![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() สองบทว่า ตีณิ อุปฺปลหตฺถานิ มีความว่า อุบลกำหนึ่ง เพื่อบำบัดโทษอย่างหยาบ กำหนึ่งเพื่อบำบัดโทษอย่างปานกลาง กำหนึ่งเพื่อบำบัดโทษอย่างละเอียด. หลายบทว่า น จิรสฺเสว ปกตตฺโต อโหสิ มีความว่า ก็เมื่อพระกายเป็นปกติแล้วอย่างนั้น ชาวเมืองทั้งหลายได้ตระเตรียมทานไว้. หมอชีวกมาแล้วได้กราบทูลความข้อนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้ พวกชาวเมืองประสงค์จะถวายทานแด่พระองค์, ขอพระองค์เสด็จเข้าสู่ละแวกบ้าน เพื่อบิณฑบาตเถิด. พระมหาโมคคัลลานเถระคิดว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าสมควรได้ปฐมบิณฑ เขาได้รับบาตรของพระเถระแล้ว ถวายบิณฑบาตอย่างประณีต, และได้เห็นอาการจะไปของพระเถระ จึงกล่าวว่า นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ. พระเถระบอกเนื้อความนั้น. เขากล่าวว่า นิมนต์ฉันเถิด ขอรับ, กระผมจักถวายส่วนอื่นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้พระเถระฉันแล้ว ได้อบบาตรด้วยของหอมแล้ว ถวายบิณฑบาต. พระเถระได้นำบาตรนั้นมาถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถึงพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงดำริว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคจักเสวยอะไร? จึงเสด็จมาวิหาร พอเสด็จเข้าไป ก็ทรงได้กลิ่นบิณฑบาต ได้เป็นผู้มีพระประสงค์จะเสวย. ก็เทวดาทั้งหลายแทรกโอชาในบิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ยังอยู่ในภาชนะ ๒ ครั้งเท่านั้น คือ บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวาย ๑ ที่นายจุนทกัมมารบุตรไว้ถวาย ในคราวปรินิพพาน ๑, ในบิณฑบาตอื่นๆ ได้แทรกทีละคำ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบความอยากของพระราชา จึงรับสั่งให้ถวายบิณฑบาตหน่อยหนึ่ง ซึ่งเทวดายังมิได้แทรกโอชาลง แก่พระราชา. ท้าวเธอเสวยแล้วทูลถามว่า โภชนะนำมาจากอุตตรกุรุทวีปหรือ พระเจ้าข้า? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ไม่ได้นำมาจากอุตตรกุรุทวีป, โดยที่แท้นี่เป็นโภชนะของคฤหบดีบุตร ชาวแคว้นของพระองค์นั่นเอง ดังนี้แล้ว ทรงบอกสมบัติของโสณะ. พระราชาทรงฟังเนื้อความนั้นแล้ว มีพระประสงค์จะทอดพระเนตรโสณะ ได้ทรงกระทำความมาของโสณะพร้อมด้วยกุลบุตรแปดหมื่นคน ตามนัยที่กล่าวแล้วในจัมมขันธกะ. กุลบุตรเหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เป็นพระโสดาบัน. ฝ่ายโสณะบวชแล้วตั้งอยู่ในพระอรหัต. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ถวายบิณฑบาตแก่พระราชาก็เพื่อประโยชน์นี้แล. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วอย่างนั้น. ลำดับนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจจ์ถือคู่ผ้าสิเวยยกะนั้นแล้ว ฯลฯ ได้กราบทูลเนื้อความนั้น. วินิจฉัยในคำว่า อติกฺกนฺตวรา นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในมหาขันธกะนั้นแล. ข้อว่า ภควา ภนฺเต ปํสุกูลิโก ภิกฺขุสงฺโฆ จ มีความว่า จริงอยู่ ในระหว่างนี้ คือ ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความเป็นพระพุทธเจ้า จนถึงเรื่องนี้เกิดขึ้น เป็นเวลา ๒๐ ปี, ภิกษุใดๆ ไม่ยินดีคฤหบดีจีวร, ภิกษุทั้งปวงได้เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเท่านั้น ; ด้วยเหตุนั้น หมอชีวกนี้จึงกราบทูลอย่างนั้น. บทว่า คหปติจีวรํ ได้เแก่ จีวรอันคหบดีทั้งหลายถวาย. สองบทว่า ธมฺมิยา กถาย คือ ถ้อยคำอันประกอบพร้อมด้วยอานิสงส์แห่งการถวายผ้า. บทว่า อิตริตเรนาปิ คือ มีค่าน้อยก็ตาม มีค่ามากก็ตาม. ความว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง. ผ้าห่มที่ทำด้วยฝ้ายชนิดที่มีขน ชื่อผ้าปาวาร. ในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว โกชวํ นี้ มีความว่า ผ้าโกเชาว์ คือผ้าลาด ตามปกติเท่านี้ จึงควร, ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ ไม่ควร. ผ้าโกเชาว์นั้น ทำด้วยขนสัตว์คล้ายผ้าปาวาร. ว่าด้วยทรงอนุญาตจีวร ๖ ชนิด วินิจฉัยในบทว่า อฑฺฒกาสิยํ นี้ พึงทราบดังนี้ :- หนึ่งพันเรียกว่า กาสีหนึ่ง, ผ้ากัมพลมีราคาพันหนึ่ง ชื่อมีค่ากาสีหนึ่ง แต่ผ้ากัมพลผืนนี้มีราคา ๕๐๐, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีค่ากึ่งกาสี ; ด้วยเหตุนี้แล พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า ควรแก่ราคากึ่งกาสี. บทว่า อุจฺจาวจานิ คือ ดีและไม่ดี. ผ้าที่ทำเจือกันด้วยด้ายห้าชนิดมีด้ายเปลือกไม้เป็นต้น ชื่อผ้าภังคะ. บางอาจารย์กล่าวว่า ผ้าที่ทำด้วยปอเท่านั้น ดังนี้บ้าง. ข้อว่า เอกํเยว ภควตา จีวรํ อนุญฺญาตํ น เทฺว มีความว่า ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นกำหนดเนื้อความแห่งบทอันหนึ่งว่า ด้วยจีวรตามมีตามได้ อย่างนี้ว่า ด้วยจีวรเป็นของคหบดีหรือด้วยผ้าบังสุกุล. บทว่า นาคเมสุํ มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่รออยู่ จนกว่าพวกเธอจะมาจากป่าช้า, คือหลีกไปเสียก่อน. สามบทว่า นากามา ภาคํ ทาตุํ มีความว่า ไม่ปรารถนาจะให้ก็อย่าให้, แต่ถ้าปรารถนาจะให้ไซร้, ควรให้. บทว่า อาคเมสุํ คือ รออยู่ในที่ใกล้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่อยากให้ ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุทั้งหลายผู้คอย. ก็ถ้าว่า มนุษย์ทั้งหลายถวายว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้มาที่นี่เท่านั้น จงถือเอา, หรือกระทำเครื่องหมายไว้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้มาถึงแล้ว จงถือเอา ดังนี้แล้วไปเสีย ; จีวรย่อมถึงแก่ภิกษุแม้ทุกรูป ผู้มาถึงแล้ว. ถ้าเขาทิ้งไว้แล้วไปเสีย, ภิกษุผู้ถือเอาเท่านั้นเป็นเจ้าของ. สองบทว่า สทิสา โอกฺกมึสุ มีความว่า เข้าไปทุกรูป, หรือเข้าไปโดยทิศเดียวกัน. หลายบทว่า เต กติกํ กตฺวา มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นทำกติกากันไว้แต่ภายนอกว่า เราจักแบ่งผ้าบังสุกุลที่ได้แล้วถือเอาทั่วกัน. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ พระพุทธานุญาตคหบดีจีวร จบ. |