บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า ปสาเข ได้แก่ ในกายท่อนล่าง. จริงอยู่ กายท่อนล่างท่านเรียกว่า ปสาขะ เพราะเหตุว่า ต้นขาทั้ง ๒ แยกออกไปจากกายท่อนล่างนั้น ดุจกิ่งแห่งต้นไม้แยกจากต้นไม้ ฉะนั้น. ในบทว่า ภินฺท เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ถ้าภิกษุณีสั่งทุกอย่างว่า จงบ่ง จงผ่า และอุบาสกนั้นทำตามสั่งอย่างนั้น ภิกษุณีต้องอาณัตติทุกกฏ (ทุกกฏเพราะสั่ง) ๖ ตัว และปาจิตตีย์ ๖ ตัว. ถ้าแม้นว่า ภิกษุณีสั่งอย่างนี้ว่า อุบาสก! กิจอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรทำในกายท่อนล่างนี้ ท่านจงกระทำกิจนั้นทั้งหมด และอุบาสกนั้นทำกิจมีการบ่งเป็นต้น แม้ทั้งหมด. เป็นอาบัติ ๑๒ ตัวคือ เป็นทุกกฏ ๖ ตัว ปาจิตตีย์ ๖ ตัว เพราะคำพูดคำเดียว. แต่ถ้าภิกษุณีพูดเพียงอย่างเดียว ในบรรดากิจมีการบ่งเป็นต้นแล้ว สั่งว่า จงทำกิจนี้ และอุบาสกนั้นทำกิจทั้งหมด เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะการทำกิจที่สั่งเท่านั้น ในกิจที่เหลือไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล. อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ อรรถกถาอารามวรรคที่ ๖ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ. |