![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() วัน ๕ วัน ชื่อ ปัญจาหะ. ปัญจาหะนั้นเอง ชื่อว่า ปัญจาหิกะ. วาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิทั้งหลาย ชื่อว่า สังฆาฏิวาระ. การผลัดเปลี่ยนจีวร ๕ ผืน ที่ได้ชื่อว่าสังฆาฏิ โดยอรรถว่า สับเปลี่ยนสลับกันไป ด้วยการบริโภคใช้สอยบ้าง ด้วยอำนาจการผึ่งแดดบ้าง. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในบทภาชนะว่า ให้จีวร ๕ ผืนล่วงเลยวันคำรบ ๕ ไป. ก็ในคำว่า อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า ในจีวรผืนเดียวเป็นอาบัติตัวเดียว ในจีวร ๕ ผืน เป็นอาบัติ ๕ ตัว. บทว่า อาปทาสุ มีความว่า จีวรมีราคาแพง เป็นขอที่ภิกษุณีไม่อาจจะบริโภคใช้สอย เพราะอันตรายมีโจรภัยเป็นต้น ในอุปัทวะเห็นปานนี้ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนกับกฐินสิกขาบท เป็นอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล. อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ นัคควรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ. |