![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() [แก้อรรถบางปาฐะปฐมบัญญัติและอนุบัญญัติ] ได้ยินว่า ภัตนั้นเป็นของที่พวกชาวบ้านน้อมนำมาแล้ว เพราะเหตุนั้น พวกภิกษุจึงได้กล่าวอย่างนั้น. แต่ในภัตตาหารที่พวกชาวบ้านมิได้น้อมนำมา ภิกษุย่อมไม่ได้เพื่อที่จะกล่าวอย่างนั้น (กล่าวว่า ให้ภัตตาหารเถิด อาวุโส) เป็นปยุตตวาจา (การออกปากขอของ). ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงรับประเคนแล้วเก็บไว้ ดังนี้ เพื่อต้องการรักษาศรัทธาของตระกูล. ก็ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสว่า พวกเธอแบ่งกันฉันเถิด, พวกชาวบ้านจะพึงคลายความเลื่อมใส. บทว่า อุสฺสาทยิตฺถ แปลว่า ได้ถูกนำกลับคืนไป. มีคำอธิบายว่า พวกชาวบ้านได้นำขาทนียะนั้นกลับไปยังเรือนอย่างเดิม. ในคำว่า สนฺตํภีกฺขุ ํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุชื่อว่ามีอยู่ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร? ชื่อว่าไม่มี ด้วยเหตุมีประมาณเท่า จริงอยู่ ภิกษุที่ตนต้องเที่ยวหาบอกลาอย่างนี้ ชื่อว่าไม่มีนั่นเอง. อีกนัยหนึ่ง ภิกษุไปด้วยทำในใจว่า เราพบภิกษุภายในอุปจารสีมาแล้วจักบอกลา พึงบอกลาภิกษุที่ตนเห็นภายในอุป บทว่า อนฺตรารามํ ได้แก่ ไปสู่วิหารที่มีอยู่ในภายในบ้าน. บทว่า ภตฺติยฆรํ ได้แก่ เรือนที่เขานิมนต์ หรือเรือนของพวกชาวบ้านผู้ถวายสลากภัตเป็นต้น. บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อมีอันตรายแห่งชีวิตและพรหมจรรย์จะไปก็ควร. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล. จาริตสิกขาบทที่ ๖ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ อเจลกวรรคที่ ๕ สิกขาบทที่ ๖ จบ. |