บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องมารดาของนางกาณา] อธิบายว่า ชนพวกใดๆ เห็นนาง, ชนพวกนั้นๆ กลายเป็นคนบอด เพราะความกำหนัด คือเป็นผู้มืดเพราะราคะ. เพราะเหตุนั้น นางจึงได้เป็นผู้ปรากฏชื่อว่ากาณา เพราะกระทำชนเหล่านั้นให้เป็นผู้บอด. แม้มารดาของนางก็พลอยปรากฏชื่อว่ากาณมาตา ด้วยสามารถแห่งนาง. บทว่า อาคตํ คือ อาคมนํ แปลว่า การมา. บทว่า กิสฺมึ วิย แปลว่า ดูกระไรอยู่. อธิบายว่า ดูเป็นที่น่ากระดากอาย. สองบทว่า ริตฺตหตฺถํคนฺตุํ ได้แก่ ในการไปคราวนี้ มีมือทั้ง ๒ เปล่า (เพราะเหตุนั้น) การไปคราวนี้นั้น จึงชื่อว่า มีมือเปล่า. มีอธิบายว่า "การไปมือเปล่านั้น ดูทีเป็นการไปที่น่ากระดากอาย." สองบทว่า ปริกฺขยํ อคมาสิ มีความว่า อุบาสิกาผู้อริยสาวิกาเห็นภิกษุทั้งหลาย ในคำว่า ธมฺมิยา กถาย นี้ มีวินิจฉัยว่า แม้นางกาณาฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพื่อประโยชน์แก่มารดา ก็ได้เป็นโสดาบันในเวลาจบเทศนา. สองบทว่า อุฏฺฐายาสนา ปกฺกามิ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุฏฐาการจากอาสนะแล้วเสด็จไป. บุรุษแม้นั้นได้สดับว่า "ได้ยินว่า พระศาสดาได้เสด็จไปบ้าน แต่พอเมื่อเรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้บัญญัติสิกขาบทเลย เรื่องเสบียงทางก็ได้เกิดขึ้น. ก็เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงเรื่องนี้ติดต่อกันไปเลย พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวคำว่า เตน โข ปน สมเยน เป็นต้น. และอุบาสกแม้นั้นก็ได้สั่งให้ถวายของทั้งหมดเหมือนกัน เพราะตนเป็นอริยสาวก. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงได้กล่าวคำว่า ปริกฺขยํ อคมาสิ. สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ ปหิณกตฺถาย มีความว่า อาหารวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งมีขนมต้ม๑- และขนมคลุกน้ำอ้อยเป็นต้นที่มีรสดีเลิศอันเขาจัดเตรียมไว้ เพื่อต้องการเป็นของกำนัล ถึงการนับว่า "ขนม" ทั้งนั้นในสิกขาบทนี้. สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ ปาเถยฺยตฺถาย มีความว่า อาหารวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีสัตตุก้อน สัตตุผง งาและข้าวสารเป็นต้นทั้งหมด ที่พวกคนจะเดินจัดเตรียมไว้ เพื่อต้องการเป็นเสบียงในระหว่างทาง ถึงการนับว่า "สัตตุผง" ทั้งนั้น ในสิกขาบทนี้. สองบทว่า ตโต เจ อุตฺตรึ มีความว่า ถ้าภิกษุรับเอาบาตรที่ ๓ ให้พูนขึ้นมา (ให้เป็นยอดขึ้นมาดุจสถูป) เป็นปาจิตตีย์ ด้วยการนับขนม. สองบทว่า ทฺวิตฺติปตฺตปูเร ปฏิคฺคเหตฺวา ได้แก่ รับบาตรเต็มเสมอรอยข้างล่างขอบปากบาตร. ในคำว่า อมุตฺร มยา ทฺวิตฺติปตฺตปูรา นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าว่า ภิกษุรับเต็ม ๒ บาตรแล้ว พึงบอกว่า "ณ สถานที่โน้น ผมรับเต็ม ๒ บาตรแล้ว, ท่านพึงรับบาตรเดียว." แม้ภิกษุผู้มาทีหลังนั้น เห็นภิกษุอื่นแล้วก็พึงบอกว่า "ภิกษุผู้มาถึงก่อนรับเต็ม ๒ บาตรแล้ว, ผมรับเต็มบาตรหนึ่ง, ท่านอย่ารับ." แม้ในการที่ภิกษุผู้รับก่อนบาตรหนึ่งแล้ว บอกกันต่อๆ ไป ก็นัยนี้นั่นแล. ส่วนภิกษุผู้รับเอง ครบ ๓ บาตรแล้ว เห็นภิกษุอื่นพึงบอกว่า "ท่านอย่ารับเลยที่บ้านนี้" ดังนี้. สองบทว่า ปฏิกฺกมนํ นีหริตฺวา คือ นำไปสู่โรงฉัน, ก็ภิกษุผู้จะไปยังโรงฉัน อย่าไถลไปศาลาร้าง. พึงไปในสถานที่ที่ภิกษุสงฆ์จำนวนมากนั่งอยู่. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า "โรงฉันใดที่อยู่ใกล้กับสถานที่ตนได้บิณฑบาตมา พึงไปที่โรงฉันนั้น, จะไปในโรงฉันอื่นด้วยประสงค์ว่า 'เราจะถวายแก่ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยพบกัน หรือผู้ร่วมนิกายเดียวกันของตน' ย่อมไม่ได้, แต่ถ้าว่า โรงฉันนั้นเป็นสถานที่เธอนั่งเป็นประจำ แม้ไกลก็ควรไป" บทว่า สํวิภชิตพฺพํ มีความว่า ถ้าภิกษุรับเต็มบาตรแล้ว พึงเหลือไว้เพื่อตนเองบาตรหนึ่ง แล้วถวายเต็ม ๒ บาตรแก่ภิกษุสงฆ์. ถ้ารับ ๒ บาตรพึงเหลือไว้เพื่อตนบาตรหนึ่ง แล้วถวายบาตรหนึ่งแก่สงฆ์. แต่ย่อมไม่ได้เพื่อจะให้ตามมิตรสหาย. ภิกษุผู้รับบาตรเดียวไม่ประสงค์จะให้อะไร ก็ไม่พึงให้ คือพึงทำตามชอบใจ. สองบทว่า คมเน ปฏิปฺปสฺสทฺเธ มีความว่า เมื่อเขาระงับ คือตัดการไปเสียอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราจักไม่ส่งไปละ หรือว่าเราจักไม่ไปละ ดังนี้ เพราะเห็นอันตรายในระหว่างทาง หรือเพราะไม่มีความต้องการ. สองบทว่า ญาตกานํ ปวาริตานํ ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับของพวกญาติ และคนปวารณาเหล่านั่นผู้ถวายแม้มาก. แต่ในอรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า ควรจะรับแต่พอประมาณ จากของที่พวกญาติและคนปวารณา แม้เหล่านั้นจัดเตรียมไว้ เพื่อต้องการขนเสบียงทาง และเป็นของกำนัล. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล. ____________________________ ๑- ชาวอินเดียเรียกว่าขนมโมทกะนี้ว่า "ลัฑฑู" นัยว่า ทำจากแป้ง แล้วทอดด้วยน้ำมันพืช คือทำเป็นก้อนกลมๆ ข้างในใส่น้ำอ้อยหรือน้ำตาลเหมือนขนมต้มของไทยเรา. -ผู้ชำระ. กาณมาตาสิกขาบทที่ ๔ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ โภชนวรรคที่ ๔ สิกขาบทที่ ๔ จบ. |