บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
แก้อรรถบางปาฐะและบางเรื่องในจตุตถปาราชิก แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้นั่นแล. ก็ในคำว่า ปุริสปุคฺคลสฺส หตฺถคฺคหณํ วา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า การจับมือที่บุคคลผู้ชายทำแล้วตรัสเรียกว่า การจับมือแห่งบุรุษบุคคล. แม้ในการจับชายผ้าสังฆาฏิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่การจับมือและการจับแม้อย่างอื่นในเขตที่ไม่เป็นปาราชิก บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านรวมเข้าเป็นอันเดียวกัน เรียกว่าการจับมือ ในคำว่า หตฺถคฺคหณํ นี้. ด้วยเหตุนั้นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า หตฺถคฺคหณํ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สองบทว่า หตฺถคฺคหณํ วา สาทิเยยฺย มีความว่า ที่ชื่อว่ามือ กำหนดตั้งแต่ข้อศอกไป จนถึงปลายเล็บ, ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้มณฑลเข่าลงมา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. แต่ในบทว่า อสทฺธมฺโม นี้ การเคล้าคลึงกาย พึงทราบว่า อสัทธรรม ไม่ใช่เมถุนธรรม. แท้จริงถุลลัจจัยหาใกล้เคียงต่อเมถุนธรรมไม่. อนึ่ง แม้คำว่า เป็นผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความเคล้าคลึงกาย ก็เป็นเครื่องสาธกได้ ในบทว่า อสทฺธมฺโม นี้. หากผู้ท้วงจะพึงท้วงว่า คำที่ท่านกล่าวว่า การเคล้าคลึงกาย พึงทราบว่า อสัทธรรม ก็ผิดจากเสทโมจนคาถา ที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารนี้ว่า๑- ไม่เสพเมถุนธรรมนั้นในสตรี ๓ จำพวก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในบุรุษ ๓ จำพวก คนไม่ประเสริฐ ๓ จำพวก และบัณเฑาะก์ ๓ จำพวก และไม่ประพฤติเมถุนในอวัยวะเครื่องเพศ. แต่ความขาดย่อมมี เพราะเมถุนธรรมเป็นปัจจัย, ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว ดังนี้. ____________________________ ๑- วิ. ปริ. เล่ม ๘/ข้อ ๑๓๒๙/หน้า ๕๓๔ แก้ว่า ไม่ผิด เพราะกายสังสัคคะ เป็นบุรพภาคแห่งเมถุน. จริงอยู่ ในปริวารนั่นแหละได้ตรัสสิกขาบท ๕ มีสุกกวิสัฏฐิเป็นต้น ว่าเป็นบุรพภาคแห่งเมถุนธรรมอย่างนี้ว่า ข้อที่ว่า พึงทราบบุรพ ____________________________ ๒- วนมนุปฺปทานํ วิมติ; เป็น คมนุปฺปาทนนฺติสญฺจริตฺตํ. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคำว่า เฉชฺชํ สิยา เมถุนธมฺมปจฺจยา นี้ โดยปริยายนี้ ด้วยประการฉะนี้. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในบททั้งปวงโดยอุบายนี้. อีกนัยหนึ่ง ในบทภาชนะแห่งสองบทว่า สงฺเกตํ วา คจฺเฉยฺย นี้ สองบทว่า อิตฺ ข้อว่า อฏฺมํ วตฺถุํ ปริปูเรนฺตี อสฺสมณี โหติ มีความว่า ภิกษุณีทำวัตถุที่ ๘ ให้เต็มบริบูรณ์ โดยนัยใดนัยหนึ่ง จะเป็นโดยอนุโลมหรือโดยปฏิโลม หรือโดยคั่นเป็นตอนก็ตาม เป็นผู้มิใช่สมณี. ส่วนภิกษุณีใดทำวัตถุเดียว หรือ ๗ วัตถุให้เต็มแม้ตั้ง ๗ ครั้ง จะเป็นผู้ชื่อว่ามิใช่สมณีหามิได้เลย, ภิกษุณีนั้นแสดงอาบัติที่ต้องแล้วย่อมพ้นได้. อีกนัยหนึ่ง ในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบอาบัติที่ควรนับ. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อาบัติที่แสดงแล้วควรนับ (ว่าแสดงแล้ว) ก็มี อาบัติที่แสดงแล้วไม่ควรนับ (ว่าแสดงแล้ว) ก็มี. ในคำว่า เทสิตา คณนูปิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- อาบัติที่ภิกษุณีทำการทอดธุระ แสดงว่า บัดนี้เราจักไม่ต้อง จัดว่าควรนับ คือถึงการนับว่าได้แสดงแล้ว ไม่เป็นองค์แห่งปาราชิก. เพราะฉะนั้น ภิกษุณีใดต้องอาบัติตัวหนึ่ง ทำการทอดธุระ แสดงแล้ว กลับต้องอีกด้วยอำนาจแห่งกิเลส, กลับแสดงอีก, ภิกษุณีนั้นแม้เมื่อทำวัตถุทั้ง ๘ ให้เต็มอย่างนี้ ก็ไม่เป็นปาราชิก. ก็ภิกษุณีใดต้องแล้ว แสดงทั้งๆ ที่ยังมีความอุตสาหะว่า เราจักต้องวัตถุอย่างอื่นแม้อีก, อาบัตินั้นของภิกษุณีนั้น ไม่ควรนับ, แม้เธอแสดงแล้วก็ไม่เป็นอันแสดงเลยคือ ยังไม่ถึงการนับว่าได้แสดงแล้ว ยังเป็นองค์แห่งปาราชิกอยู่ทีเดียว, พอเมื่อวัตถุที่ ๘ ครบบริบูรณ์ เธอก็เป็นปาราชิก. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล. สิกขาบทนี้มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางกายวาจากับจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ดังนี้แล. อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบบริบูรณ์ ตามวรรณนานุกรมแล. บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความในคำว่า อุทฺทิฏฐา โข อยฺยาโย อฏฺฐ ปาราชิกา ธมฺมา นี้ อย่างนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้าทั้งหลาย! ธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล โดยเพียงเป็นปาฏิโมกขุทเทสอย่างนี้ คือปาราชิก ๔ ที่ทั่วไปซึ่งทรงปรารภพวกภิกษุบัญญัติไว้ และปาราชิก ๔ เหล่านี้. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วในมหาวิภังค์นั้นแล้ว. อรรถกถาปาราชิกกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ในอรรถกถาพระวินัยปิฎก ชื่อว่าสมันตปาสาทิกา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาราชิกกัณฑ์ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ. |