บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ภิกขุนีอุปสสยสิกขาบทที่ ๓ #- บาลี เป็นโอวาทวรรค วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้ :- ในคำเป็นต้นว่า อญฺญตฺรสมยา โอวทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้กล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ เท่านั้น, กล่าวสอนด้วยธรรมอื่นเป็นทุกกฏ. สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ได้แก่ ภิกษุณีผู้อุปสมบทในภิกษุณีสงฆ์. แต่เป็นปาจิตตีย์แท้ แก่ภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณีผู้อุปสมบทในภิกษุสงฆ์. อนึ่ง เบื้องหน้าแต่นี้ไปในที่ทุกๆ แห่งที่ท่านกล่าวคำว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ไว้ บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล. ข้อเบ็ดเตล็ดในสิกขาบทที่ ๓ ถ้าว่า ภิกษุผู้มิได้รับสมมติ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว เข้าไปสู่สำนักภิกษุณี กล่าวสอนด้วยครุธรรม ๘ เป็นปาจิตตีย์ ๓ ตัว. เมื่อสอนด้วยธรรมอื่น เป็นทุกกฏ ๒ ตัว, เป็นปาจิตตีย์ ๑ ตัว. คือ อย่างไร? คือว่า ทุกกฏ มีการไม่ได้รับสมมติเป็นมูล ๑, ทุกกฏ มีการไปสู่สำนักภิกษุณีแล้ว กล่าวสอนด้วยธรรมอื่นเป็นมูล ๑, ปาจิตตีย์ มีการกล่าวสอนเมื่อพระอาทิตย์อัสดง คือ อย่างไร? คือว่า เป็นอนาบัติ เพราะเป็นผู้ได้รับสมมติ, เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว คือ ปาจิตตีย์ มีการกล่าวสอนเมื่อพระอาทิตย์อัสดง คือ อย่างไร? คือว่า เป็นอนาบัติ เพราะได้รับสมมติ, เป็นทุกกฏ มีการไปกล่าว ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ โอวาทวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๓ จบ. |