ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 165อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 166อ่านอรรถกถา 5 / 168อ่านอรรถกถา 5 / 261
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ
เรื่องพระอาพาธโรคท้องร่วงเป็นต้น

               ว่าด้วยคิลานุปัฏฐาก               
               สองบทว่า มญฺจเก นิปาเตสุํ มีความว่า ครั้นล้างแล้วอย่างนั้น นุ่งผ้ากาสาวะผืนอื่นให้แล้ว จึงให้นอนบนเตียง. ก็แลพอให้นอนแล้ว พระอานนท์ผู้มีอายุได้ซักผ้ากาสาวะที่เปื้อนมูตรและกรีสแล้วได้ทำการชำระล้างที่พื้น.
               ข้อว่า โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฺฐเหยฺย โส คิลานํ อุปฏฺฐเหยฺย มีความว่า ภิกษุใดพึงอุปัฏฐากเราด้วยทำตามโอวาทานุศาสนี, ภิกษุนั้นพึงอุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเถิด.
               ในข้อนี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า
               ภิกษุผู้ทำตามโอวาทของเรา พึงอุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธ และในข้อนี้ ไม่ควรถือเอาเนื้อความอย่างนี้ว่า การอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้ากับอุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเป็นเช่นเดียวกัน.
               ข้อว่า สงฺเฆน อุปฏฺฐาเปตพฺโพ มีความว่า ภิกษุเหล่านี้มีอุปัชฌาย์เป็นต้นของภิกษุใด ไม่มีในวัดนั้น ภิกษุใดเป็นอาคันตุกะเที่ยวไปรูปเดียว, ภิกษุนั้นเป็นภาระของภิกษุสงฆ์ เพราะเหตุนั้น เธออันสงฆ์พึงอุปัฏฐาก ถ้าไม่อุปัฏฐาก เป็นอาบัติแก่สงฆ์ทั้งสิ้น.
               ก็แลในภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งวาระพยาบาล ภิกษุใดไม่พยาบาลในวาระของตน เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น. แม้พระสังฆเถระก็ไม่พ้นจากวาระ.
               ถ้าสงฆ์ทั้งสิ้นไว้ภาระแก่ภิกษุรูปหนึ่ง หรือภิกษุผู้บริบูรณ์ด้วยวัตรรูปหนึ่ง รับรองว่า ข้าพเจ้าจักพยาบาลเอง แล้วปฏิบัติอยู่ สงฆ์พ้นจากอาบัติ.
               ในข้อว่า อภิกฺกนฺตํ วา อภิกฺกมติ เป็นอาทิ พึงเห็นใจความอย่างนี้ว่า :-
               ภิกษุผู้อาพาธไม่ชี้แจงอาพาธอันกำเริบอยู่ตามจริงว่า เมื่อข้าพเจ้าบริโภคยาชื่อนี้ อาพาธกำเริบ เมื่อข้าพเจ้าบริโภคยาชื่อนี้ อาพาธค่อยทุเลา เมื่อข้าพเจ้าบริโภคยาชื่อนี้ อาพาธทรงอยู่.
               บทว่า นาลํ มีความว่า ผู้ไม่เหมาะ คือไม่สมควรเพื่อพยาบาล.
               สองบทว่า เภสชฺชํ สํวิธาตุํ มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบยา.
               บทว่า อามิสนฺตโร มีวิเคราะห์ว่า อามิสเป็นเหตุของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อผู้มีอามิสเป็นเหตุ. เหตุท่านเรียกว่า อนฺตรํ ความว่า ภิกษุผู้มีอามิสเป็นเหตุ ปรารถนายาคู ภัต บาตรและจีวร จึงพยาบาล.
               บทว่า กาลกเต คือ เพราะทำกาลกิริยา.
               วินิจฉัยในข้อว่า คิลานุปฏฺากานํ ทาตุํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               บาตรและจีวรของภิกษุผู้ทำกาลกิริยานั้น อันสงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้พยาบาล ด้วยกรรมวาจาที่ตรัสเป็นลำดับไปก็ดี อปโลกน์ให้ก็ดี ย่อมเป็นอันให้เหมือนกัน, ควรทั้งสองอย่าง.
               ในข้อว่า ยํ ตตฺถ ลหุภณฺฑํ ยํ ตตฺถ ครุภณฺฑํ ข้าพเจ้าจักพรรณนาความกระทำต่างกันแห่งลหุภัณฑ์และครุภัณฑ์ข้างหน้า.

               วินิจฉัยในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้               
               ส่วนในลาภของภิกษุผู้พยาบาลไข้ มีวินิจฉัยตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้ :-
               หากภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นพยาบาล ภิกษุไข้ทำกาลกิริยา, เป็นเจ้าของทั้งหมด.
               หากว่า บางพวกทำเวร. บางพวกไม่ทำเวรเลย, ภิกษุไข้ทำกาลกิริยา ในกาลกิริยาอย่างนั้นของภิกษุนั้น อาจารย์บางพวกกล่าวว่าภิกษุแม้ทั้งปวง พึงทำในวาระที่ถึงตน, เพราะฉะนั้น ภิกษุแม้ทั้งปวงเป็นเจ้าของ.
               บางพวกกล่าวว่า ภิกษุไข้นั้น อันภิกษุเหล่าใดพยาบาล, ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น ย่อมได้, ภิกษุนอกจากนั้น ไม่ได้.
               ถ้าว่า เมื่อสามเณรแม้ทำกาลกิริยา จีวรของเธอมีอยู่. พึงให้แก่ผู้พยาบาลไข้, ถ้าจีวรไม่มี, สิ่งใดมี พึงให้สิ่งนั้น, เมื่อบริขารอื่นมีอยู่ พึงทำให้เป็นส่วนแห่งจีวรให้.
               ทั้งภิกษุและสามเณร ถ้าว่าพยาบาลเท่ากัน, พึงให้ส่วนเท่ากัน.
               หากว่า สามเณรเท่านั้นพยาบาล, กิจสักว่าช่วยจัดแจงเท่านั้นเป็นของภิกษุ พึงให้ส่วนใหญ่แก่สามเณร.
               ถ้าว่า สามเณรต้มยาคูด้วยน้ำที่ภิกษุนำมา ทำกิจสักว่าให้รับประเคนเท่านั้น, ภิกษุพยาบาล, พึงให้ส่วนใหญ่แก่ภิกษุ,
               ภิกษุหลายรูปเป็นผู้พร้อมเพรียงช่วยกันพยาบาลทั้งหมด, พึงให้ส่วนเท่ากันแก่เธอทั่วกัน.
               ก็ในภิกษุเหล่านี้ รูปใดพยาบาลโดยพิเศษ, พึงให้ส่วนพิเศษแก่ภิกษุนั้น.
               อนึ่ง ผู้ใดหุงต้มยาคูและภัตให้ หรือจัดแจงอาบน้ำ โดยเนื่องด้วยผู้พยาบาลไข้ วันหนึ่ง, แม้ผู้นั้นก็จัดว่า ผู้พยาบาลไข้เหมือนกัน.
               ภิกษุใดไม่เข้าใกล้ ส่งแต่ยาและข้าวสารเป็นต้นบ้าง, ภิกษุนี้ไม่จัดว่าผู้พยาบาลไข้.
               ฝ่ายภิกษุใด แสวงหาให้อนุปสัมบันถือมา, ภิกษุนี้จัดเป็นผู้พยาบาลไข้แท้, พึงให้ส่วนแม้แก่ภิกษุนั้น.
               รูปหนึ่งพยาบาลด้วยเพ่งวัตรเป็นใหญ่, รูปหนึ่งพยาบาลด้วยหวังลาภ, ในเวลาที่ภิกษุไข้มรณภาพ เธอทั้งสองจำนง, พึงให้แก่เธอทั้งสองรูป.
               รูปหนึ่งพยาบาลแล้ว ไปในที่ไหนๆ เสีย ด้วยธุระของภิกษุไข้ หรือด้วยธุระของตน คิดว่า เราจักมาพยาบาลอีก แม้ภิกษุนี้ก็ควรให้.
               รูปหนึ่งพยาบาลอยู่นานแล้ว ทอดธุระไปเสียว่า บัดนี้ เราไม่สามารถ แม้ถ้าว่า ภิกษุไข้มรณภาพในวันนั้นเอง, ไม่พึงให้ส่วนแห่งผู้พยาบาล.
               ขึ้นชื่อว่า ผู้พยาบาลไข้ เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต หรือโดยที่สุด แม้เป็นมาตุคามก็ตามที, ทุกคนย่อมได้ส่วน. หากว่าของภิกษุนั้น มีแต่สักว่าบาตรและจีวรเท่านั้น, ของอื่นไม่มี, บาตรและจีวรทั้งหมด พึงให้แก่ผู้พยาบาลไข้เท่านั้น, แม้หากว่า จะตีราคาตั้งพัน.
               แต่ผู้พยาบาลเหล่านั้น ย่อมไม่ได้บริขารแม้มากอย่างอื่น, บริขารอย่างอื่น ย่อมเป็นของสงฆ์เท่านั้น. สิ่งของที่เหลือมากและมีราคามาก, ไตรจีวรมีราคาน้อย, บริขารคือไตรจีวรพึงถือเอาจากสิ่งของที่เหลือนั้นให้, ก็บาตรไตรจีวรนั้นทั้งหมดอันผู้พยาบาลไข้ ย่อมได้จากของสงฆ์เทียว.
               ก็ถ้าว่า ภิกษุไข้นั้น ยังเป็นอยู่ทีเดียว ได้ปลงบริขารของตนทั้งหมดให้แก่ใครๆ เสีย, หรือว่าใครๆ ได้ถือวิสาสะเอาเสีย, ของนั้นเธอให้แล้วแก่ผู้ใด, และอันผู้ใดถือเอาแล้ว, ย่อมเป็นของผู้นั้นเท่านั้น. ผู้พยาบาลไข้ย่อมได้ด้วยความชอบใจของผู้นั้นเท่านั้น.
               ฝ่ายบริขารทั้งหลายที่ภิกษุไข้ไม่ได้ให้แก่บุคคลเหล่าอื่น เก็บไว้ในที่ไกล ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่นั้นๆ เท่านั้น.
               ถ้าเป็นของ ๒ เจ้าของมิได้แบ่งกัน, เมื่อฝ่ายหนึ่งทำกาลกิริยา อีกฝ่ายหนึ่งย่อมเป็นเจ้าของ, ในของแม้มากเจ้าของ ก็นัยนี้แล.
               เมื่อเจ้าของมรณภาพ ทั้งหมดย่อมเป็นของสงฆ์.
               ถึงหากว่า ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเหล่านั้น ไม่แบ่งกัน ให้แก่นิสิตทั้งหลายมีสัทธิวิหาริกเป็นต้น, ไม่เป็นอันให้เลย, ต่อสละให้แล้วจึงเป็นอันให้ด้วยดี, เมื่อภิกษุผู้เป็นเจ้าของเหล่านั้น แม้มรณภาพแล้วย่อมเป็นของนิสิตทั้งหลายมีสัทธิวิหาริกเป็นต้นเท่านั้น, ไม่เป็นของสงฆ์.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ เรื่องพระอาพาธโรคท้องร่วงเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 165อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 166อ่านอรรถกถา 5 / 168อ่านอรรถกถา 5 / 261
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=4357&Z=4474
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=5014
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=5014
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :