![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() [แก้อรรถบางปาฐะเกี่ยวกับการจุดไฟผิง] คำว่า สุงสุมารคีระ เป็นชื่อของเมือง. คำว่า เภสกลาวัน เป็นชื่อแห่งป่าที่อาศัยเมืองนั้น (วนอุทยานที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองนั้น). ก็ป่านั้นเรียกว่า มฤคทายะ เพราะเป็นที่พระราชทานอภัยแก่พวกเนื้อ เพื่อต้องการให้อยู่สบาย. บทว่า สมาทหิตฺวา คือ ให้ลุกโพลงขึ้น. บทว่า ปริปาเตสิ คือ ไล่ติดตามไป. ในคำว่า สยํ สมาทหติ นี้ มีวินิจฉัยว่า เริ่มแต่จุดไม้สีไฟด้วยความประสงค์จะก่อไฟไป จนกระทั่งถึงเปลวไฟยังไม่ลุกขึ้น เป็นทุกกฏ ทุกๆ ประโยค. บทว่า ปทีเปปิ คือ ในการตามประทีปก็ดี. บทว่า โชติเกปิ ได้แก่ การก่อไฟในกิจมีการระบมบาตรและอบตัวเป็นต้นก็ดี. บทว่า ตถารูปปจฺจยา คือ มีการตามประทีปเป็นต้นเป็นปัจจัย. สองบทว่า ปฏิลาตํ อุกฺขิปติ มีความว่า ภิกษุยกดุ้นฟืนที่กำลังติดไฟ ซึ่งตกลงไปขึ้นมา. อธิบายว่า ยกวางไว้ในที่เดิมอีก เมื่อภิกษุหยิบดุ้นฟืนที่ไฟยังไม่ดับอย่างนี้ ใส่ลงไปเท่านั้น เป็นทุกกฏ แต่เป็นปาจิตตีย์แท้แก่ภิกษุผู้ก่อไฟฟืนที่ไฟดับแล้วให้ลุกอีก. บทว่า ตถารูปปจฺจยา ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ติดไฟ เพราะปัจจัยเห็นปานนั้นแม้อย่างอื่น เว้นการตามประทีปเป็นต้นเสีย. บทว่า อาปทาสุ มีความว่า มีอันตรายเพราะถูกงูกัด ถูกโจรล้อมเนื้อร้ายและอมนุษย์ขัดขวาง, ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุผู้ติดไฟในเพราะอุปัทวะนั้น. แก้อรรถว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อในธรรมบทที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัต โชติสมาทหนสิกขาบทที่ ๖ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ สุราปานวรรคที่ ๖ สิกขาบทที่ ๖ จบ. |