บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า สมฺพาเธ คือ โอกาสที่กำบัง. ก็เพื่อแสดงจำแนก โอกาสที่กำบัง (ที่ลับ) นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อุโภ อุปกจฺฉกา มุตฺตกรณํ แปลว่า รักแร้ทั้ง ๒ บริเวณทวารเบา. สองบทว่า เอกมฺปิ โลมํ มีความว่า ภิกษุณีให้ถอนขนเส้นเดียวหรือมากเส้น โดยประโยคเดียว ด้วยกรรไกรก็ดี ด้วยแหนบก็ดี ด้วยของคม อย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยการนับประโยค ไม่ใช่โดยนับเส้นขน. บทว่า อาพาธปจฺจยา ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีผู้ให้ถอน เพราะอาพาธ มีฝีและหิดเป็นต้นเป็นปัจจัย. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๔ เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทางกายกับวาจา ๑ ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัต อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ. |