บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
พรรณนานิสีทนสันถตสิกขาบท ในนิสีทนสันถตสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- สองบทว่า อิจฺฉามหํ ภิกฺขเว ความว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทอดพระเนตรเห็นสัตว์ที่ควรให้ตรัสรู้ไรๆ เลย ตลอดภายในไตรมาสนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ก็จะต้องทรงกระทำพระธรรมเทศนา ด้วยสามารถแห่งตันติประเพณี. อนึ่ง เพราะพระองค์ได้ทรงมีรำพึงอย่างนี้ว่า เมื่อเราให้ทำโอกาสหลีกเร้นอยู่ ภิกษุทั้งหลายจักกระทำกติกาวัตรอันไม่เป็นธรรม, อุปเสนะจักทำลายกติกาวัตรอันไม่เป็นธรรมนั้น, เราจักเลื่อมใส (ขอบใจ) เธอแล้วอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายเฝ้า, แต่นั้น พวกภิกษุผู้ประสงค์จะเยี่ยมเรา เป็นอันมากจักสมาทานธุดงค์ทั้งหลาย และเราจักบัญญัติสิกขา ก็ในการหลีกเร้นนี้ มีอานิสงส์มากอย่างนี้แล. ข้อว่า สปริโส เยน ภควา เตนูปสงฺกมิ มีความว่า ได้ยินว่า พระเถระได้รับการตำหนิในขันธกสิกขาบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่พึงให้กุลบุตรบวช ภิกษุใดพึงให้บวช ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ. โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ! อย่างไรกันน๊ะ เธอยังเป็นผู้ที่คนอื่นควรโอวาทควรพร่ำสอน จักสำคัญเพื่อจะโอวาท เพื่อจะพร่ำสอนผู้อื่น จึงคิดว่า พระศาสดาทรงอาศัยบริษัทของเราได้ทรงประทานการตำหนิแก่เรา, บัดนี้ เรานั้นจักยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เปล่งพระสุรเสียงดุจพรหม ด้วยพระพักตร์อันบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง มีสิริดังพระจันทร์เพ็ญนั้นนั่นแล แล้วจักให้ประทานสาธุการ เพราะอาศัยบริษัทนั่นแหละ เป็นกุลบุตรผู้มีหทัยงามเดินทางล่วงไปได้ ๑๐๐ กว่าโยชน์ ได้แนะนำบริษัท เป็นผู้อันภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปแวดล้อมแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า สปริโส เยน ภควา เตนูป ข้อว่า ภควโต อวิทูเร นิสินฺโน มีความว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้หมดความระแวง เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยวัตรสมบัติ จึงนั่งในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจสีหะนั่งอยู่ใกล้ถ้ำแห่งภูเขาทองฉะนั้น. บทว่า เอตทโวจ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ เพื่อยกเรื่องราวขึ้น. ข้อว่า มนาปานิ เต ภิกฺขุ ปํสุกูลานิ ความว่า ดูก่อนภิกษุ ผ้าบังสุกุลเหล่านี้เป็นที่ชอบใจของเธอหรือ? คือ เธอถือตามความชอบใจ ตามความพอใจของตนหรือ? ด้วยคำว่า น โข เม ภนฺเต มนาปานิ นี้ ภิกษุนั้นย่อมแสดงว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธ บทว่า ปญฺญายิสฺสติ มีความว่า จักเป็นผู้ปรากฏ คือเป็นผู้มีชื่อเสียง. มีคำอธิบายว่า จักปรากฏในกติกานั้น. ข้อว่า น มยํ อปฺปญฺญตฺตํ ปญฺญาเปสฺสาม มีความว่า เราทั้งหลายชื่อว่าเป็นสาวก จักไม่บัญญัติข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงบัญญัติไว้. จริงอยู่ วิสัย คือการบัญญัติสิกขาบทที่มิได้ทรงบัญญัติ หรือการถอนสิกขา ด้วยบทว่า สมาทาย นี้ พระอุปเสนะแสดงว่า เราทั้งหลายจักสมาทานสิกขา บทสนธิว่า อนุญฺญาตาวุโส ตัดบทว่า อนุญฺญาตํ อาวุโส แปลว่า (ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว). บทว่า ปิหนฺตา แปลว่า กระหยิ่มอยู่. สองบทว่า สนฺถตานิ อุชฺฌิตฺวา มีความว่า ละทิ้งสันถัตทั้งปวงแล้ว เพราะเป็นผู้มีความสำคัญในสันถัตว่า เป็นจีวรผืนที่ ๕. ข้อว่า ธมฺมึ กถํ กตฺวา ภิกฺขู อามนฺเตสิ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตร ข้อว่า สกึ นิวตฺถํปิ สกึ ปารุตํปิ ได้แก่ นั่งและนอนแล้วครั้งเดียว. บทว่า สามนฺตา มีความว่า พึงถือเอาโดยประการที่ที่ตนตัดเอาเป็นวงกลม หรือเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสจากชายข้างหนึ่ง จะมีประมาณคืบหนึ่ง. แต่ภิกษุเมื่อจะลาดพึงลาดลงในเอกเทศ หรือชีออกแล้วลาดให้ผสมกันโดยนัยดังกล่าวในบาลีนั่นเทียว. สันถัตที่ภิกษุหล่อแล้วอย่างนี้ จะเป็นของมั่นคงยิ่งขึ้น. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล. สมุฏฐานเป็นต้นแห่งสิกขาบทนี้ เป็นเช่นเดียวกับเทวภาคสิกขาบท เพราะเป็นทั้งกิริยาฉะนี้แล. นิสีทนสันถตสิกขาบทที่ ๕ จบ. ก็ในสันถัต ๕ ชนิดเหล่านี้ สันถัต ๓ ชนิดข้างต้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า กระทำวินัยกรรมแล้วได้มา ไม่ควรใช้สอย, ๒ ชนิดข้างหลังทำวินัยกรรมแล้วได้มา จะใช้สอย ควรอยู่. .. อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๕ จบ. |