บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องพระอุทายี] บทว่า นิเวสทฺวาเร ได้แก่ ที่ประตูใหญ่แห่งนิเวศน์ (เรือน). หญิงสะใภ้ในเรือนนั้น ชื่อว่า ฆรสุณหา. บทว่า อาวสถทฺวาเร ได้แก่ ที่ประตูห้องนอน. บทว่า วิสฏฺเฐน ได้แก่ ด้วยเสียงชัดเจนดี. บทว่า วิวเฏน ได้แก่ เปิดเผย คือไม่คลุมเคลือ. สองบทว่า ธมฺโม เทเสตพฺโพ มีความว่า พระธรรมกถึกควรแสดงธรรม อันต่างโดยสรณะและศีล เป็นต้นนี้. บทว่า อญฺญาตุํ คือ (สามารถ) จะรู้ทั่วถึงได้. สองบทว่า วิญฺญุนา ปุริสวิคฺคเหน มีความว่า (เว้น) จากบุรุษผู้รู้เดียงสา (ผู้รู้ความหมาย) ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่ดิรัจฉาน แม้ผู้แปลงเพศเป็นบุรุษ. หลายบทว่า อนาปตฺติ วิญฺญุนา ปุริสวิคฺคเหน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแม้มากแก่หญิงผู้ยืนอยู่กับบุรุษผู้รู้เดียงสา. บทว่า ฉปฺปญฺจวาจาหิ มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้แสดง (ธรรม) ด้วยวาจา ๖-๕ คำ. ในคำว่า ฉปฺปญฺจวาจาหิ นั้น บัณฑิตพึงทราบประมาณแห่งวาจาในธรรมทั้งปวงอย่างนี้ คือ คาถาบทหนึ่ง ชื่อว่าวาจาคำหนึ่ง. หากว่า ภิกษุเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวอรรถกถา หรือว่า เรื่องมีเรื่องธรรมบทและชาดกเป็นต้น, จะกล่าวเพียง ๖-๕ บทเท่านั้น ควรอยู่. เมื่อจะกล่าวพร้อมด้วยบาลี พึงกล่าวธรรมอย่าให้เกิน ๖ บท อย่างนี้ คือจากพระบาลีบทหนึ่ง จากอรรถกถา ๕ บท. จริงอยู่ ธรรมมีประเภทดังกล่าวในปทโสธรรม จัดเป็นธรรมเหมือนกันหมด แม้ในสิกขาบทนี้. สองบทว่า ตสฺมึ เทเสติ คือ แสดงในขณะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ตสฺมึ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. ความว่า ย่อมแสดงแก่หญิงนั้น. สองบทว่า อญฺญสฺส มาตุคามสฺส มีความว่า ภิกษุนั่งบนอาสนะเดียว แสดง (ธรรม) แม้แก่มาตุคามตั้ง ๑๐๐ คน อย่างนี้ คือแสดงแก่หญิงคนหนึ่งแล้ว แสดงแม้แก่หญิงอื่นผู้มาแล้วๆ อีก. ในอรรถกถามหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุกล่าวว่า รูปจะแสดงคาถาแก่พวกท่านคนละคาถา พวกท่านจงฟังคาถานั้น ดังนี้ แล้วแสดง (ธรรม) แก่พวกมาตุคามผู้นั่งประชุมกันอยู่ ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทำความใฝ่ใจตั้งแต่แรกว่า เราจักกล่าวคาถาแก่หญิงคนละคาถา ดังนี้ แล้วบอกให้รู้ก่อนจึงแสดง สมควรอยู่. หลายบทว่า ปญฺหํ ปุจฺฉติปญฺหํ ปุฏฺโฐ กเถติ มีความว่า มาตุคามถามว่า ท่านเจ้าค่ะ! ชื่อว่าทีฆ คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล. สิกขาบทนี้ มีธรรมโดยบทเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นทางวาจา ๑ วาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยา ทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล. ธรรมเทศนาสิกขาบทที่ ๗ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๗ จบ. |