บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
พรรณนามหาเปสการสิกขาบท ในมหาเปสการสิกขาบทนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- สองบทว่า สุตฺตํ ธารยิตฺวา ได้แก่ ชั่งด้ายให้ได้กำหนดหนึ่งปละ. บทว่า อปฺปิตํ แปลว่า ให้แน่น. บทว่า สุวีตํ ได้แก่ ให้เป็นของที่ทอดี คือให้เป็นของที่ทอเสมอในที่ทุกแห่ง. บทว่า สุปฺปวายิตํ ได้แก่ ขึงให้ดี คือขึงหูกให้ตึงเสมอในที่ทุกแห่ง. บทว่า สุวิเลขิตํ แปลว่า ให้เป็นของสางดีด้วยเครื่องสาง. บทว่า สุวิตจฺฉิตํ แปลว่า ให้เป็นของกรีดดีด้วยหวี (ด้วยแปรง). อธิบายว่า ให้เป็นของชำระเรียบร้อย. บทว่า ปฏิพทฺธํ แปลว่า ความขาดแคลน. บทว่า ตนฺเต มีความว่า นำเข้าไปในหูกที่ขึงไปทางด้านยืนนั่นแล (ด้านยาว). หลายบทว่า ตตฺร เจโส ภิกฺขุ มีความว่า ในคามหรือนิคมที่พวกช่างหูกเหล่านั้นอยู่. สองบทว่า วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย มีความว่า ถึงความกำหนดเอาพิเศษ คือจัดแจงเอาอย่างยิ่ง. แต่ในบาลี เพื่อทรงแสดงอาการที่เป็นเหตุให้ภิกษุถึงความกำหนดเอา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิทํ โข อาวุโส เป็นต้น. สองบทว่า ธมฺมํปิ ภณติ ได้แก่ กล่าวธรรมกถา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการ คือการเพิ่มด้ายเท่านั้น ด้วยคำว่า เขาทำให้ยาวก็ดี ให้กว้างก็ดี ให้แน่นก็ดี ตามคำของภิกษุนั้น. สองบทว่า ปุพฺเพ อปฺปวาริโต ได้แก่ เป็นผู้อันเจ้าของแห่งจีวรทั้งหลายมิได้ปวารณาไว้. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติ มหาเปสการสิกขาบท จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๗ จบ. |