![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() [ว่าด้วยที่นอนมีฟูกเป็นต้น] เครื่องลาดหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า เครื่องลาดทำด้วยหญ้า. ในเครื่องลาดทำด้วยใบไม้ก็นัยนี้. ในคำว่า ปริกฺเขปํ อติกฺกาเมนฺตสฺส นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ก้าวเท้าแรกไป, เป็นปาจิตตีย์ ในย่างเท้าที่ ๒. ๒ เลฑฑุบาตจากเสนาสนะ ชื่อว่า อุปจารแห่งอารามที่ไม่ได้ล้อม. [ว่าด้วยการบอกลาและเก็บเครื่องเสนาสนะ] เมื่อมีภิกษุ พึงบอกลาภิกษุ. เมื่อภิกษุนั้นไม่มี พึงบอกลาสาม ก็ถ้าเสนาสนะฝนรั่วได้, และหญ้า หรืออิฐที่เขานำมาเพื่อมุงหลังคาก็มีอยู่, ถ้าอาจ ก็พึงมุง. ถ้าไม่อาจ พึงเก็บเตียงและตั่งไว้ในโอกาสที่ฝนจะไม่รั่วรด แล้วจึงไป. ถ้าเสนาสนะฝนรั่วทั้งหมด, เมื่อสามารถพึงเก็บไว้ในเรือนของพวกอุบาสก ภายในบ้าน. ถ้าแม้พวกอุบาสกเหล่านั้น ไม่ยอมรับ กล่าวว่า ท่านขอรับ! ธรรมดาของสงฆ์เป็นของหนัก, พวกกระผมกลัวภัยมีไฟไหม้เป็นต้น ดังนี้ ภิกษุจะวางเตียงลงข้างบนหิน แม้ในโอกาสกลางแจ้ง แล้วเก็บเตียงตั่งเป็นต้นที่เหลือ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล เอาจำพวกหญ้าและใบไม้ปกปิดแล้วจึงไป ก็ควร. จริงอยู่ ของที่ยังเหลืออยู่ในที่นั้น แม้จะเป็นเพียงชิ้นส่วน (ตัว พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วิหารสฺส อุปจาเร เป็นต้น ดังนี้ :- บริเวณ ชื่อว่า อุปจารแห่งวิหาร. โรงฉันที่เขาสร้างไว้ในบริเวณชื่อว่า อุปัฏ สองบทว่า วิหารสฺส อุปจาเร ได้แก่ ในโอกาสภายนอกใกล้วิหารนั้น. บทว่า อุปฏฺฐานสาลายํ วา ได้แก่ ในโรงฉันก็ดี. บทว่า มณฺฑเป วา ได้แก่ ในมณฑปเป็นที่ประชุมแห่งคนมากซึ่งไม่ได้บังหรือแม้บังก็ดี. ในโคนไม้ไม่มีคำที่จะพึงกล่าว. สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ก็เพราะเมื่อภิกษุปูลาดที่นอน ๑๐ อย่าง มีประการดังที่กล่าวแล้วในภายในห้อง เป็นต้น และในที่คุ้มกันได้ แล้วไปเสีย, ที่นอนก็ดี เสนาสนะก็ดี ย่อมเสียหายเพราะปลวกเป็นต้น จะกลายเป็นจอมปลวกไปทีเดียว ฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นปาจิตตีย์. แต่สำหรับภิกษุผู้ปูไว้ในที่มีอุปัฏฐานศาลาเป็นต้น ในภายนอกแล้วไป เพียงแต่ที่นอนเท่านั้นเสียหายไป เพราะสถานที่คุ้มกันไม่ได้, เสนาสนะไม่เสียหาย. เพราะฉะนั้น ท่านจึงปรับเป็นทุกกฏในอุปัฏ วินิจฉัยในคำว่า มญฺจํ วา ปีฐํ วา เป็นต้นนี้ พึงทราบดังนี้ :- ก็เพราะตัวปลวกทั้งหลายไม่อาจเพื่อจะกัดเตียงและตั่งทันที; ฉะนั้นภิกษุวางเตียงตั่งนั้นไว้แม้ในวิหารแล้วไป ท่านก็ปรับเป็นทุกกฏ. ส่วนในอุปจารแห่งวิหาร พวกภิกษุแม้เมื่อเที่ยวตรวจดูวิหาร เห็นเตียงและตั่งนั้นแล้วจักเก็บ. วินิจฉัยในคำว่า อุทฺธริตฺวา คจฺฉติ นี้ พึงทราบดังนี้ :- ภิกษุ เมื่อจะเก็บเองแล้วไป พึงรื้อเอาเครื่องถักร้อยเตียงและตั่งออกหมดแล้ว ม้วนแขวนไว้ที่ราวจีวรแล้วจึงไป. ถึงภิกษุผู้มาอยู่ภายหลัง ถักเตียงและตั่งใหม่ เมื่อจะไป ก็พึงกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ภิกษุผู้ปูที่นอนจากภายในฝาไปถึง ภายนอกฝาแล้วอยู่ ในเวลาจะไป พึงเก็บไว้ในที่ที่ตนถือเอามาแล้วๆ นั่นเทียว. แม้ภิกษุผู้ยกลงมาจากชั้นบนแห่งปราสาทแล้วอยู่ภายใต้ปราสาท ก็นัยนี้นั่นแล. แม้ภิกษุจะตั้งเตียงและตั่งไว้ในที่พักกลางวัน และที่พักกลางคืนแล้ว ในเวลาจะไปพึงเก็บไว้ตามเดิม ในที่ซึ่งตนถือเอามานั่นแล. [ว่าด้วยสถานที่ต้องบอกลาและไม่ต้องบอกลา] ศาลาใด เป็นศาลายาวก็ดี เป็นศาลาใบไม้ก็ดี อยู่บนพื้นดิน, หรือว่าเรือนที่เขาสร้างบนเสาไม้ทั้งหลายหลังใด เป็นที่ปลวกขึ้นได้ก่อน, ภิกษุเมื่อจะหลีกไปจากศาลายาวเป็นต้นนั้น พึงบอกลาก่อนแล้วจึงหลีกไป. เพราะว่า เมื่อสถานที่นั้นไม่มีใครปฏิบัติเพียง ๒-๓ วัน ตัวปลวกทั้งหลายย่อมตั้งขึ้น. ส่วนเสนาสนะใด เป็นเสนาสนะที่เขาสร้างไว้บนหินดาด หรือบนเสาหินก็ดี ถํ้าที่ภูเขาหินก็ดี เสนาสนะที่ฉาบโบกปูนขาวก็ดี ในเสนาสนะใดไม่มีความสงสัยในเรื่องปลวก (จะ ฝ่ายภิกษุอาคันตุกะใดประพฤติตามภิกษุผู้ถือเสนาสนะของสงฆ์อยู่ ไม่ถือเสนา แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า ถ้าภิกษุ ๒-๓ รูป ร่วมกันจัดตั้ง, ในเวลาจะไปควรบอกลาทุกรูป. ถ้าบรรดาภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่งไปก่อน ทำความผูกใจว่า รูปหลัง จักปฏิบัติ แล้วไป ย่อมสมควร. ความพ้น (จากอาบัติ) ย่อมไม่มีแก่รูปหลัง เพราะความผูกใจ. ภิกษุมากรูปส่งภิกษุรูปหนึ่งให้ไปปู. ในเวลาจะไป ภิกษุทั้งหมดจึงบอกลา, หรือพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปบอกลา. ภิกษุนำเอาเตียงและตั่งเป็นต้นมาจากที่อื่น แม้อยู่ในที่อื่น ในเวลาจะไป พึงนำไปไว้ในที่เดิมนั้นนั่นแหละ. ถ้าเมื่อภิกษุนำมาจากที่อื่นแล้วใช้อยู่, ภิกษุอื่นผู้แก่กว่ามา อย่าพึงห้ามท่าน พึงเรียนว่า ท่านขอรับ! เตียงตั่ง กระผมนำมาจากอาวาสอื่น ท่านพึงทำให้เป็นปกติเดิม. เมื่อภิกษุผู้แก่กว่านั้นรับรองว่า เราจักทำอย่างนั้น ดังนี้ ภิกษุนอกนี้จะไป ก็ควร. จริงอยู่ เมื่อภิกษุแม้นำไปในที่อื่นอย่างนี้ ใช้สอยอย่างใช้สอยเป็นของสงฆ์ เตียงและตั่งนั้น จะเสียหายไปก็ตาม เก่าชำรุดไปก็ตาม ถูกพวกโจรลักไปก็ตาม ไม่เป็นสินใช้, แต่เมื่อภิกษุใช้สอยอย่างใช้สอยเป็นของบุคคล ย่อมเป็นสินใช้. อนึ่ง ภิกษุใช้สอยเตียงตั่งของผู้อื่น อย่างใช้สอยเป็นของสงฆ์ก็ตาม อย่างใช้สอยเป็นของส่วนบุคคลก็ตาม เตียงตั่งเสียหายไป เป็นสินใช้เหมือนกัน. ข้อว่า เกนจิ ปลิพุทฺธํ โหติ มีความว่า เสนาสนะมีเหตุบางอย่าง บรรดาเหตุมีภิกษุผู้แก่กว่า อิสรชน ยักษ์ สีหะ เนื้อร้ายและงูเห่าเป็นต้น ขัดขวาง. ในคำว่า สาเปกฺโข คนฺตฺวา ตตฺถ ฐิโต อาปุจฺฉติ เกนจิ ปลิพุทฺโธ โหติ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุยังมีห่วงใยอย่างนี้ว่า เราจักมาปฏิบัติในวันนี้นั่นแหละ ไปยังฝั่งแม่น้ำ หรือละแวกบ้านแล้ว ยืนอยู่ในที่ที่เธอเกิดความคิดที่จะไปนั้นนั่นเอง ส่งใครๆ ไปบอกลา, หรือมีเหตุบางอย่าง บรรดาเหตุมีแม่น้ำเต็มฝั่ง พระราชาและโจรเป็นต้น ขัดขวาง. ภิกษุถูกอันตรายขัดขวาง ไม่อาจจะกลับมาได้, ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุนั้น. บทที่เหลือพร้อมทั้งสมุฏฐานเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในปฐมสิกขาบทนั่นแล. ทุติยเสนาสนสิกขาบทที่ ๕ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๕ จบ. |