![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ราชภัฏ (พระราชทรัพย์) คือ ภาษี ส่วยสาอากรของหลวง พราหมณ์นี้ยักยอกเอาไป เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงชื่อว่านิพพิฏฐราชภัฏ (ผู้ถูกปลดออกจากราชการ). อธิบายว่า ผู้รับตำแหน่งอย่างหนึ่งทางด้านส่วยสาอากร ได้ยักยอกเบียดบังเอาผลกำไรจากตำแหน่งนั้น. ข้อว่า ตํเยว ภฏปถํ ยาจิสฺสามิ ได้แก่ พราหมณ์นั้นคิดคำนึงอยู่ว่า เราถวายส่วยแก่นายหลวงแล้ว จักทูลขอพระราชทานรับตำแหน่งเดิมนั้นแหละคืน. บทว่า ปริภาสิ ได้แก่ อุบาสกนั้นขู่สำทับภิกษุณีเหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าได้ทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ. บทว่า สยํ ฉฑฺเฑติ มีความว่า เมื่อเททั้ง ๔ วัตถุทิ้ง ด้วยประโยคเดียว เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. เมื่อทิ้งทีละอย่างๆ เป็นอาบัติมากตามจำนวนวัตถุ. แม้ในการสั่ง ก็นัยนี้นั่นแล. ถึงในการทิ้งไม้ชำระฟัน ก็เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีเหมือนกัน. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุในที่ทั้งปวง. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล. อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ. |