![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า สาทิยิสฺสสิ คือ จักถือเอาหรือ? จริงอยู่ ในเรื่องนี้ ส่วนย่อมไม่ถึงแก่พระอุปนันทศากยบุตรนั้น แม้โดยแท้ ถึงกระนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวว่า ท่านจักรับหรือ? ดังนี้ ก็ด้วยทำในใจว่า พระเถระนี้เป็นชาวกรุง เป็นธรรมกถึก มีปากกล้า. ก็วินิจฉัยในข้อว่า โย สาทิเยยฺย, อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบดังนี้ :- เป็นลหุกาบัติก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น จีวรที่ถือเอาแล้ว ก็ควรคืนให้ในที่ซึ่งตนถือเอา แม้หากว่า จีวรเหล่านั้นเป็นของเสียหายไปก็ดี เก่าไปก็ดี ย่อมเป็นสินใช้แก่ภิกษุนั้นแท้. ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงให้ เมื่อเธอไม่ให้ พึงให้ปรับตามราคาของในเมื่อทอดธุระ. บทว่า เอกาธิปฺปายํ มีความว่า ท่านทั้งหลายจงให้ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว คือส่วนแห่งบุคคลผู้เดียวเท่านั้น. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงวางแบบ จึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงอาการสำหรับภิกษุจะพึงให้ส่วนเฉพาะบุคคลผู้เดียวนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า สเจ อมุตฺร อุปฑฺฒํ อมุตฺร อุปฑฺฒํ มีความว่า หากว่า ภิกษุนั้นอยู่ในวัดตำบลละวันหนึ่งบ้าง ๗ วันบ้าง บุคคลผู้เดียวย่อมได้ส่วนใด ในวัดตำบลหนึ่งๆ พึงให้วัดละกึ่งส่วนๆ, จากส่วนนั้นๆ. ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว ชื่อเป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว ด้วยประการฉะนี้. ข้อว่า ยตฺถ วา ปน พหุตรํ มีความว่า ถ้าภิกษุอยู่ในวัดหนึ่งรับแต่อรุณเท่านั้น โดยวาระ ๗ วันในวัดนอกนี้ ด้วยประการอย่างนี้เธอชื่อว่าอยู่มากกว่าในวัดก่อน; เพราะฉะนั้น พึงให้ส่วนจากวัดที่อยู่มากกว่านั้นแก่เธอ : ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียว เป็นอันภิกษุทั้งหลายให้แล้ว ด้วยประการอย่างนี้บ้าง. ก็การให้ส่วนเป็นที่ประสงค์อันเดียวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยหลายวัดมีสีมาเดียวกัน แต่ต่างลาภ ต่างอุปจาระกัน. ส่วนในวัดที่ต่างสีมากัน การถือเสนาสนะย่อมระงับ. เพราะเหตุนั้น ส่วนแห่งจีวรในวัดนั้น ย่อมไม่ถึง (แก่เธอ). แต่สิ่งของที่เหลือทั้งหมด มีอามิสและเภสัชเป็นต้น ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้อยู่ภายในสีมา ในวัดที่มีสีมาเดียวกัน และวัดที่มีสีมาต่างๆ กันทั้งปวง. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ เรื่องพระอุปนนท์ จบ. |