![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พรรณนารูปิยสัพโยหารสิกขาบท ในรูปิยสัพโยหารสิกขาบท๑- นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า นานปฺปการกํ ได้แก่ มีประการมิใช่น้อย ด้วยอำนาจรูปิยะที่ทำ (เป็นรูปภัณฑ์) และมิได้ทำ (เป็นรูปภัณฑ์) เป็นต้น. บทว่า รูปิยสพฺโยหารํ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงิน. บทว่า สมาปชฺชนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มองไม่เห็นโทษในการแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงินที่ตนรับไว้แล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการรับอย่างเดียว จึงกระทำ (การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ). ____________________________ ๑- บาลีและโยชนาเป็น รูปิยสังโวหารสิกขาบท. ในคำว่า สีสูปคํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ทองเงินรูปภัณฑ์ ที่ชื่อว่าสีสูปคะ เพราะอรรถว่า ประดับศีรษะ. ก็ในคัมภีร์ทั้งหลายเขียนไว้ว่า สีสูปกํ ก็มี. คำว่า สีสูปกํ นี้เป็นชื่อของเครื่องประดับศีรษะชนิดใดชนิดหนึ่ง. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. ในบทว่า กเตน กตํ เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบการซื้อขายด้วยรูปิยะล้วนๆ เท่านั้น. ข้าพเจ้าจักกล่าววินิจฉัยในบทว่า รูปิเย รูปิยสญฺญี เป็นต้นต่อไป :- บรรดาวัตถุที่กล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน เมื่อภิกษุซื้อขายนิสสัคคิยวัตถุด้วย [ว่าด้วยการซื้อขายรูปิยะด้วยรูปิยะเป็นต้น] แท้จริง ภิกษุซื้อขายรูปิยะของผู้อื่นด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะของตนก็ดี ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะของผู้อื่นด้วยรูปิยะของตนก็ดี แม้โดยการซื้อขายทั้งสองประการ ก็จัดเป็นทำการซื้อขายด้วยรูปิยะเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ในบาลีจึงตรัสไว้ติกะเดียวเท่านั้น ในฝ่ายรูปิยะข้างเดียวฉะนี้แล. ก็เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏด้วยสิกขา ส่วนในอรรถกถาอันธกะ ท่านกล่าวว่า ถ้าภิกษุถึงการซื้อขายเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ คำนั้น ท่าน สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการซื้อขายรูปิยะ และสิ่งมิใช่รูปิยะด้วยรูปิยะ และการซื้อขายรูปิยะด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะ, ส่วนการซื้อขายวัตถุแห่ง อนึ่ง เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุนิสสัคคีย์ ด้วยกัปปิยวัตถุ เป็นอนาบัติด้วยสิกขา สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งมิใช่ อนึ่ง เมื่อภิกษุแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุด้วยกัปปิยวัตถุ นอกจากพวกสหธรรมิก ไม่เป็นอาบัติ ด้วยสิกขา [อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์] ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ก็ภิกษุใดรับรูปิยะแล้วซื้อบาตรด้วยรูปิยะนั้น แม้บาตรนี้ของภิกษุนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ ไม่สมควรแม้แก่สหธรรมิกทั้ง ๕. แต่ภิกษุนั้นอาจทำบาตรนั้น ให้เป็นกัปปิยะได้. จริงอยู่ บาตรนั้นจะเป็นกัปปิยะได้ ต่อเมื่อให้มูลค่าแก่เจ้าของ ฝ่ายภิกษุใดให้รับเอารูปิยะไว้แล้วไปยังตระกูลช่างเหล็กกับด้วยกัปปิยการก เห็นบาตรแล้วพูดว่า บาตรนี้ เราชอบใจ. และกัปปิยการกให้รูปิยะนั้นแล้ว ให้ช่างเหล็กตกลง. แม้บาตรใบนี้ อันภิกษุนั้นถือเอาโดยกัปปิยโวหาร เป็นเช่นกับบาตรใบที่ ๒ นั่นเอง จัดเป็นอกัปปิยะเหมือนกัน เพราะภิกษุรับมูลค่า. ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรแก่สหธรรมิกที่เหลือ? แก้ว่า เพราะไม่เสียสละมูลค่า. อนึ่ง ภิกษุใดไม่รับรูปิยะไปยังตระกูลช่างเหล็ก พร้อมกับกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า ท่านจงซื้อบาตรถวายพระเถระ เห็นบาตรแล้ว ให้กัปปิยการกจ่ายกหาปณะว่า เธอจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว ให้บาตรนี้ แล้วได้ถือเอาไป. บาตรนี้ไม่ควรแก่ภิกษุรูปนี้เท่านั้น เพราะจัดการไม่ชอบ, แต่ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น เพราะไม่ได้รับมูลค่า. ได้ทราบว่า อุปัชฌาย์ของพระมหาสุมเถระ มีชื่อว่าอนุรุทธเถระ. ท่านบรรจุบาตรเห็นปานนี้ของตนให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว สละแก่สงฆ์. พวกสัทธิวิหาริกแม้ของพระจุลนาคเถระผู้ทรงไตรปิฎก ก็ได้มีบาตรเช่นนั้นเหมือนกัน. พระเถระสั่งให้บรรจุบาตรนั้นให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว ให้เสียสละแก่สงฆ์ ดังนี้แล. นี้ชื่ออกัปปิยปัตตจตุกกะ. ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่รับรูปิยะไปสู่ตระกูลแห่งช่างเหล็ก พร้อมด้วยกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า เธอจงซื้อบาตรถวายพระเถระ เห็นบาตรแล้วกล่าวว่า บาตรนี้เราชอบใจ หรือว่า เราจักเอาบาตรนี้, และกัปปิยการกจ่ายรูปิยะนั้นให้แล้ว ให้ช่างเหล็ก สองบทว่า อรูปิเย รูปิยสญฺญี ได้แก่ มีความสำคัญในทองเหลืองเป็นต้น ว่าเป็นทองคำเป็นต้น. สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ถ้าภิกษุซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะ ด้วยสิ่งที่มิใช่รูปิยะ ซึ่งมีความสำคัญว่าเป็นรูปิยะนั้น เป็นอาบัติทุกกฏ. ในภิกษุผู้มีความสงสัย ก็มีนัยอย่างนี้. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุมีความสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ แม้กระทำการซื้อขาย กับด้วยสหธรรมิก ๕ ว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้แล้วให้สิ่งนี้. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล. รูปิยสัพโยหารสิกขาบทที่ ๙ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙ จบ. |