ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 57อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 58อ่านอรรถกถา 5 / 61อ่านอรรถกถา 5 / 261
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ
อุบาสิกาสุปปิยาถวายเนื้อขาเป็นต้น

               ว่าด้วยเนื้อที่ควรและไม่ควร               
               บทว่า ปวตฺตมํสํ ได้แก่ เนื้อของสัตว์ที่ตายแล้วนั้นเอง.
               บทว่า มาฆาโต มีความว่า วันนั้น ใครๆ ไม่ได้เพื่อจะปลงสัตว์น้อยหนึ่งจากชีวิต.
               มีดสำหรับเชือดเนื้อเรียกว่า โปตถนิกะ.
               บทว่า กิมฺปิมาย พึงตัดว่า กิมฺปิ อิมาย.
               คำว่า น ภควา อุสฺสหติ มีความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นางไม่สามารถจะมาได้.
               บทว่า ยตฺร หิ นาม มีความว่า ชื่อเพราะเหตุไร?
               บทว่า ปฏิเวกฺขิ ได้แก่ วีมํสิ แปลว่า เธอพิจารณาแล้วหรือ.
               มีคำอธิบายว่า เธอสอบถามแล้วหรือ?
               บทว่า อปฺปฏิเวกฺขิตฺวา ได้แก่ อปฺปฏิปุจฺฉิตฺวา แปลว่าไม่สอบถามแล้ว.
               ก็ถ้าภิกษุรู้อยู่ว่า นี้เป็นเนื้อชนิดนั้น กิจที่จะสอบถาม ย่อมไม่มี แต่เมื่อไม่รู้ ต้องถามก่อนจึงฉัน.
               วินิจฉัยในคำว่า สุนขมํสํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               สุนัขป่าย่อมเป็นเหมือนสุนัขบ้าน. เนื้อสุนัขป่านั้นควร.๑-
               ฝ่ายสุนัขใด เกิดด้วยแม่สุนัขบ้านกับพ่อสุนัขป่าผสมกัน หรือด้วยแม่สุนัขป่ากับพ่อสุนัขบ้านผสมกัน เนื้อของสุนัขนั้น ไม่ควร. เพราะสุนัขนั้นซ่องเสพทั้งสองฝ่าย.
               บทว่า อหิมํสํ มีความว่า เนื้อแห่งทีฆชาติซึ่งไม่มีเท้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ควร. เนื้อราชสีห์เป็นต้นเป็นของชัดแล้วทั้งนั้น.
               ก็บรรดาอกัปปิยมังสะเหล่านั้น เนื้อมนุษย์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม ก็เพราะมนุษย์มีชาติเหมือนตน เนื้อช้างและม้าที่ทรงห้ามก็เพราะเป็นราชพาหนะ เนื้อสุนัขและเนื้องูที่ทรงห้าม ก็เพราะเป็นของสกปรก เนื้อ ๕ อย่างมีเนื้อราชสีห์เป็นต้น ที่ทรงห้าม ก็เพื่อต้องการความไม่มีอันตรายแก่ตน ฉะนี้แล.
               เนื้อก็ดี กระดูกก็ดี เลือดก็ดี หนังก็ดี ขนก็ดี แห่งสัตว์ ๑๐ ชนิดมีมนุษย์เป็นต้นเหล่านี้ ไม่ควรทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.
               เมื่อภิกษุรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ฉันอย่างใดอย่างหนึ่ง คงเป็นอาบัติแท้ รู้เมื่อใด พึงแสดงเมื่อนั้น. ไม่ถามก่อน รับด้วยตั้งใจว่า เราจักฉัน ต้องทุกกฏ แม้เพราะรับ. รับด้วยตั้งใจว่า จักถามก่อนจึงฉัน ไม่เป็นอาบัติ.
               อนึ่ง เป็นอาบัติเฉพาะแก่ภิกษุผู้รู้แล้วฉันเนื้อที่เป็นอุททิสสมังสะ เธอรู้ในภายหลัง ไม่ควรปรับอาบัติ.
____________________________
๑- น่าจะไม่ควร.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ อุบาสิกาสุปปิยาถวายเนื้อขาเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 57อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 58อ่านอรรถกถา 5 / 61อ่านอรรถกถา 5 / 261
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=1372&Z=1508
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3972
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3972
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๕  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :