บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
พรรณนาฉัพพัสสสิกขาบท สองบทว่า อูทหนฺติปิ อุมฺมิหนฺติปิ มีรูปความที่ท่านกล่าวไว้ว่า พวกเด็กๆ ถ่ายอุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง เบื้องบนสันถัตทั้งหลาย. พระปุสสเทวเถระกล่าวว่า ภิกษุผู้ได้รับสมมติอย่างนี้ว่า สันถัตสมมติสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ ย่อมได้เพื่อทำสันถัตในที่ที่ตนไปถึงตลอดเวลาที่โรคยังไม่หาย. ถ้าเธอหายโรคแล้ว กลับอาพาธอีกด้วยพยาธิเดิมนั่นแล, บริหาร (การคุ้มครอง) นั้นนั่นแลยังอยู่, ไม่มีกิจที่จะต้องสมมติอีก. ส่วนพระอุปติสสเถระกล่าวว่า อาพาธนั้นกำเริบขึ้นหรืออาพาธอื่นก็ตามที, เธอได้ชื่อว่า เป็นผู้อาพาธ คราวเดียว ก็เป็นอันได้แล้วนั่นเทียว, ไม่มีกิจที่จะต้องสมมติใหม่. ข้อว่า โอเรน เจ ฉนฺนํ วสฺสานํ ได้แก่ ส่วนร่วมใน คือ ภายใน. แต่ในบทภาชนะ เพื่อจะแสดงแต่เพียงสังขยา จึงตรัสว่า ยังหย่อน ๖ ปี. ข้อว่า อนาปตฺติ ฉพฺพสฺสานิ กโรติ มีความว่า ย่อมทำสันถัตในเวลาครบ ๖ ปีบริบูรณ์. แม้ในบทที่ ๒ พึงเห็นใจความอย่างนี้ว่า ทำในเวลาเกิน ๖ ฝนไป. ความจริง ภิกษุนั้นจะทำตลอด ๖ ปี หามิได้แล. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็นเหมือนโกสิยสิกขาบทนั่นแล, แต่สิกขาบทนี้เป็นทั้งกิริยาและอกิริยาแล. พรรณนาฉัพพัสสสิกขาบทที่ ๔ จบ. ------------------------------------------------------------ .. อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๔ จบ. |