![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() สองบทว่า ยโต ตฺวํ ไขเป็น ยสฺมา ตฺวํ แปลว่า เพราะว่า แม่เจ้า. ถามว่า อาบัติทั้งหลายมีอาทิว่า พูดส่งเสริม ต้องอาบัติทุกกฎ มีสังฆาทิเสสเป็นที่สุด จะมีแก่ใคร แก้ว่า มีแก่ภิกษุณีผู้พูดส่งเสริม. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แม้ในคัมภีร์ปริวารว่า๑- ภิกษุณีไม่ให้ ไม่รับประเคน การ รับไม่มี ด้วยเหตุนั้น, แต่ต้องอาบัติหนัก ไม่ใช่อาบัติเบา และการต้องนั้น เพราะ การบริโภคเป็นปัจจัย ปัญหาข้อนี้ท่านผู้ ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว. จริงอยู่ คาถานี้ตรัสหมายเอาภิกษุณีผู้พูดส่งเสริมนี้. ส่วนความต่างแห่งอาบัติของภิกษุณีผู้พูดส่งเสริมนอกนี้ ทรงจำแนกไว้แล้วในสิกขาบทที่ ๑ แล. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล. ____________________________ ๑- วิ. ปริ. เล่ม ๘/ข้อ ๑๓๓๖/หน้า ๕๓๖ ฯ อรรถกถาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ สัตตรสกัณฑ์ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ จบ. |