บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
[แก้อรรถกถาปฐมบัญญัติ เรื่องพระเทวทัต] คืออย่างไร? คือ เพราะว่า เมื่อเกิดพูดกันขึ้นว่า พระเทวทัตปล่อยช้างไป (เพื่อ ในลำดับนั้น ชาวเมืองก็ลุกฮือขึ้น พูดว่า ไฉนหนอ! พระราชาจึงเที่ยวสมคบโจรผู้เป็นเสี้ยนหนามต่อพระศาสนาเห็นปานนี้เล่า? พระราชาทรงทราบความกำเริบของชาวเมือง จึงทรงขับไสไล่ส่งพระเทวทัตไปเสีย และตั้งแต่นั้นมาก็ทรงตัดสำรับ ๕๐๐ สำรับแห่งพระเทวทัตนั้นเสีย. แม้ที่บำรุงพระเทวทัตนั้น ก็มิได้เสด็จไป, ถึงชาวบ้านพวกอื่นก็ไม่สำคัญของอะไรๆ ที่จะพึงถวาย หรือพึงทำแก่พระเทวทัตนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า มีลาภและสักการะเสื่อมสิ้นแล้ว. ข้อว่า กุเลสุ วิญฺญาเปตฺวา วิญฺญาปตฺวา ภุญฺชติ มีความว่า พระเทวทัตนั้นดำริว่า คณะของเราอย่าได้แตกกันเลย เมื่อจะเลี้ยงบริษัท จึงได้พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหารฉันอยู่ในตระกูลทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านจงถวายภัตแก่ภิกษุ ๑ รูป ท่านจงถวายแก่ภิกษุ ๒ รูป ดังนี้. คำว่า จีวรํ ปริตฺตํ อุปฺปชฺชติ มีความว่า ชาวบ้านทั้งหลายไม่ถวายจีวรแก่ภิกษุผู้ไม่รับภัตตาหาร เพราะเหตุนั้น จีวรจึงเกิดขึ้นเล็กน้อย. ข้อว่า จีวรการเก ภิกฺขู ภตฺเตน นิมนฺเตนฺติ มีความว่า พวกชาวบ้านเห็นภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้าน แล้วทำจีวรให้เสร็จช้า จึงนิมนต์ด้วยความประสงค์บุญว่า ภิกษุทั้งหลายจักยังจีวรให้เสร็จแล้วใช้สอยด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า นานาเวรชฺชเก ได้แก่ ผู้มาจากรัฐต่างๆ คือ จากราชอาณาจักรอื่น. ปาฐะว่า นานาเวรญฺชเก ก็มี. เนื้อความก็อย่างนี้เหมือนกัน. [อรรถาธิบายว่าด้วยการฉันเป็นคณะ] พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงกำหนดด้วยคำนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า ยตฺถ จตฺตาโร ภิกฺขู ฯปฯ เอตํ คณโภชนํ นาม ดังนี้. ก็คณโภชนะนี้นั้น ย่อมเป็นไปโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยการนิมนต์อย่าง ๑ โดยวิญญัติอย่าง ๑. ย่อมเป็นไปโดยการนิมนต์อย่างไร? คือทายกเข้าไปหาภิกษุ ๔ รูป แล้วนิมนต์ระบุชื่อโภชนะทั้ง ๕ โดยไวพจน์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือโดยภาษาอื่น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ! ผมนิมนต์ท่านด้วยข้าวสุก, ขอท่านจงถือเอาข้าวสุกของผม, จงหวัง จงตรวจดู จงต้อนรับ ซึ่งข้าวสุกของผม ดังนี้. ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์รวมกันอย่างนี้ ไปพร้อมกันเพื่อฉันในวันนี้ หรือเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ด้วยอำนาจแห่งเวลาที่เขากำหนดไว้รับรวมกัน ฉันรวมกัน จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด. ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์รวมกัน ต่างคนต่างฉัน ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน. จริงอยู่ การรับประเคนนั่นแหละเป็นประมาณในสิกขาบทนี้. ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์รวมกัน จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกันก็ตาม, รับประเคนต่างกัน จะฉันรวมกัน หรือฉันต่างกันก็ตาม ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทั้งหลายไปยังบริเวณ หรือวิหาร ๔ แห่ง รับนิมนต์ต่างกันหรือบรรดาภิกษุผู้ยืนอยู่ในที่แห่งเดียวกันนั่นแหละ รับนิมนต์ต่างกัน แม้อย่างนี้ คือ ลูกชายนิมนต์ ๑ รูป บิดานิมนต์ ๑ รูป จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกันก็ตาม, จะฉันพร้อมกัน หรือฉันต่างกันก็ตาม ถ้ารับประเคนรวมกัน จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด. ย่อมเป็นไปโดยการนิมนต์อย่างนี้ก่อน. ย่อมเป็นไปโดยวิญญัติอย่างไร? คือ ภิกษุ ๔ รูปยืนหรือนั่งอยู่ด้วยกัน เห็นอุบาสกแล้วออกปากขอว่า ท่านจงถวายภัตตาหารแก่พวกเรา ทั้ง ๔ รูป ดังนี้ก็ดี ต่างคนต่างเห็นแล้วออกปากขอรวมกัน หรือขอต่างกันอย่างนี้ว่า ท่านจงถวายแก่เรา, ท่านจงถวายแก่เรา ดังนี้ก็ดี จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกันก็ตาม, แม้รับประเคนภัตแล้ว จะฉันร่วมกันหรือฉันต่างกันก็ตาม, ถ้ารับประเคนรวมกัน, จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด. ย่อมเป็นไปโดยวิญญัติอย่างนี้. [ว่าด้วยสมัยที่ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้] สองบทว่า จีวเร กริยมาเน มีความว่า ในคราวที่พวกภิกษุได้ผ้าและ ส่วนในกุรุนทีท่านกล่าวไว้โดยพิสดารทีเดียวว่า ภิกษุใดกะจีวร ตัดจีวร ด้นด้ายเนา ทาบผ้าเพาะ เย็บล้มตะเข็บ ติดผ้าดาม ตัดอนุวาต ฟั่นด้าย เย็บสอยตะเข็บในจีวรนั้น กรอด้าย ม้วนด้าย (ควบด้าย) ลับมีดเล็ก ทำเครื่องปั่นด้าย, ภิกษุแม้ทั้งหมดนี้ ท่านเรียกว่า ทำจีวรทั้งนั้น, แต่ภิกษุใดนั่งใกล้ๆ กล่าวชาดกก็ดี ธรรมบทก็ดี ภิกษุนี้ไม่ใช่ผู้ทำจีวร, ยกเว้นภิกษุนี้เสีย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุที่เหลือ เพราะคณโภชนะ. บทว่า อฑฺฒโยชนํ ได้แก่ ผู้ประสงค์จะเดินทางไกลแม้ประมาณเท่านี้. ก็ภิกษุใดประสงค์จะเดินทางไกล, ในภิกษุนั้น ไม่มีถ้อยคำที่จะต้องกล่าวเลย. บทว่า คจฺฉนฺเตน มีความว่า ภิกษุผู้เดินทางไกล จะฉันแม้ในที่คาวุตหนึ่งภายในกึ่งโยชน์ ก็ควร. สองบทว่า คเตนภุญฺชิตพฺพํ คือ ผู้ไปแล้วพึงฉันได้วันหนึ่ง. แม้ในเวลา ส่วนความแปลกกันดังต่อไปนี้ :- ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ภิกษุผู้โดยสารเรือไป แม้ถึงที่อันตนปรารถนาแล้ว พึงฉันได้ตลอดเวลาที่ตนยังไม่ขึ้น (จากเรือ). กำหนดว่า จตุตฺเถ อาคเต นี้ เป็นกำหนดอย่างต่ำที่สุด. แม้เมื่อภิกษุรูปที่ ๔ มา ภิกษุทั้งหลายไม่พอเลี้ยงกันในสมัยใด, สมัยนั้น จัดเป็นคราวประชุมใหญ่ได้. ก็ในคราวที่ภิกษุประชุมกันตั้ง ๑๐๐ รูป หรือ ๑,๐๐๐ รูป ไม่มีคำที่จะต้องกล่าวเลย, เพราะฉะนั้น ในกาลเช่นนั้น ภิกษุพึงอธิษฐานว่า เป็นคราวประชุมใหญ่ แล้วฉันเถิด. คำว่า โย โกจิ ปริพฺพาชกสมาปนฺโน ได้แก่ บรรดาพวกสหธรรมิกก็ดี พวกเดียรถีย์ก็ดี นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง, ก็เมื่อนักบวชมีสหธรรมิกเป็นต้นเหล่านี้ รูปใดรูปหนึ่งทำภัตตาหารแล้ว ภิกษุพึงอธิษฐานว่า เป็นคราวภัตของสมณะ แล้วฉันเถิด. สองบทว่า อนาปตฺติ สมเย ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติในสมัยทั้ง ๗ สมัยใดสมัยหนึ่ง. คำว่า เทฺว ตโย เอกโต มีความว่า แม้ภิกษุเหล่าใดยินดีการนิมนต์ที่ไม่สมควร รับรวมกัน ๒ รูป หรือ ๓ รูป แล้วฉัน, ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุพวกนั้น. [ว่าด้วยจตุตถะ ๕ หมวดมีอนิมันติตจตุตถะเป็นต้น] คืออย่างไร? คือ คนบางคนในโลกนี้ นิมนต์ภิกษุ ๔ รูปว่า นิมนต์ท่านรับภัต (ข้าวสวย). ในภิกษุ ๔ รูปนั้น ไป ๓ รูป, ไม่ไป ๑ รูป อุบาสกถามว่า ท่านขอรับ! พระเถระรูปหนึ่งไปไหน? ภิกษุตอบว่า ไม่มา อุบาสก! อุบาสกนั้นนิมนต์ภิกษุอื่นบางรูป ซึ่งมาถึงเข้าในขณะนั้น ให้เข้านั่งร่วมว่า นิมนต์ท่านมาเถิด ขอรับ! แล้วถวายภัตแก่ภิกษุทั้ง ๔ รูป. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุแม้ทั้งหมด. เพราะเหตุไร? เพราะภิกษุคณปูรกะ (รูปที่ครบคณะ) เขาไม่ได้นิมนต์. จริงอยู่ ในภิกษุ ๔ รูปนั้น ภิกษุ ๓ รูปเท่านั้นเขานิมนต์ ได้รับประเคนแล้ว, คณะยังไม่ครบด้วยภิกษุ ๓ รูปนั้น, และรูปที่ครบคณะ เขาไม่ได้นิมนต์, คณะจึงแยกเพราะภิกษุนั้น, ภิกขุจตุตถะดังว่ามานี้ ชื่อว่าอนิมันติตจตุตถะ. พึงทราบวินิจฉัยในปิณฑปาติกจตุตถะ :- ในเวลานิมนต์ มีภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง, เธอจึงไม่รับ. แต่ในเวลาจะไป เมื่อพวกภิกษุรับนิมนต์กล่าวว่า นิมนต์ท่านมาเถิด ขอรับ! แล้วพาเอาภิกษุนั้นแม้ผู้ไม่ไป เพราะไม่ได้รับนิมนต์ ไปด้วยกล่าวว่า มาเถิด ท่านจักได้ภิกษา. ภิกษุนั้นทำคณะนั้นให้แยกกัน. เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด. พึงทราบวินิจฉัยในอนุปสัมปันนจตุตถะ :- พวกภิกษุรับนิมนต์พร้อมกับสามเณร. แม้สามเณรนั้นก็ทำคณะให้แยกกันได้. พึงทราบวินิจฉัยในปัตตจตุตถะ :- ภิกษุรูปหนึ่งไม่ไปเอง ส่งบาตรไป. แม้ด้วยอาการอย่างนี้ คณะก็แยก. เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทุกรูป. พึงทราบวินิจฉัยในคิลานจตุตถะ :- พวกภิกษุรับนิมนต์รวมกับภิกษุอาพาธ. ในภิกษุ ๔ รูปนั้น ภิกษุอาพาธเท่านั้นไม่เป็นอาบัติ แต่เธอเป็นคณปูรกะของภิกษุนอกนี้ได้, คณะจึงไม่แยกเพราะภิกษุอาพาธเลย. เพราะฉะนั้น จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุเหล่านั้นแท้. แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ โดยไม่แปลกกันว่า ภิกษุอาพาธได้สมัย (คราวอาพาธ) จึงพ้นไปได้ด้วยตนเองเท่านั้น, ทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุที่เหลือ เพราะเป็นคณปูรกะ. เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบจตุกกะด้วยอำนาจแม้แห่งภิกษุผู้ได้จีวรทานสมัยเป็นต้น. ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งในภิกษุ ๔ รูป แม้ผู้รับนิมนต์แล้วไป กล่าวว่า ผมจักแยกคณะของพวกท่าน, ขอพวกท่านจงรับการนิมนต์ เมื่อพวก ชาวบ้านจะรับบาตรเพื่อประโยชน์แก่ภัต ในที่สุดแห่งยาคูและของควรเคี้ยว ไม่ให้ ( บาตร ) กล่าวว่า พวกท่านให้ภิกษุเหล่านี้ฉัน แล้วส่งกลับไปก่อน, อาตมาทำอนุโมทนาแล้วจักไปตามหลัง แล้วนั่งอยู่, ครั้นภิกษุเหล่านั้นฉันเสร็จ แล้วไป, เมื่ออุบาสกกล่าวว่า โปรดให้บาตรเถิด ขอรับ! แล้วรับบาตรไป ถวายภัตฉันเสร็จทำอนุโมทนาแล้วจึงไป, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทุกรูป. จริงอยู่ ความผิดสังเกตในคณโภชนะ ย่อมไม่มีด้วยอำนาจแห่งโภชนะ ๕ อย่างเลย. พวกภิกษุรับนิมนต์ด้วยข้าวสุก แม้รับขนมกุมมาส ก็ต้องอาบัติ และโภชนะเหล่านั้นภิกษุเหล่านั้นไม่ได้รับรวมกัน. แต่มีความผิดสังเกตด้วย อาหารวัตถุมียาคูเป็นต้น. ยาคูเป็นต้นเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นรับรวมกันได้แล. ภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่ง ย่อมทำไม่ให้เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุเหล่าอื่น ด้วยประการอย่างนี้. [ว่าด้วยวิธีนิมนต์พระรับภิกษา] คืออย่างไร? คือ พระภัตตุทเทสก์พึงกล่าวอย่างนี้ก่อนว่า พรุ่งนี้ไม่อาจ (รับ) อุบาสก! เมื่ออุบาสกกล่าวว่า มะรืนนี้ ขอรับ! พึงกล่าวว่า มะรืนนี้ก็ไม่อาจ (รับได้) อุบาสกเลื่อนไปอย่างนี้ แม้จนถึงกึ่งเดือน พระภัตตุทเทสก์พึงพูดอีกว่า ท่านพูดอะไร? ถ้าแม้นอุบาสกพูดย้ำอีกว่า นิมนต์ท่านรับสังฆภัต, ลำดับนั้น พระภัตตุทเทสก์พึงทำไขว้เขวไปอย่างนี้ว่า อุบาสก! จงทำดอกไม้นี้ จงทำหญ้านี้ ให้เป็นกัปปิยะก่อน แล้วย้อนถามอีกว่า ท่านพูดอะไร? ถ้าแม้นเขายังพูดซ้ำแม้อย่างนั้นนั่นแหละ, พึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ! ท่านจักไม่ได้พระมหาเถระ ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร, ท่านจักได้พวกสามเณร. และเมื่อเขาถามว่า ท่านขอรับ! พวกคนในบ้านโน้นและบ้านโน้น นิมนต์ให้พระคุณเจ้าผู้เจริญฉัน มิใช่หรือ? ผมจะไม่ได้ เพราะเหตุไร? พึงกล่าวว่า พวกเขารู้จักนิมนต์, (ส่วน) ท่านไม่รู้จักนิมนต์. เขาถามว่า ท่านขอรับ! พวกเขานิมนต์อย่างไร? พึงกล่าวว่า พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า นิมนต์รับภิกษาของพวกกระผมขอรับ! ถ้าแม้นเขากล่าวเหมือนอย่างที่พูดนั้นแล, การนิมนต์นั้นสมควร. ถ้าเขายังกล่าวซ้ำอีกว่า นิมนต์รับภัต พึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ! คราวนี้ ท่านจักไม่ได้ภิกษุมาก, จักได้เพียง ๓ รูปเท่านั้น. ถ้าเขาถามว่า ท่านขอรับ! พวกชาวบ้านในบ้านโน้นและบ้านโน้น นิมนต์ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดให้ฉันมิใช่หรือ? ผมจะไม่ได้เพราะเหตุไรเล่า? พึงกล่าวว่า ท่านไม่รู้จักนิมนต์. ถ้าเขาถามว่า ท่านขอรับ! พวกเขานิมนต์อย่างไร พึงกล่าวว่า พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ! นิมนต์รับภิกษาของพวกกระผม. ถ้าแม้นเขากล่าวเหมือนอย่างที่พูดนั้นนั่นแหละ, การนิมนต์นั่นสมควร. ถ้าเขาพูดว่า ภัตรเท่านั้น แม้อีก. ทีนั้น พระภัตตุเทสก์พึงกล่าวว่า ไปเสียเถิดท่าน, พวกเราไม่มีความต้องการด้วยภัตของท่าน, บ้านนี้เป็นที่เที่ยวไปบิณฑบาตประจำของพวกเรา, พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนี้. เขากล่าวว่า นิมนต์ท่านเที่ยวไปยังบ้านนั้นเถิด ขอรับ! แล้วกลับมา ชาวบ้านถามว่า ผู้เจริญ! ท่านได้พระแล้วหรือ? เขาพูดว่า ในเรื่องนิมนต์นี้ มีคำจะต้องพูดมาก, จะมีประโยชน์อะไร ด้วยคำพูดที่จะพึงกล่าวให้มากนี้. พระเถระทั้งหลายพูดว่า พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตพรุ่งนี้, คราวนี้พวกท่านอย่าประมาท. ในวันรุ่งขึ้น พระสังฆเถระพึงบอกภิกษุทั้งหลายผู้ทำเจติยวัตรแล้ว ยืนอยู่ว่า คุณ! ที่บ้านใกล้มีสังฆภัต, แต่คนไม่ฉลาดได้ไปแล้ว, ไปเถิด พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑ แต่ถ้าเขาเตรียมทานไว้ที่โรงครัว แล้วเที่ยวไปยังบริเวณนั้นๆ เรียนว่า นิมนต์รับภัตที่โรงครัว ไม่สมควร. แต่พวกชาวบ้านใด พอเห็นพวกภิกษุผู้เข้าไปบิณฑบาต ก็ช่วยกันกวาดหอฉัน นิมนต์ให้นั่งฉัน ที่หอฉันนั้น. ไม่พึงปฏิเสธชนเหล่านั้น. แต่ชนเหล่าใด เห็นพวกภิกษุผู้ไม่ได้ภิกษาในบ้าน กำลังออกจากบ้านไป เรียนว่า นิมนต์รับภัตเถิด ขอรับ! ไม่พึงปฏิเสธคน เหล่านั้น. หรือว่า ไม่พึงกลับ ถ้าพวกเขาพูดว่า นิมนต์กลับเถิด ขอรับ! ขอนิมนต์รับภัต จะกลับไปในบทที่เขากล่าวว่า นิมนต์กลับเถิด ก็ได้. ชาวบ้านกล่าวว่า นิมนต์กลับเถิดขอรับ! ภัตในเรือนทำเสร็จแล้ว, ภัตในบ้านทำเสร็จแล้ว. จะกลับไปด้วยคิดว่า ภัตในเรือนและในบ้าน ย่อมมี เพื่อใครคนใดคนหนึ่งก็ได้ สมควรอยู่. เขากล่าวให้สัมพันธ์กันด้วยคำว่า นิมนต์กลับไปรับภัตเถิด ดังนี้ จะกลับไปไม่ควร. แม้ในคำที่ชาวบ้านเห็นพวกภิกษุผู้กำลังออกจากโรงฉันไปเพื่อเที่ยวบิณฑบาต แล้วกล่าวว่า นิมนต์นั่งเถิด ขอรับ! ขอนิมนต์รับภัต ดังนี้ ก็นัยนี้นั่นแล. ภัตประจำ เรียกว่า นิตยภัต. ชาวบ้านพูดว่า นิมนต์รับนิตยภัตจะรับร่วมกันมากรูป ก็ควร. แม้ในสลากภัตเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแล. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล. คณโภชนสิกขาบทที่ ๒ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ โภชนวรรคที่ ๔ สิกขาบทที่ ๒ จบ. |