บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ครั้นสวดนิทานนี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ ฯเปฯ อาวิกตา หิสฺส ผาสุ โหติ แล้ว พึงกล่าวว่า อุทฺทิฏฐํ โข อายสฺมนฺโต นิทานํ. ตตฺถายสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ. กจฺจิตฺถ ปริ แล้วพึงสวด ๔ อุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท อย่างนี้ว่า สุตา โข ปนายสฺมนฺเตหิ จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา ฯปฯ อวิวทมาเนหิ สิกฺขิตพฺพํ. ปาฏิโมกขุทเทส ๔ ที่เหลือ พึงทราบตามนัยนี้. สัญจรภัยนั้น ได้แก่ ภัยเกิดแก่มนุษย์ผู้ท่องเที่ยวไปในดง. วินิจฉัยในอันตราย ๑๐ คือ ราชันตรายเป็นอาทิ. ถ้าเมื่อภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจักทำอุโบสถ นั่งประชุมกันแล้ว พระราชาเสด็จมา นี้ชื่อว่าราชันตราย. พวกโจรพากันมา นี้ชื่อโจรันตราย. ไฟป่าลามมาหรือไฟเกิดขึ้นในอาวาส นี้ชื่ออัคคยันตราย. ฝนตกหรือน้ำหลากมา นี้ชื่ออุทกันตราย. มนุษย์มากันมาก นี้ชื่อมนุสสันตราย. ผีเข้าภิกษุ นี้ชื่ออมานุสสันตราย. สัตว์ร้ายมีเสือเป็นต้นมา นี้ชื่อวาฬันตราย. สัตว์มีพิษมีงูเป็นต้นกัดภิกษุ นี้ชื่อสิรึสปันตราย. ภิกษุ ในอันตรายเห็นปานนี้ พึงสวดปาติโมกข์ย่อได้. จะพึงสวดอุทเทสที่ ๑ หรือสวด ๒ อุทเทส. ๓ อุทเทส, ๔ อุทเทส เบื้องต้นก็ตาม. ในอุทเทสเหล่านี้ มีอุทเทสที่ ๒ เป็นต้น เมื่ออุทเทสใดยังสวดไม่จบ มีอันตราย อุทเทสแม้นั้น พึงสวดด้วยสุตบททีเดียว. ____________________________ ๑- นิทานุทเทส ไม่น่าจะต้องถาม ดูอธิบายในวินัยมุขเล่ม ๒ กัณฑ์ที่ ๑๗. อรรถกถาปาติโมกขุทเทส จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ อุโบสถขันธกะ ปาติโมกขุเทศ ๕ จบ. |