้ยินดังนี้ ท่านผู้เจริญ โอ ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด หาโทษมิได้, (แต่) พระสุทินน์กลันทบุตรก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว.๒- ใจความแห่งคำว่า ไม่มีเสนียด เป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในเวรัญชกัณฑ์นั่นแล. อนึ่ง ในคำว่า ภุมฺมานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา จาตุมฺมหาราชิกา นี้ พึงทราบลำดับดังนี้ว่า อากาสัฏฐเทพเจ้าทั้งหลายได้สดับเสียงเหล่าภุมมเทพเจ้าแล้ว, เทพเจ้าชั้นจาตุมหาราชทั้งหลายได้สดับเสียงเหล่าอากาสัฏฐเทพเจ้าแล้ว ดังนี้เป็นต้น. บทว่า พฺรหฺมกายิกา ความว่า พรหมแม้ทั้งหมด ยกเว้นเหล่าอสัญญีสัตว์และเหล่าอรูปาวจรสัตว์เสีย พึงทราบว่า ได้สดับแล้ว และครั้นได้สดับแล้ว ก็ได้กระจายเสียงให้บันลือลั่นแล้ว. หลายบทว่า อิติห เตน ขเณน ความว่า ชั่วขณะเดียวแห่งอัชฌาจารของท่าน สองบทว่า เตน มุหุตฺเตน ความว่า ชั่วครู่เดียวแห่งอัชฌาจารนั่นเอง. สองบทว่า ยาว พฺรหฺมโลกา ความว่า (เสียงได้กระฉ่อนขึ้นไปแล้ว) จนถึงพรหมโลกชั้นอกนิฏฐะ. บทว่า อพฺภุคฺคญฺฉิ แปลว่า ได้กระฉ่อนขึ้นไปแล้ว คือได้ตั้งขึ้นแล้ว. ความก็ว่า ได้มีเสียงระเบ็งเซ้งแซ่เป็นอันเดียวกันแล้ว. ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๕๑๘/หน้า ๑๓๑. ชาตกัฏฐ ๔/๒๔๘. ๒- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๑๘/หน้า ๓๒. [บุตรชายของท่านพระสุทินน์มีชื่อว่าพีชกะ] หลายบทว่า พีชโกติ นามํ อกํสุ ความว่า พวกสหายของท่านพระสุทินน์ไม่ยอมให้ตั้งชื่อเป็นอย่างอื่น คือได้พากันตั้งชื่อว่า 'พีชกะ' (เจ้าพืชก์) โดยลงความเห็นกันว่า ทารกนั้นจงมีชื่อว่า 'เจ้าพืชก์' เท่านั้น, เพราะเหตุแห่งคำที่ย่าได้กล่าวขอไว้ว่า 'พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง' ดังนี้ ปรากฏชัดแล้ว. พวกสหายก็ได้ตั้งชื่อให้แก่มารดาบิดาแห่งพีชกทารกนั้น ด้วยอำนาจชื่อบุตรชายเหมือนกัน. คำว่า เต อปเรน สมเยน นี้ท่านกล่าวหมายเอาเจ้าพืชก์และมารดาของเจ้าพืชก์. [มารดาและพีชกทารกบวชแล้วได้สำเร็จพระอรหัต] ____________________________ ๑- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๑๘/หน้า ๓๒. [ท่านพระสุทินน์เดือดร้อนใจเพราะประพฤติชั่วหยาบ] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุเทว แปลว่า ได้มีแล้วนั่นเทียว. ทะ อักษรทำการเชื่อมบท. ความว่า ได้มีแล้วนั่นเทียว. ความตามเดือดร้อนในภายหลัง อันมีอัชฌาจารเป็นเหตุ ชื่อว่าความรำคาญ. แม้คำว่า วิปฏิสาโร ก็เป็นชื่อแห่งความตามเดือดร้อนในภายหลังนั้นนั่นเอง. จริงอยู่ ความตามเดือดร้อนในภายหลังนั้น ท่านเรียกว่า กุกกุจจะ (ความรำคาญ) โดยความเป็นกิริยาที่บัณฑิตพึงเกลียด เพราะความเป็นกรรมอันผู้รู้ทั้งหลายไม่พึงทำ, ท่านเรียกว่า วิปฏิสาร (ความเดือดร้อน) โดยเป็นความระลึกผิดรูปไป เพราะอาศัยอัชฌาจารนั้น เพราะไม่สามารถจะห้ามอัชฌาจารที่ตนทำแล้วได้. หลายบทว่า อลาภา วต เม ความว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ. มีอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า ความไม่ได้คุณทั้งหลาย มีฌานเป็นต้นเหล่านั้น ไม่ใช่ลาภของเรา ทั้งไม่ใช่ลาภของผู้อื่น. หลายบทว่า น วต เม ลาภา ความว่า คุณคือบรรพชา สรณคมน์และการสมาทานสิกขาแม้เหล่าใด ที่เราได้เฉพาะแล้ว, คุณคือบรรพชาเป็นต้นแม้เหล่านั้น ชื่อว่าไม่ใช่ลาภของเราเลย เพราะมีอัชฌาจารเศร้าหมอง. หลายบทว่า ทุลฺลทฺธํ วต เม ความว่า พระศาสนานี้ แม้ที่เราได้แล้ว ก็ชื่อว่าเราได้ชั่ว. หลายบทว่า น วต เม สุลทฺธํ ความว่า พระศาสนานี้ เราได้ไม่ดีเหมือนอย่างกุลบุตรเหล่าอื่นเขาได้กันหนอ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุเราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ ยังไม่สามารถจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้จนตลอดชีวิตแล. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์ ที่ท่านสงเคราะห์ด้วยไตรสิกขา. สองบทว่า กิโส อโหสิ ความว่า ท่านพระสุทินน์นั้น เมื่อไม่สามารถจะเคี้ยวกินหรือฉันอาหาร จึงได้เป็นผู้ซูบผอม คือมีเนื้อและโลหิตน้อย. บทว่า อุปฺปณฺฑุปฺปณฺฑุกชาโต ได้แก่ ความเป็นผู้มีผิวเหลืองๆ เกิดขึ้น คือเป็นผู้มีส่วนเปรียบดุจใบไม้เหลือง. บทว่า ธมนิสณฺฐตคตฺโต ได้แก่ ผู้มีตัวสะพรั่งด้วยแถวเส้นเอ็นนั่นเอง เพราะความเป็นผู้มีเนื้อและโลหิตสิ้นไป. บทว่า อนฺโตมโน ได้แก่ ผู้มีความคิดตั้งอยู่ภายในนั่นเอง (ผู้มีเรื่องในใจ) ด้วยอำนาจความระทมถึง. อนึ่ง สัตวโลกแม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้มีใจอยู่ในภายในนั่นเอง (คิดอยู่แต่ในใจ) ด้วยอำนาจความเป็นไป อาศัยหทัยวัตถุ. บทว่า ลีนมโน ได้แก่ ผู้ทอดทิ้งธุระ คือผู้ไม่มีความขวนขวายในอุเทศ ปริปุจฉา กรรมฐาน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา และการบำเพ็ญวัตรและระเบียบวัตร. ชื่อว่า ผู้มีใจหดหู่ เพราะอรรถว่า ใจของผู้นั้นหดหู่ คืองอกลับด้วยอำนาจความเกียจคร้านโดยแท้ทีเดียว. บทว่า ทุกฺขี ได้แก่ ผู้มีทุกข์ เพราะทุกข์ทางใจ. บทว่า ทุมฺมโน ได้แก่ ผู้มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว หรือผู้มีใจผิดรูป เพราะความเป็นผู้ถูกโทมนัสครอบงำ. บทว่า ปชฺฌายี ความว่า ท่านพระสุทินน์ คิดถึงความชั่วที่ตนทำแล้วนั้นๆ ด้วยอำนาจความเดือดร้อน (ซบเซา) ดุจลาตัวที่เขาคัดออกจากภาระแล้ว (ซบเซาอยู่) ฉะนั้น. [พวกภิกษุสหายถามท่านพระสุทินน์ถึงความซูบผอม] บทว่า ปินินฺทฺริโย ความว่า ผู้มีอินทรีย์มีจักษุเป็นต้นเต็มเปี่ยม เพราะโอกาสซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งประสาทสมบูรณ์. ศัพท์ว่า ทานิ ที่มีอยู่ในคำว่า โสทานิ ตฺวํ นี้ เป็นนิบาต. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า โส ปน ตฺวํ ที่แปลว่า ก็คุณนั้น (ดูซูบผอม). หลายบทว่า กจฺจิ โน ตฺวํ คือ กจฺจิ นุ ตฺวํ ที่แปลว่า คุณ (จะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์) หรือหนอ? บทว่า อนภิรโต แปลว่า ผู้มีความกระสัน. อธิบายว่า ผู้ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์. เพราะเหตุนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะคัดค้าน ความไม่ยินดีนั้นนั่นแล จึงกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ความจริง ไม่ใช่ว่าผมจะไม่ยินดี (ประพฤติพรหมจรรย์). อธิบายว่า ก็ผมยินดีทีเดียวในการเจริญกุศลธรรมอันยิ่ง. หลายบทว่า อตฺถิ เม ปาปกมฺมํ กตํ ความว่า บาปกรรมอย่างหนึ่งที่ผมทำไว้ มีอยู่ คือผมได้รับอยู่ ได้แก่มีปรากฏแก่ผมอยู่เป็นนิตยกาล ดุจมีอยู่เฉพาะหน้าฉะนั้น. ถัดจากนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะประกาศ (เปิดเผย) บาปกรรมที่ตนทำแล้วนั้น (แก่เหล่าภิกษุสหาย) จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ปุราณทุติยิกาย ดังนี้. [พวกภิกษุสหายเห็นด้วยว่ากรรมนั้นให้เกิดความรำคาญได้] ในคำว่า ยํ ตฺวํ เป็นต้น พึงทราบการเชื่อมความดังนี้ว่า คุณจักไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ เพราะความชั่วใด, ความชั่วนั้นของคุณพอที่จะให้คุณรำคาญได้. ต่อจากนั้น เหล่าภิกษุสหาย เมื่อจะพร่ำสอนพระสุทินน์นั้น จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า นนุ อาวุโส ภควตา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า นนุ เป็นนิบาต ลงในอรรถอนุมัติและตำหนิ. บทว่า อเนกปริยาเยน แปลว่า โดยเหตุมิใช่อย่างเดียว. บทว่า วิราคาย แปลว่า เพื่อคลายความกำหนัด. สองบทว่า โน สราคาย ความว่า ไม่ใช่เพื่อความกำหนัดด้วยราคะ. อธิบายว่า จริงอยู่ ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งการคลายความกำหนัดนั่นว่า สัตว์ทั้งหลายได้สดับธรรมของเรานี้แล้ว จักคลายความกำหนัด คือจักไม่ยินดีในภพและโภคสมบัติทั้งปวง. ในบททั้งปวงก็มีนัยนั่น. ก็คำว่า วิสํโยาคาติ กิเลเสหิ วิสํยุชฺชนตฺถาย นี้ ที่มีอยู่ในบทว่า วิสํโยคาย เป็นต้นนี้ เป็นเพียงการกล่าวโดยนัยทางอ้อม. บทว่า วิสํโยคาย ความว่า เพื่อปราศจากความประกอบด้วยกิเลสทั้งหลาย. สองบทว่า โน สํโยคาย ความว่า ไม่ใช่เพื่อความประกอบ (ด้วยกิเลสทั้งหลาย). บทว่า อนุปาทานาย ความว่า เพื่อความไม่ถือมั่น. สองบทว่า โน สอุปาทานาย ความว่า ไม่ใช่เพื่อความยึดมั่น. หลายบทว่า ตตฺถ นาม ตฺวํ ความว่า เมื่อธรรมชื่อนั้น (อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพื่อคายความกำหนัด) คุณ (ยังจักคิดเพื่อความกำหนัดอีกหรือ?). สองบทว่า สราคาย เจเตสฺสสิ ความว่า คุณยังจักคิด คือยังจักดำริ เพื่อเมถุนธรรมอันเป็นไปอยู่ พร้อมด้วยความกำหนัดหรือ? อธิบายว่า คุณจักยังพยายามเพื่อต้องการเมถุนธรรมนั่นหรือ? ในบททั้งปวงก็มีนัยนั่น. [อรรถาธิบายชื่อพระนิพพาน ๙ บท] จริงอยู่ พระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า "ธรรมเป็นที่สำรอกราคะ" เพราะเหตุว่าราคะมาถึง คือปรารภ สืบต่ออาศัยพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมปราศไป คือไม่มี. อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่สร่างเมา เพราะเหตุว่า ความเมาทั้งหลาย มีความเมาด้วยอำนาจมานะ และความเมาในบุรุษเป็นต้น มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมเป็นอันสร่างไปไม่เป็นความเมา คือสาบสูญไป. อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่คลายความกระหาย เพราะเหตุว่า ความกระหายในกามแม้ทั้งปวง มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมถึงความคลายไป คือความพลัดตกไป. อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่เพิกถอนอาลัย เพราะเหตุว่า อาลัยคือเบญจกามคุณ มาถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมถึงความเพิกถอนไป. อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่ขาดเด็ดแห่งวัฏฏะ เพราะเหตุว่า วัฏฏะมี ๓ ภูมิ มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมขาดเด็ดไป. อนึ่ง พระนิพพาน ทรงเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา, ธรรมเป็นที่บำราศราคะ ธรรมเป็นที่ดับ เพราะเหตุว่า ตัณหา มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบำราศไป และย่อมดับไปโดยประการทั้งปวง. อนึ่ง พระนิพพานนั่น ทรงเรียกว่า นิพพาน เพราะเหตุว่าออกไป คือแล่นออกหลุดพ้น จากตัณหา ซึ่งได้โวหารว่า วานะ เพราะผูกคือล่าม ได้แก่เย็บเชื่อมกำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ไว้ เพื่อความมีความเป็นสืบๆ ไป ฉะนี้แล. หลายบทว่า กามานํ ปหานํ อกฺขาตํ มีความว่า การละวัตถุกามและกิเลสกามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วมิใช่หรือ? สองบทว่า กามสญฺญานํปริญฺญา มีความว่า การกำหนดรู้ความหมายในกามแม้ทั้งหมด มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) และปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการเสียสละ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วมิใช่หรือ? บทว่า กามปิปาสานํ มีความว่า การกำจัดความเป็นผู้ใคร่ เพื่อดื่มในกามทั้งหลาย หรือความอยากดื่มกามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วมิใช่หรือ? บทว่า กามวิตกฺกานํ มีความว่า ความเพิกถอนวิตกทั้งหลายที่แอบอิงกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วมิใช่หรือ? บทว่า กามปริฬาหานํ มีความว่า ความสงบราบแห่งความร้อนรุ่มซึ่งเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความกำหนัดที่ประกอบด้วยเบญจกามคุณ ได้แก่ ความกลัดกลุ้มภายใน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วมิใช่หรือ? โลกุตรมรรค เครื่องทำความสิ้นกิเลสแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในสถาน ๕ เหล่านี้. แต่มรรคที่เจือกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วใน ๓ สถานแรกแห่งสถานทั้งหมด. คำว่า เนตํ อาวุโส เป็นต้น มีความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ กรรมลามกนั่นของท่าน ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสแห่งชนทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส คือเพื่อประโยชน์แก่ความเลื่อมใสของชนทั้งหลายผู้เห็นปานนั้นหรือ? บทว่า อถเขฺวตํ ดัดบทเป็น อถโข เอตํ. บาลีว่า อถ เขตํ ก็มี. บทว่า อญฺญถตฺตาย มีความว่า (กรรมลามกนั่นของท่าน) ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นโดยประการอื่น จากความเลื่อมใส คือเพื่อความเดือดร้อน. อธิบายว่า ย่อมทำความเดือดร้อนแก่ชนทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาอันยังมิได้มาด้วยมรรคว่า เราทั้งหลายเลื่อมใสแล้วในพระธรรมวินัย ชื่อแม้เช่นนี้ ซึ่งมีพวกภิกษุผู้ปฏิบัติเลวทราม. ฝ่ายความเลื่อมใสของชนทั้งหลายผู้มีศรัทธามาแล้วด้วยมรรค เป็นของไม่หวั่นไหวด้วยเรื่องเช่นนี้ หรือด้วยเรื่องที่ร้ายแรงยิ่งกว่านี้ เหมือนภูเขาสิเนรุ ไม่หวั่นไหวด้วยลมฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุสหายเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เพื่อความเป็นโดยประการอื่นแห่งชนบางพวก. [ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องพระสุทินน์เสพเมถุนธรรม] [พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิพระสุทินน์] ความละเมิดอัชฌาจารของพระสุทินน์ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า เป็นนิทานและเป็นปกรณ์ เพราะเป็นเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท. จริงอยู่ เหตุ ท่านเรียกว่า นิทานและปกรณ์ เพราะเป็นที่มอบให้ซึ่งผลของตน คือยังผลให้บ่าไป เหมือนแสดงว่า เชิญถือเอาผลนั้นเถิด และเพราะเหตุที่เริ่มกระทำ คือปรารภเพื่อจะทำผลนั้น หรือว่าแต่งผลนั้นทีเดียว. หลายบทว่า วิครหิ พุทฺโธ ภควา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติ คือทรงตำหนิ (พระสุทินน์) นั้น เหมือนอย่างบุคคลผู้เลิศ เมื่อจะแสดงคุณและโทษของชนทั้งหลายผู้สมควรแก่คุณและโทษ ก็ติและชม ฉะนั้น. จริงอยู่ เพราะทรงเห็นบุคคล ผู้ทำการล่วงละเมิดศีล ความคิดย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้นี้เป็นคนมีชื่อเสียง มียศโดยชาติหรือโดยโคตร หรือโดยความเป็นบุตรของคนมีสกุล หรือโดยคัณฐะ (การร้อยกรอง) หรือโดยธุดงควัตร, เราสมควรที่จะรักษาบุคคลเช่นนี้ไว้ เพราะทรงเห็นบุคคลผู้มีคุณมีศีลเป็นที่รัก จิตที่คิดจะปิดบังคุณของเขา จะได้เกิดขึ้นหามิได้เลย, อันที่จริง พระองค์ย่อมทรงติบุคคลซึ่งควรติเท่านั้น ย่อมทรงชมบุคคลซึ่งควรชมเท่านั้น, และพระสุทินน์นี้เป็นผู้สมควรติ, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงดำรงอยู่ในลักษณะของท่านผู้คงที่ มีพระหฤทัยไม่ลำเอียง ได้ทรงติพระสุทินน์นั้น ด้วยพระพุทธดำรัสว่า อนนุจฺฉวิยํ เป็นอาทิ. [อรรถาธิบายกรรมที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นต้น] ดูก่อนโมฆบุรุษ ผู้เป็นมนุษย์เปล่า กรรมที่เธอทำแล้วไม่สมควรแก่ธรรมอันทำความเป็นสมณะ หรือแก่มรรคผลนิพพานและศาสนา คือไม่เป็นไปตาม ได้แก่ไม่คล้อยไปตามผิวคือเงา ได้แก่ความเป็นธรรมดีแห่งธรรมเหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นกรรมเหินห่างจากธรรมเหล่านั้นทีเดียว, ก็เพราะความเป็นของไม่สมควรนั่นเอง กรรมนั้นจึงชื่อว่าเป็นของไม่เหมาะเจาะ คือไม่อนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นของแย้งกัน คือตั้งอยู่ในความเป็นข้าศึกกัน, เพราะความเป็นของไม่เหมาะเจาะนั่นแล กรรมนั้นจึงจัดเป็นกรรมไม่สมรูป คือเป็นกรรมเข้ารูปกัน คล้ายกัน ถูกส่วนกันหามิได้, โดยที่แท้เป็นของไม่คล้ายกัน ก็ไม่ถูกส่วนกันทีเดียว, ก็เพราะความเป็นของไม่สมรูปกันนั่นแล กรรมนั้นจึงจัดว่าไม่ใช่ของสำหรับสมณะ คือไม่เป็นกรรมของพวกสมณะ, เพราะข้อที่ไม่เป็นของสำหรับสมณะ กรรมนั้นจึงจัดเป็นอกัปปิยะ, จริงอยู่ กรรมใดไม่ใช่กรรมของสมณะ, กรรมนั้น ย่อมไม่สมควรแก่สมณะเหล่านั้น, เพราะข้อที่กรรมเป็นอกัปปิยะ กรรมนั้นจึงจัดว่าไม่ควรทำ, แท้จริง กรรมใดไม่สมควรแก่เหล่าสมณะ, สมณะทั้งหลายย่อมไม่ทำกรรมนั้น. แต่กรรมนี้นั้นอันเธอทำแล้ว, ดูก่อนโมฆบุรุษ เพราะเหตุนั้น กรรมอันไม่สมควร ไม่เหมาะเจาะ ไม่สมรูป ไม่ใช่กิจของสมณะ เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรทำชื่อว่าอันเธอทำแล้ว. ข้อว่า กถํ หิ นาม มีความว่า เพราะเหตุชื่ออะไรเล่า? มีคำอธิบายว่า ท่านเล็งเห็นเหตุชื่ออะไรเล่า? ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีเหตุ จึงตรัสคำว่า นนุ มยา โมฆปุริส เป็นต้นข้างหน้า. คำทั้งหมดมีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแล. กรรมลามกที่พระสุทินน์นั้นทำแล้ว เมื่อให้ผล ย่อมเป็นกรรมมีวิบากเป็นทุกข์อย่างยิ่ง, เพราะเหตุนั้น บัดนี้ เมื่อจะทรงว่ากล่าวพระสุทินน์ด้วยพระหฤทัยประกอบด้วยความเอ็นดู ดุจมารดาบิดาผู้มีความเอ็นดู ว่ากล่าวบุตร ผู้ทำความผิดแล้ว ฉะนั้น จึงตรัสคำว่า วรนฺเต โมฆปุริส เป็นอาทิเพื่อแสดงวิบากนั้นแก่พระสุทินน์นั้น. ในคำว่า วรนฺเต โมฆปุริส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- พิษของงูนั้นย่อมแล่นเร็ว คือไว เหตุนั้น งูนั้นจึงชื่อว่าอาสีวิสะ (มีพิษแล่นเร็ว) พิษของงูนั้น กล้า คือร้ายแรง เหตุนั้น งูนั้นจึงชื่อว่าโฆรวิสะ (มีพิษกล้า). แห่งอสรพิษ ที่มีพิษแล่นเร็ว มีพิษกล้านั้น. พึงเชื่อมบทนี้ว่า ปกฺขิตฺตํ ด้วยบทว่า วรํ นี้. องคชาตอันเธอสอดเข้าไปในปากแห่งงูมีพิษ แล่นเร็วเช่นนี้ประเสริฐกว่า. อธิบายว่า หากองคชาตพึงเป็นของอันเธอสอดเข้าไปไซร้, พึงเป็นของประเสริฐกว่า คือความดี ความงาม ความชอบจะพึงมี. บทว่า น เตฺวว มีความว่า ไม่ประเสริฐเลย คือไม่เป็นความดีเลย ไม่เป็นความงามเลย ได้แก่ไม่เป็นความชอบทีเดียว. ในทุกๆ บทก็นัยนี้. บทว่า กณฺหสปฺปสฺส แปลว่า งูเห่าหม้อ. บทว่า องฺคารกาสุยา แปลว่า ในหลุมที่เต็มด้วยถ่านเพลิง หรือในกองถ่านเพลิง. บทว่า อาทิตฺตาย แปลว่า อันไฟติดทั่วแล้ว คือมีความสว่างเปลวไฟจับทั่วแล้ว. บทว่า สมฺปชฺชลิตาย แปลว่า รุ่งโรจน์ คือปล่อยเปลวไฟขึ้นโดยรอบด้าน. บทว่า สญฺโชติภูตาย แปลว่า มีแสงสว่าง. มีคำอธิบายว่า มีความเกิดขึ้นแห่งแสงสว่างเป็นอันเดียวกันจากเปลวไฟ ที่ลุกโพลงขึ้นโดยรอบด้าน. ในคำว่า ตํ กิสฺส เหตุ นี้ หากจะมีผู้ถาม ถามว่า คำที่เรากล่าวว่า ยังประเสริฐกว่า เป็นเหตุแห่งอะไร คือเพราะเหตุไหน? แก้ว่า เพราะพึงประสบความตาย. อธิบายว่า ผู้ใดพึงสอดองค์กำเนิดเข้าไปในปากงูเป็นต้นนั้น, ผู้นั้นพึงประสบความตาย. หลายบทว่า อิโตนิทานญฺจ โข ฯเปฯ อุปปชฺเชยฺย มีความว่า บุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิด เข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น พึงเข้าถึงนรกซึ่งมีการทำนี้เป็นเหตุ. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงข้อที่กรรมเป็นของมีโทษมากอย่างนั้น แล้วจึงทรงตำหนิพระสุทินน์นั้น หาได้ทรงตำหนิมุ่งให้พระสุทินน์นั้นประสบความทุกข์ไม่. หลายบทว่า ตตฺถ นาม ตฺวํ ความว่า เมื่อกรรมอันนั้น คือเห็นปานนั้น แม้เป็นของมีโทษมากอย่างนี้ เธอ (ยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรมอันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ). ศัพท์ว่า ยํ ซึ่งมีอยู่ในคำว่า ยํ ตฺวํ นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งความดูถูก. บทว่า ตฺวํ เป็นไวพจน์แห่ง ตํ ศัพท์. ท่านกล่าวอธิบายไว้แม้ด้วยบททั้งสองว่า ได้แก่ ความดูถูก คือความดูหมิ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อสทฺธมฺมํ ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ คือคนชั้นต่ำ. อธิบายว่า อันคนชั้นต่ำเหล่านั้น พึงเสพ. บทว่า คามธมฺมํ ได้แก่ เรื่องของชาวบ้าน. มีคำอธิบายว่า เป็นธรรมของพวกชนชาวบ้าน. บทว่า วสลธมฺมํ ความว่า เป็นมรรยาทของเหล่าชนผู้เป็นคนชั้นต่ำ เพราะอรรถว่า หลั่งออก คือปล่อยออกซึ่งบาปธรรม ได้แก่ของพวกบุรุษเลวทราม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเป็นเหตุไหลออกแห่งกิเลส ชื่อว่าวสลธรรม. บทว่า ทุฏฺฐุลฺลํ ได้แก่เป็นของชั่วและเป็นของหยาบ ซึ่งถูกกิเลสประทุษ บทว่า โอทกนฺติกํ ความว่า เมถุนธรรม ชื่อว่ามีน้ำเป็นที่สุด เพราะอรรถว่า กิจเนื่องด้วยน้ำเป็นที่สุด คือ เป็นอวสานแห่งเมถุนธรรมนั้น. ซึ่งเมถุนธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุดนั้น. บทว่า รหสฺสํ ได้แก่เป็นกรรมลับ คือเกิดขึ้นในโอกาสอันปิดบัง. จริงอยู่ ธรรมนี้ ใครๆ ไม่อาจจะทำให้เปิดเผย คือไม่อาจจะทำในวิสัยที่บุคคลเหล่าอื่นจะเห็นได้ เพราะเป็นกรรมน่าเกลียด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นกรรมลับ. บทว่า ทฺวยทฺวยสมาปตฺตึ แปลว่า อันชนสองคนๆ พึงประพฤติรวมกัน. บาลีว่า ทฺวยํ ทฺวยํ สมาปตฺตึ ก็มี. อาจารย์บางพวกสวดกันว่า ทยทยสมาปตฺตึ ดังนี้บ้าง. คำนั้นไม่ดี. พึงประกอบบทว่า สมาปสฺสิสฺสสิ นั้น เข้าด้วยนามศัพท์ [พระสุทินน์เป็นคนแรกในการเสพเมถุนธรรม] มีคำอธิบายว่า ท่านนับว่าเป็นตัวอย่าง แห่งบุคคลทั้งหลาย หรืออกุศลธรรมทั้งหลายเป็นอันมากในพระศาสนานี้ เพราะทำก่อนบุคคลทั้งปวง นับว่าเป็นหัวหน้า คือเป็นผู้ให้ประตูได้แก่ชี้อุบาย เพราะเป็นผู้ดำเนินหนทางนั้นก่อนบุคคลทั้งปวง. จริงอยู่ ในคำว่า พหุนฺนํ โข เป็นต้นนี้ มีความประสงค์ดังนี้ว่า บุคคลเป็นอันมาก ได้เลิศนี้แล้ว สำเหนียกตามกิริยาของท่าน จักกระทำอกุศลธรรมมีประการต่างๆ มีเสพเมถุนธรรมกับนางลิงเป็นต้น. บทว่า อเนกปริยาเยน คือโดยเหตุมากมาย ซึ่งตรัสแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า อนนุจฺฉวิกํ นี้. [ผู้ไม่ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔] จริงอยู่ ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมถึงความเป็นสภาพที่เลี้ยงยากและบำรุงยาก, เพราะเหตุนั้น อสังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นผู้เลี้ยงยากและความเป็นผู้บำรุงยาก. อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมถึงความเป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔ และได้ปัจจัยทั้งหลาย แม้มีประมาณเท่าเขาสิเนรุแล้ว ก็ยังถึงความเป็นผู้ไม่สันโดษ, เพราะเหตุนั้น อสังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นผู้มักมากและความเป็นผู้ไม่สันโดษ. อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมเป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ และเพื่อความหมักหมมด้วยกิเลส ทั้งย่อมเป็นสภาพเป็นไปตามความเกียจคร้าน คือเป็นไปเพื่อยังวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านแปดอย่างให้บริบูรณ์,๑- เพราะเหตุนั้น อสังวร ท่านจึงเรียกว่า ความคลุกคลีและความเกียจคร้าน. ____________________________ ๑- องฺ. อฏฺฐก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๑๘๕/หน้า ๓๔๓ [ผู้ตั้งอยู่ในสังวรไม่เป็นผู้มักมากในปัจจัย ๔] จริงอยู่ ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นสภาพที่เลี้ยงง่ายบำรุงง่าย ย่อมถึงความเป็นผู้มักน้อย คือหมดความทะยานอยากในปัจจัย ๔ และย่อมเป็นไปเพื่อความสันโดษ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษและยถาสารุปสันโดษ ในปัจจัยอย่างหนึ่งๆ เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ความเป็นผู้บำรุงง่าย ความมักน้อยและความสันโดษ. อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร ตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ขัดเกลากิเลส และความเป็นผู้กำจัดกิเลสออก, เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความขัดเกลาและความกำจัด. อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ไม่เข้าไปใกล้กายทุจริตและวจีทุจริต ซึ่งไม่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส คือไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ไม่สงบ ไม่เรียบร้อยแห่งกายและวาจา และไม่เข้าไปใกล้อกุศลวิตก ๓ ซึ่งไม่ชวนจิตให้เกิดความผ่องใส คือไม่เป็นที่ตั้งแห่งความผ่องใสแห่งจิต ไม่สงบ ไม่เรียบร้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริบูรณ์แห่งกายสุจริต วจีสุจริตและกุศลวิตก ๓ ซึ่งผิดแผกจากนั้นนั่นแล ที่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส คือเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส สงบ เรียบร้อย, เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นอาการให้เกิดความเลื่อมใส. [ผู้ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้ไม่สั่งสมกิเลสทั้งปวง] เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความไม่สั่งสมและการปรารภความเพียร ฉะนี้แล. ข้อว่า ภิกฺขูนํ ตทนุจฺฉวิกํ ตทนุโลมิกํ ความว่า ทรงทำพระธรรมเทศนานอกท้องเรื่อง ซึ่งพ้นจากบาลี ไม่เนื่องด้วยสุตตันตะที่ปฏิสังยุตด้วยสังวรปหานะ อันสมควรและเหมาะแก่สิกขาบทที่จักทรงบัญญัติในบัดนี้ ทั้งสมควรและเหมาะแก่สังวรที่ตรัสด้วยธรรมทั้งหลายมีความเป็นผู้เลี้ยงง่ายเป็นต้น แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในสถานที่นั้น. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนผู้แต่งระเบียบดอกไม้ห้าสี เปรียบผู้จัดพวงแก้ว เมื่อจะทรงคุกคามบุคคลทั้งหลาย ผู้พอใจนักในอสังวร ประสงค์จะคัดค้าน ด้วยวัฏภัยซึ่งมีในสัมปรายภพ จะทรงแสดงโทษมีประการมากมาย จะทรงยังบุคคลผู้ใคร่ต่อการศึกษาตั้งอยู่ในสังวร บางพวกให้ประดิษฐานอยู่ในพระอรหัต, บางพวกให้ตั้งอยู่ใน อนาคามิผล สกทาคามิผลและโสดาปัตติผล, จะทรงยังบุคคลทั้งหลายแม้ผู้ปราศจากอุปนิสัยให้ประดิษฐานในทางสวรรค์ จึงทรงทำธรรมเทศนามีขนาดแห่งทีฆนิกายบ้าง มีขนาดแห่งมัชฌิมนิกายบ้าง ในสถานทั้งหลายเช่นนี้. พระอุบาลีเถระหมายเอาธรรมเทศนานั้น จึงกล่าวคำนี้ว่า ทรงทำธรรมีกถาซึ่งสมควรแก่สิกขาบทและสังวรนั้น ซึ่งเหมาะแก่สิกขาบทและสังวรนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. บทว่า เตน หิ มีความว่า เพราะอัชฌาจารนั้นของภิกษุสุทินน์อันเป็นตัวเหตุ. ในบทว่า สิกฺขาปทํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ที่ชื่อว่า สิกขา เพราะอรรถว่า เป็นคุณชาตอันบุคคลพึงศึกษา. ที่ชื่อว่า บท เพราะอรรถว่า เป็นทางเป็นเครื่องอันบุคคลพึงถึง. ทางเป็นเครื่องอันบุคคลพึงถึงแห่งสิกขา ชื่อว่า สิกขาบท. ความว่า อุบายแห่งความได้สิกขา. อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า เป็นต้นเค้า คือเป็นที่อาศัยเป็นที่พำนักแห่งสิกขา. คำว่า สิกขาบท นั่น เป็นชื่อแห่งความสำรวมจากเมถุน โดยเว้นจากเมถุน. จริงอยู่ เมถุนสังวร ท่านประสงค์เอาว่า สิกขาบท ในที่นี้ เพราะความเป็นทางแห่งธรรม คือ ศีล วิปัสสนา ฌาน และมรรค กล่าวคือสิกขาอื่นจากเมถุนสังวรนั้น ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความดังกล่าวแล้ว. ก็แลเนื้อความนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในวิภังค์แห่งสิกขาบท. อีกอย่างหนึ่ง แม้คำที่แสดงเนื้อความนั้น พึงทราบว่า "เป็นสิกขาบท" จริงอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ว่า บรรดาหมวดเหล่านั้น หมวดนาม หมวดบท หมวดภาษา หมวดพยัญชนะ อันใด, อันนั้นชื่อว่า สิกขาบท. อีกประการหนึ่ง เมื่อท่านกล่าวว่า "อนภิชฌา เป็นธรรมบท" เนื้อความย่อมมีว่า "อนภิชฌา เป็นส่วนธรรมอันหนึ่ง" ข้อนี้ฉันใด, แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น เมื่อท่านกล่าวว่า "สิกขาบท" จะพึงทราบเนื้อความว่า "ส่วนแห่งสิกขา คือประเทศอันหนึ่งแห่งสิกขา" ดังนี้ ก็ได้. ____________________________ ๑- องฺ. อฏฺฐก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๑๘๖/หน้า ๓๔๕ [ประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท ๑๐ อย่าง] บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะแสดงอำนาจประโยชน์ ๑๐ อย่างนั้น จึงตรัสคำว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย เป็นต้น. [อธิบายประโยชน์การบัญญัติสิกขาบท ๑๐ อย่าง] จริงอยู่ ภิกษุใดยอมรับพระดำรัสของพระตถาคตเจ้า, การยอมรับพระดำรัสนั้น ของภิกษุนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเปิดเผยเนื้อความนี้ว่า เราจักแสดงโทษในความไม่ยอมรับ และอานิสงส์ในความยอมรับ คือไม่กดขี่โดยพลการ จักบัญญัติ (สิกขาบท) เพื่อให้สงฆ์ยอมรับคำของเราว่า ดีละ พระเจ้าข้า ดังนี้ จึงตรัสคำว่า "เพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์". บทว่า สงฺฆผาสุตาย คือเพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์. อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่ความอยู่เป็นสุข ด้วยความเป็นอยู่ร่วมกัน. หลายบทว่า ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย ความว่า บุคคลผู้ทุศีล ชื่อว่าบุคคลผู้เก้อยาก, ภิกษุเหล่าใด แม้อันภิกษุทั้งหลายจะให้ถึงความเป็นผู้เก้อ ย่อมถึงได้โดยยาก, กำลังกระทำการละเมิด หรือกระทำแล้ว ย่อมไม่ละอาย, เพื่อประโยชน์แก่อันข่มภิกษุเหล่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น เมื่อสิกขาบทไม่มี จักเบียดเบียนสงฆ์ด้วยถ้อยคำว่า เรื่องอะไรที่พวกท่านเห็นมาแล้ว เรื่องอะไรที่พวกท่านได้ฟังมาแล้ว สิ่งอะไรที่พวกข้าพเจ้าทำแล้ว พวกท่านยกอาบัติไหนในเพราะวัตถุอะไร ขึ้นข่มพวกข้าพเจ้า, ก็เมื่อสิกขาบทมีอยู่ สงฆ์จักอ้างสิกขาบทแล้ว ข่มภิกษุพวกนั้นโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อข่มเหล่าบุคคลผู้เก้อยาก. หลายบทว่า เปสลานํ ภิกฺขูนํ ผาสุวิหาราย คือเพื่อประโยชน์แก่ความอยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ไม่รู้สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ สิ่งที่มีโทษและไม่มีโทษ ขีดคั่น เขตแดน พยายามอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งไตร เพราะเหตุนั้น การบัญญัติสิกขาบท จึงเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุกของพวก อีกอย่างหนึ่ง ความข่มบุคคลผู้เก้อยากทั้งหลายนั้นนั่นแล เป็นความอยู่ผาสุกแห่งภิกษุ ก็เมื่อเหล่าบุคคลผู้ทุศีลถูกข่มเสียแล้ว อุปัทวะแม้ทั้งหมดนี้หามีไม่, เมื่อนั้น พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมอยู่เป็นผาสุก. ในคำว่า "เพื่อความอยู่เป็นผาสุกของภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก" นี้ บัณฑิต คำว่า "เพื่อป้องกันอาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปในปัจจุบัน" อธิบายว่า ทุกข์พิเศษมีการประหารด้วยฝ่ามือ ประหารด้วยท่อนไม้ ตัดมือตัดเท้า ความเสียชื่อเสียง ความเสื่อมยศและความเดือดร้อนเป็นต้น อันบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สังวร จะพึงถึงในอัตภาพนี้นั่นเทียว ชื่อว่า อาสวะอันเป็นไปในปัจจุบัน. เพื่อป้องกัน คือปิดกั้นทางมาแห่งอาสวะอันเป็นไปในปัจจุบันเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้. คำว่า "เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลาย อันเป็นไปในสัมปรายภพ" มีความว่า ทุกข์พิเศษมีบาปกรรมที่ตนกระทำแล้วเป็นมูล อันบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สังวร จะพึงถึงในนรกเป็นต้นในสัมปรายภพ ชื่อว่าอาสวะอันเป็นไปในสัมปรายภพ, เพื่อประโยชน์แก่การกำจัด. มีคำอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การระงับ คือเพื่อประโยชน์แก่การเข้าไปสงบอาสวะอันเป็นไปในสัมปรายภพเหล่านี้. ข้อว่า อปฺปสนฺนานํ วา ปสาทาย มีความว่า เมื่อมีสิกขาบทบัญญัติ มนุษย์ผู้บัณฑิตทั้งหลาย แม้ไม่เลื่อมใส ได้ทราบสิกขาบทบัญญัติ หรือได้เห็นภิกษุทั้งหลายปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ ย่อมถึงความเลื่อมใสว่า ธรรมเหล่าใดหนอ เป็นที่ตั้งความกำหนัด ความขัดเคือง และความลุ่มหลงของมหาชนในโลก, สมณศากยบุตรเหล่านี้ย่อมอยู่เหินห่างเว้นจากธรรมเหล่านั้น, พวกเธอทำกรรมที่ทำได้ยากหนอ ทำกิจที่หนักหนอ ดังนี้ เหมือนพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิรู้ไตรเทพ ได้เห็นคัมภีร์พระวินัยปิฎกแล้วเลื่อมใส ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อปฺปสนฺนานํ วา ปสาทาย. ข้อว่า ปสนฺนานํ วา ภิยฺโยภาวาย มีความว่า กุลบุตรทั้งหลายแม้เลื่อมใสในพระศาสนา ได้ทราบสิกขาบทบัญญัติ หรือได้เห็นภิกษุทั้งหลายปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้ ย่อมเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไปว่า โอ พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด คอยเฝ้ารักษาวินัยสังวร ซึ่งมีอาหารครั้งเดียวตลอดชีวิต เป็นความประพฤติประเสริฐ, พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติทำกรรมที่ทำได้ยาก. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปสนฺนานํ วา ภิยฺโยภาวาย. [พระสัทธรรม ๓ อย่าง] บรรดาสัทธรรม ๓ อย่างนั้น ที่ชื่อว่าปริยัติสัทธรรม ได้แก่พุทธพจน์แม้ทั้งสิ้นรวมด้วยพระไตรปิฎก. ที่ชื่อว่าปฏิปัตติสัทธรรม ได้แก่ธรรมนี้คือธุดงคคุณ ๑๓ ขันธกวัตร ๑๔ มหาวัตร ๘๒ ศีล สมาธิ และวิปัสสนา. ที่ชื่อว่าอธิคมสัทธรรม ได้แก่ ธรรมนี้คือ อริย เมื่อมีสิกขาบทบัญญัติ ภิกษุทั้งหลายย่อมเรียนสิกขาบทและวิภังค์แห่งสิกขา ข้อว่า วินยานุคฺคหาย มีความว่า จริงอยู่ เมื่อมีสิกขาบทบัญญัติวินัยทั้ง ๔ อย่าง คือ สังวร ก็บทเหล่านั้นทั้งหมดแล พึงประกอบกับคำนี้ว่า เราจักบัญญัติสิกขาบท. ประกอบบทต้นและบทสุดท้าย ในบรรดาบทเหล่านั้น ดังนี้ว่า เราจักบัญญัติสิกขาบท เพื่อความเห็นชอบของสงฆ์ ฯลฯ เราจักบัญญัติสิกขาบท เพื่อความอนุเคราะห์วินัย. อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำสังขลิกน้อยอย่างนี้ว่า "ความเห็นชอบแห่งสงฆ์อันใด อันนั้นเป็นความสำราญแห่งสงฆ์ ความสำราญแห่งสงฆ์อันใด อันนั้น เพื่อข่มบุคคลทั้งหลายผู้เก้อยาก" และโยชนา ๑๐ ครั้ง มีบทอันหนึ่งๆ เป็นเค้าอย่างนี้ว่า ความเห็นชอบแห่งสงฆ์อันใด อันนั้นคือความสำราญแห่งสงฆ์ ความเห็นชอบแห่งสงฆ์อันใด อันนั้น เพื่อข่มบุคคลทั้งหลายผู้เก้อยาก ดังนี้ แล้วตรัสคำใดไว้ในคัมภีร์บริวารว่า ในปกรณ์ว่าด้วยอำนาจประโยชน์ มี ผลร้อยหนึ่ง มีเหตุร้อยหนึ่ง มีภาษาสำหรับ กล่าวสองร้อย และมีญาณสี่ร้อย๑- คำนั้นทั้งหมด พึงทราบในบทว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย เป็นต้นนี้. แต่คำนั้นแหละจักมีแจ้งให้คัมภีร์บริวารนั่นเอง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่พรรณนาในที่นี้. ____________________________ ๑- วิ. ปริ. เล่ม ๘/ข้อ ๑๐๑๔/หน้า ๓๕๙ [ทรงบัญญัติปฐมปาราชิกสิกขาบท] พระองค์ตรัสอธิบายไว้อย่างไร? ตรัสอธิบายไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงแสดงพึงเล่าเรียน พึงทรงจำและพึงบอกแก่บุคคลเหล่าอื่น ซึ่งสิกขาบทนี้ คือที่มีอานิสงส์อันเราแสดงแล้วอย่างนี้ ในปาฏิโมกขุทเทสอย่างนี้. จริงอยู่ จ ศัพท์ในคำว่า เอวญฺจ ปน นี้ มีการนำเนื้อความเกินมาเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น เนื้อความนี้ย่อมเป็นอันท่านนำมาแล้ว. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า สิกขาบทนี้ จึงตรัสว่า อนึ่ง ภิกษุใดพึงเสพเมถุนธรรม, ภิกษุนี้ย่อมเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้. เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติปฐมปาราชิก ให้มั่นเข้าด้วยอำนาจมูลเฉทอย่างนั้นแล้ว เรื่องลิงตัวเมียแม้อื่นอีกก็เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เพื่อแสดงเรื่องลิงตัวเมียที่เกิดขึ้นนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายจึงได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้. อธิบายความแห่งคำนั้นว่า สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วอย่างนี้ แก่ภิกษุทั้งหลาย และเรื่องอื่นนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว. จบ กถาว่าด้วยปฐมบัญญัติ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค ปาราชิกกัณฑ์ ปฐมปาราชิกสิกขาบท จบ. |