![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า อนฺวฑฺฒมาสํ ได้แก่ ตามลำดับ คือทุกๆ กึ่งเดือน. ก็เพราะปาฏิโมกข์นั้นอันภิกษุย่อมสวดในวันอุโบสถ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในบทภาชนะว่า ทุกวันอุโบสถ. บทว่า อุทฺทิสฺสมาเน คือ เมื่อปาฏิโมกข์กำลังสวดอยู่. ก็เพราะปาฏิโมกข์นั้นอันภิกษุผู้สวดปาฏิโมกข์ซึ่งกำลังยกขึ้นแสดง ชื่อว่ากำลังสวดอยู่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในบทภาชนะว่า เมื่อภิกษุกำลังยกปาฏิโมกข์ขึ้นแสดงอยู่. คำว่า ยญฺจ ตตฺถ อาปตฺตึ อาปนฺโน ได้แก่ ภิกษุผู้ต้องอาบัติใดในอนาจารที่ตนประพฤติแล้วนั้น. สองบทว่า ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ ได้แก่ เพราะเป็นผู้ต้องอาบัติด้วยไม่รู้ เธอจึงไม่มีความพ้นจากอาบัติ. ก็แล สงฆ์พึงปรับเธอตามธรรมและวินัยที่วางไว้. อธิบายว่า เธอต้องอาบัติเทศนาคามินี สงฆ์พึงให้แสดงและต้องอาบัติวุฏฐานคามินี พึงให้ประพฤติวุฏฐานวิธี. บทว่า สาธุกํ แปลว่า โดยดี. บทว่า อฏฺฐิกตฺวา แปลว่า กระทำให้มีประโยชน์. มีคำอธิบายว่า เป็นธรรมประกอบด้วยประโยชน์. ในคำว่า ธมฺมกมฺเม เป็นต้น ท่านประสงค์เอาโมหาโรปนกรรม. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กาย โมหนสิกขาบทที่ ๓ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ สหธรรมิกวรรคที่ ๘ สิกขาบทที่ ๓ จบ. |