![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑ บทว่า ราชาคารํ ได้แก่ โรงละครหลวง. บทว่า จิตฺตาคารํ ได้แก่ ศาลาแสดงจิตรกรรมน่าเพลิดเพลิน. บทว่า อารามํ ได้แก่ สวนที่เป็นสถานที่หย่อนใจ. บทว่า อุยฺยานํ ได้แก่ อุทยานเป็นที่หย่อนอารมณ์. บทว่า โปกฺขรณึ ได้แก่ สระโบกขรณีเป็นที่สำหรับเล่นกีฬา เพราะเหตุนั้นแล ในบทภาชนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสคำว่า ยตฺถ กตฺถจิ รฺโกีฬิตุ ํ เป็นต้น. ในคำว่า ทสฺสนาย คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบ วินิจฉัยดังนี้ :- เป็นทุกกฏ โดยนับย่างเท้า. ก็ในคำว่า ยตฺถฐิตา ปสฺสติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าภิกษุณียืนในที่เดียวนั่นแหละ ไม่ยกเท้าไปมาดูอยู่ถึง ๕ ครั้ง ก็เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียวเท่านั้น. แต่เมื่อภิกษุณีมองดูทิศาภาคนั้นๆ แล้วดูอยู่ เป็นอาบัติ แยกออกไปหลายตัว. แต่เป็นทุกกฏแก่ภิกษุในที่ทั้งปวง. สองบทว่า อาราเมฐิตา มีความว่า ชนทั้งหลายสร้างพระราชวังหลวงเป็นต้นใกล้อารามที่อยู่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณีมองเห็นพระราชวังหลวงเป็นต้นนั้น. สองบทว่า คจฺฉนฺตี วา อาคจฺฉนฺตี วา มีความว่า มองเห็นพระราชวังหลวงเป็นต้นนั้น ซึ่งมีอยู่ใกล้ทางของภิกษุณีผู้เดินไปเพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาตเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ. คำว่า สติ กรณีเย คนฺตฺวา มีความว่า ภิกษุณีไปยังราชสำนัก ด้วยกิจจำเป็นบางอย่าง แล้วเห็น ไม่เป็นอาบัติ. บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุณีถูกอันตรายบางอย่างรบกวน หลบเข้าไปแล้วเห็นไม่เป็นอาบัติ. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล. อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ. |