![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() แก้อรรถบางปาฐะ เรื่องภิกษุณีให้บวชหญิงโจร บทว่า อปโลเกตฺวา แปลว่า ไม่บอกกล่าว. บทว่า คณํ วา ได้แก่ คณะ มีมัลลคณะและภัททปุตตคณะ๑- เป็นต้น. บทว่า ปูคํ ได้แก่ ธรรมคณะ.๒- บทว่า เสนึ ได้แก่ หมู่ชนผู้เป็นช่างทำของหอมและหมู่ชนผู้เป็นช่างหูกเป็นต้น. จริงอยู่ พระราชาทั้งหลายย่อมพระราชทานมอบบ้านและนิคมแก่หมู่ชนมีคณะเป็นต้น ในสถานที่ใดๆ ว่า พวกท่านเท่านั้นจงปกครองในบ้านและนิคมนี้. ชนพวกนั้นนั่นแหละย่อมเป็นใหญ่ในบ้านและนิคมนั้นๆ. เพราะเหตุนั้น คำว่า คณํ วา เป็นต้นนี้ ตรัสหมายเอาชนพวกนั้น. ก็บรรดาอิสรชนมีพระราชาเป็นต้นนี้ ภิกษุณีแม้ทูลขอพระบรมราชานุญาต หรือบอกกล่าวพวกชนมีคณะเป็นต้นแล้ว ต้องบอกกล่าวภิกษุณีสงฆ์ด้วย. สองบทว่า ฐเปตฺวา กปฺปํ มีความว่า เว้นหญิงผู้ได้ข้ออ้างเคยบวชแล้วในหมู่เดียรถีย์ หรือในหมู่ภิกษุณีอื่น. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีการให้หญิงโจรบวชเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นทางวาจากับจิต สำหรับภิกษุณีผู้เมื่อพวกภิกษุณีหลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง ไม่ไปยังขัณฑสีมา ให้หญิงโจรบวชกับบริษัทผู้เป็นนิสิตของตน ในสถานที่ตามที่ตนนั่งอยู่นั่นแล เกิดขึ้นทางกาย ____________________________ ๑- สารตฺถทีปนี ๓/๔๐๑ ให้อรรถาธิบายว่า คณะผู้บำเพ็ญบุญกรรม มีจัดตั้งน้ำดื่มและขุดสระน้ำเป็นต้น ไว้ในที่นั้นๆ ซึ่งเป็นผู้มีความภักดี (นับถือ) พระนารายณ์ ชื่อว่า มัลลคณะ. คณะผู้มีความภักดี (นับถือ) พระกุมาร (พระบุตร) ชื่อว่า ภัททิปุตตคณะ. ๒- คณะผู้บำเพ็ญบุญกรรมมีประการต่างๆ ซึ่งมีความภักดีต่อพระศาสนา เรียกว่า ธรรมคณะ. อรรถกถาสิกขาบทที่ ๒ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ สัตตรสกัณฑ์ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ จบ. |