บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
วินิจฉัยในจัมเปยยขันธกะ หลายบทว่า คคฺคราย โปกฺขรณิยา ตีเร คือที่ฝั่งแห่งสระโบกขรณี ซึ่งหญิงมีชื่อว่าคันคราสร้าง. บทว่า ตนฺติพทฺโธ มีความว่า ชื่อผู้เนื่องเฉพาะในความขวนขวาย เพราะข้อที่ความขวนขวายเป็นกิจอันเธอพึงทำในอาวาสนั้น. วินิจฉัยในข้อว่า อุสฺสุกฺกมฺปิ อกาสิ ยาคุยา เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :- สมควรทำความขวนขวายแต่ในที่ซึ่งชนทั้งหลายสั่งไว้ว่า เมื่อภิกษุอาคันตุกะมา ท่านพึงบอก, ไม่สมควรทำในที่ซึ่งเขาไม่ได้สั่งไว้. ข้อว่า คจฺฉ ตฺวํ ภิกฺขุ มีความว่า พระศาสดาได้ทรงเห็นว่าเสนาสนะในอาวาสนั้นนั่นแลของภิกษุนั้น เป็นที่สบาย ด้วยเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า เธอจงสำเร็จการอยู่ในวาส ความกระทำต่างแห่งคำว่า อธมฺเมน วคฺคกมฺมํ กโรนฺติ เป็นอาทิ จักมาในบาลีข้างหน้าเป็นแท้. ข้อว่า อญฺญตฺราปิ ธมฺมา กมฺมํ กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรม เว้นจากธรรมบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้เองเป็นบาลี ; กรรมที่ทำด้วยวัตถุเป็นจริง จัดเป็นกรรมที่ทำตามธรรม. ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ทำอย่างนั้น. แม้ในข้อว่า อญฺญตฺราปิ วินยา กมฺมํ, อญฺญตฺราปิ สตฺถุสาสนา กมฺมํ ก็นัยนี้แล. ก็ในวินัยและสัตถุศาสนานี้ การโจทและการประกาศ ชื่อวินัย. ญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทา ชื่อสัตถุศาสนา. ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเว้นจากการโจท การประกาศญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทาเหล่านั้น. บทว่า ปฏิกฺกุฏฺฐกตํ ได้แก่ กรรมที่ถูกคัดค้านและอันเธอขืนทำ. กรรมใด อันภิกษุขืนทำในเมื่อภิกษุเหล่าอื่นคัดค้านอยู่. กรรมนั้นจัดเป็นกรรมที่ถูกคัดค้านและอันภิกษุขืนทำ. ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเช่นนั้นบ้าง. กรรมหก ความสังเขปในฉกัมมาธิการนี้ เท่านี้. ส่วนความพิสดารมาแล้วในบาลีนั่นแล. ก็ความพิสดารนั้นแล มาแล้วด้วยอำนาจแห่งญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรมเท่านั้น. อันในญัตติกรรมไม่มีความลดหย่อนหรือความทำโดยประการอย่างอื่น เหมือนในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม. ส่วนอปโลกนกรรมอันภิกษุย่อมทำเพียงสวดประกาศ เพราะฉะนั้น ญัตติกรรมและอปโลกนกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงแสดงไว้ในบาลี. ข้าพเจ้าจักพรรณนาวินิจฉัยแห่งกรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดข้างหน้า. บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ปญฺจ สงฺฆา เป็นอาทิ เพื่อแสดงประเภทแห่งสงฆ์ทั้งหลาย ผู้จะพึงทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม ซึ่งเป็นที่หก. บทว่า กมฺมปฺปตฺโต คือ ผู้เข้ากรรม ได้แก่ผู้ประกอบในกรรมคือผู้ควรกรรม. ความว่า ไม่ควรเพื่อทำกรรมใดๆ หามิได้. คำว่า จตุวคฺคกรณญฺเจ ภิกฺขเว กมฺมํ ภิกฺขุนีจตุตฺโถ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อแสดงวิบัติแห่งกรรมโดยบริษัท. ในคำนั้น บุคคลผู้มีสังวาสต่างกันเพราะกรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอา ด้วยอุกขิตตกศัพท์. บุคคลผู้มีสังวาสต่างกันเพราะลัทธิ ทรงถือเอาด้วยนานา สองบทว่า นานาสีมาย ฐิตจตุตฺโถ มีความว่า เป็นจตุวรรคกับภิกษุผู้ตั้งอยู่ในหัตถบาสที่สีมันตริกหรือภายนอกสีมา. คำว่า ปาริวาสิกจตุตฺโถ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงวิบัติโดยบริษัทแห่งปริวาสกรรมเป็นต้นเท่านั้น. ข้าพเจ้าจักพรรณนาวินิจฉัยแห่งกรรมเหล่านั้น ข้างหน้า. เพื่อแสดงข้อที่กรรมถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ เป็นกรรมกำเริบและไม่กำเริบ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า เอกจฺจสฺส ภิกฺขเว สงฺฆสฺส มชฺเฌ ปฏิกฺโกสนา รูหติ เป็นต้น. บทว่า ปกตตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีศีลไม่วิบัติ คือ ผู้ไม่ต้องปาราชิก. บทว่า อนนฺตริกสฺส ได้แก่ ผู้นั่งเป็นลำดับแห่งตน. เพื่อแสดงข้อที่กรรมทั้งหลายเป็นของกำเริบและไม่กำเริบ โดยวัตถุพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า เทฺว มา ภิกฺ บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อปฺปตฺโต นิสฺสารณํ, ตญฺเจ สงฺโฆ นิสฺสาเรติ, สุ จริงอยู่ สงฆ์ย่อมขับให้ออกจากวัด ด้วยปัพพาชนียกรรม, เพราะฉะนั้น ปัพพาชนียกรรมนั้น ท่านจึงเรียกว่า นิสสารณา. ก็เพราะเหตุที่ไม่เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล, บุคคลนั้นจึงไม่ถึงปัพพาช นิสสารณา โอสารณา ในเรื่องโอสารณานั้น ข้อว่า ตญฺเจ สงฺโฆ โอสาเรติ ได้แก่ เรียกเข้าหมู่ ด้วยอำนาจอุปสมบทกรรม. บทว่า โทสาริโต มีความว่า บุคคลนั้น สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วแม้ตั้งพันครั้ง ก็คงเป็นอนุปสัมบันนั่นเอง. ฝ่ายอาจารย์และอุปัชฌาย์ย่อมมีโทษ การกสงฆ์ที่เหลือก็เหมือนกัน ใครๆ ไม่พ้นจากอาบัติ. อภัพพบุคคล ๑๑ จำพวกเหล่านี้ สงฆ์เรียกเข้าหมู่ใช้ไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้. ส่วนบุคคล ๓๒ จำพวกมีคนมือด้วนเป็นต้น เรียกเข้าหมู่โดยชอบ, สงฆ์ให้อุปสมบทแล้ว ย่อมเป็นอุปสัมบันแท้, บุคคลเหล่านั้น ใครๆ จะว่ากล่าวอะไรๆ ไม่ได้. แต่อาจารย์กับอุปัชฌาย์และการกสงฆ์ย่อมไม่มีโทษ, ใครๆ ไม่พ้นจากอาบัติ. เพื่อแสดงกรรมไม่เป็นธรรมด้วยอำนาจวัตถุไม่เป็นจริง และกรรมเป็นธรรมด้วยอำนาจวัตถุเป็นจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า อิธ ปน ภิกฺ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินิสฺสชฺเชตา คือ ทิฏฐิลามกอันจะพึงสละเสีย. กรรมเป็นธรรมและไม่เป็นธรรม ด้วยอำนาจวัตถุนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ ในอุบาลีปัญหาก็มี. ในอุบาลีปัญหานั้น มีนัย ๒ คือ นัยมีมูลอันเดียว ๑ นัยมีมูลสอง ๑ นัยมีมูลอันเดียวชัดเจนแล้ว. ในนัยมีมูลสอง สติวินัยกับอมูฬหวินัย ท่านทำให้เป็นคำถามอันเดียวกันฉันใด, แม้อมูฬหวินัยเป็นต้นกับตัสสปาปิยสิกาเป็นต้น ก็พึงทำให้เป็นคำถามอันเดียวกันฉันนั้น. ส่วนในข้อสุดท้าย คำว่า อุปสมฺปทรหํ อุปสมฺปาเทติ ย่อมเป็นบทอันเดียวกันแท้. ข้างหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบบทที่เหลือทั้งหลายกับบทอันหนึ่งๆ ทำสติวินัยแม้แห่งภิกษุให้เป็นต้น. เพื่อแสดงวิบัติในกรรม ๗ อย่างมีตัชชนียกรรมเป็นต้น พร้อมทั้งกิริยาที่ระงับ จัดเป็นหมวดด้วยอำนาจบทเหล่านี้ คือ อธมฺเมน วคฺคํ อธมฺเมน สมคฺคํ ธมฺเมน วคฺคํ ธมฺมปฏิรูปเกน วคฺคํ ธมฺมปฏรูปเกน สมคฺคํ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิธ ปน ภิกฺขเว ภิกฺขุ ภณฺฑการโก เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนปาทาโน ได้แก่ ผู้เว้นจากมรรยาท, อาการเป็นเครื่องกำหนด เรียกว่ามรรยาท. ความว่า ผู้เว้นจากความกำหนดอาบัติ. เบื้องหน้าแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีนั้นเอง เทียบเคียงกับบทว่า อกตํ กมฺมํ เป็นต้น เพื่อแสดงประเภทแห่งกรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ. ในบาลีนั้น ใครๆ ไม่สามารถจะทราบคำใดๆ โดยทำนองแห่งบาลีหามิได้, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่พรรณ อรรถกถาจัมเปยยขันธกะ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จัมเปยยขันธกะ เรื่องพระกัสสปโคตรเป็นต้น จบ. |