![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พรรณนาตติยกฐินสิกขาบท พึงทราบวินิจฉัยตติยกฐินสิกขาบท ดังต่อไปนี้ :- [แก้อรรถเรื่องภิกษุรูปหนึ่ง] บทว่า เอกาทสมาเส ได้แก่ ตลอด ๑๑ เดือนที่เหลือ เว้นเดือนกัตติกาหลัง หนึ่งเดือน. บทว่า สตฺตมาเส ได้แก่ ๗ เดือนที่เหลือ เว้น ๕ เดือน คือเดือนกัตติกานั่นด้วย ๔ เดือนฤดูฝนด้วย. [แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยความหวังจะได้จีวร] บทว่า สงฺฆโต วา มีความว่า จีวรเกิดขึ้นจากสงฆ์ด้วยอำนาจแห่งส่วนที่ถึงแก่ตนก็ดี. บทว่า คณโต วา มีความว่า พวกทายกย่อมถวายแก่คณะอย่างนี้ว่า พวกข้าพ คำว่า โน จสฺส ปาริปูริ คือ ถ้าผ้านั้นยังไม่พอ. อธิบายว่า จีวรที่ควรอธิษฐานได้ อันภิกษุทำอยู่ด้วยผ้าประมาณเท่าใดจึงจะพอ, ถ้าจีวรนั้นประมาณเท่านั้นยังไม่มี คือขาดไป. ในคำว่า ปจฺจาสา โหติ สงฺฆโต วา เป็นต้นมีวินิจฉัยดังนี้ :- มีความหวังจากสงฆ์ หรือจากคณะอย่างนี้ว่า ณ วันชื่อโน้น สงฆ์จักได้จีวร, คณะจักได้จีวร, จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรา จากสงฆ์หรือจากคณะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า มีความหวังจากญาติ หรือจากมิตรอย่างนี้ว่า ผ้าพวกญาติส่งมาแล้ว พวกมิตรส่งมาแล้วแก่เราเพื่อประโยชน์แก่จีวร, ชนเหล่านั้นมาแล้ว จักถวายจีวร. ก็ในบทว่า ปํสุกูลโต วา ผู้ศึกษาพึงประกอบคำว่า มีความหวังจะได้อย่างนี้ว่า เราจักได้ผ้าบังสุกุลก็ตาม. สองบทว่า อตฺตโน วา ธเนน ความว่า มีความหวังอย่างนี้ว่า เราจักได้ในวันชื่อโน้นด้วยทรัพย์มีฝ้ายและด้ายเป็นต้น ของตนก็ตาม. ข้อว่า ตโต เจ อุตฺตรึ นิกฺขิเปยฺย สติยาปิ ปจฺจาสาย มีความว่า ถ้าหากภิกษุพึงเก็บไว้เกินกว่าเดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้อย่างนี้ เพราะเมื่อจีวรที่หวังจะได้มาเกิดขึ้นในระหว่าง จีวรที่หวังจะได้มาซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จีวรเดิมเกิดขึ้นไป จนถึงวันที่ ๒๐ ย่อมทำจีวรเดิมให้มีคติแห่งตน, ต่อจากวันที่ ๒๐ นั้นไป จีวรเดิมย่อมทำจีวรที่หวังจะได้มาให้มีคติแห่งตน ก็เพราะเหตุนั้น เพื่อทรงแสดงความพิเศษนั้นจึงตรัสบทภาชนะโดยนัยมีอาทิว่า ตทหุปฺปนฺเน มูลจีวเร ดังนี้. คำว่า ตทหุปฺปนฺเน เป็นต้น มีอรรถกระจ่างทีเดียว. คำว่า วิสภาเค อุปฺปนฺเน มูลจีวเร มีความว่า ถ้าว่าจีวรเดิมเนื้อละเอียด จีวรที่หวังจะได้มาเนื้อหยาบ ไม่อาจเพื่อประกอบเข้ากันได้และราตรีก็ยังมีเหลือคือยังไม่เต็มเดือนก่อน. บทว่า น อกามา มีความว่า ภิกษุเมื่อไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ทำจีวร. ได้จีวรที่หวังจะได้มาอื่นแล้วเท่านั้น พึงกระทำในภายในกาล. แม้จีวรที่หวังจะได้มา พึงอธิษฐานเป็นบริขารโจล. ถ้าจีวรเดิมเป็นผ้าเนื้อหยาบ, จีวรที่หวังจะได้มาเป็นผ้าเนื้อละเอียด, พึงอธิษฐานจีวรเดิมให้เป็นบริขารโจล แล้วเก็บจีวรที่หวังจะได้มานั่นแล ให้เป็นจีวรเดิม. จีวรนั้นย่อมได้บริหารอีกเดือนหนึ่ง ภิกษุย่อมได้เพื่อผลัดเปลี่ยนกันและกัน เก็บไว้เป็นจีวรเดิมจนตราบเท่าที่ตนปรารถนา โดยอุบายนี้นั้นแล. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับปฐมกฐินสิกขาบทนั้นแล. พรรณนาตติยกฐินสิกขาบทที่ ๓ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๓ จบ. |