![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ในบทว่า ยาคุ วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นทุกกฏ โดยนับประโยคในทุกๆ ประโยค ตั้งต้นแต่การบดข้าวสารเป็นต้น. ในข้าวต้มและข้าวสวย พึงทราบว่า เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยการนับภาชนะ. ในของควรเคี้ยวเป็นต้น เป็นปาจิตตีย์มากตัว โดยการนับชนิดของ. บทว่า ยาคุปาเน มีความว่า เมื่อพวกชาวบ้านกำลังปรุงข้าวยาคู ทำน้ำปานะหรือสังฆภัตเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ภิกษุณีหุงต้มโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยสมบทเข้าร่วมกับชาวบ้านเหล่านั้น ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุณีเป็นเพื่อนบูชาพระเจดีย์ บูชาของหอมเป็นต้น ควรอยู่. สองบทว่า อตฺตโน เวยฺยาวจฺจกรสฺส มีความว่า ถ้าแม้นว่า มารดาและบิดามาหา ภิกษุณีจะวานให้ท่านทำของอย่างใดอย่างหนึ่งให้ เป็นพัดหรือด้ามไม้กวาดก็ได้ ตั้งในไว้ฐานะแห่งไวยาวัจกรก่อนแล้วหุงต้มโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่งให้ ควรอยู่. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้นเป็นเช่นเดียวกับสิกขาบทที่ ๓ ทั้งนั้นแล. อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ. |