![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() [แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุ ๒ รูป] บทว่า อุปนทฺธิ มีความว่า เมื่อให้ความผูกโกรธเกิดขึ้น ชื่อว่าได้ผูกความโกรธของตนไว้ในบุคคลผู้นั้น. อธิบายว่า ให้ความอาฆาตเกิดขึ้นบ่อยๆ. สองบทว่า อุปนทฺโธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เกิดมีความผูกโกรธนั้น. สองบทว่า อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺย มีความว่า พึงนำไปปวารณาอย่างนี้ นิมนต์เถิดภิกษุ เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม. แต่ในบทภาชนะพระอุบาลีเถระไม่ทรงยกคำว่า หนฺท ภิกฺขุ เป็นต้นขึ้น เพื่อแสดงอรรถแห่งการนำไปปวารณาที่ทั่วไปอย่างเดียว จึงได้กล่าวว่า นิมนต์รับของเท่าที่ท่านต้องการ. บทว่า ชานํ คือ รู้อยู่ว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ห้ามภัตแล้ว. ก็เพราะการรู้นั้นของภิกษุนั้น ย่อมมีโดยอาการ ๓ อย่าง ฉะนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าวบทภาชนะโดยนัยเป็นต้นว่า ชานาติ นาม สามํ วา ชานาติ ดังนี้. บทว่า อาสาทนาเปกฺโข ได้แก่ เพ่งการรุกราน คือการโจทท้วง ได้แก่ภาวะที่ทำให้เป็นผู้อัปยศ. คำว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เมื่อภิกษุผู้ที่ตนน้อมถวายภัตรับเอา เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้น้อมถวาย. ส่วนความต่างแห่งอาบัติทุกอย่างของภิกษุผู้รับนอกนี้ กล่าวไว้แล้วในปฐมสิกขาบท แต่ในสิกขาบทนี้ พระวินัยธรพึงปรับอาบัติทั้งหมดแก่ภิกษุผู้น้อมถวายภัตเท่านั้น. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล. ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ ๖ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ โภชนวรรคที่ ๔ สิกขาบทที่ ๖ จบ. |