บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ข้อว่า ปหูตํ ยาคุญฺจ มธุโคฬิกญฺจ ปฏิยาทาเปตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นให้ตกแต่งยาคูเป็นต้น ใช้ทรัพย์หมดไปแสนหนึ่ง. ในที่สุดแห่งอนุโมทนาคาถา พึงทำการเชื่อมบทว่า ปตฺถยตํ อิจฺฉตํ ด้วยคำว่า อลเมวทาตุํ นี้ แปลว่า ควรแท้ที่จะให้แก่ปฏิคาหกทั้งหลายผู้อยากได้. ก็ถ้าปาฐะว่า ปตฺตยตา อิจฺฉตา มีอยู่ไซร้ ปาฐะนั้นแลพึงถือเอา. บทว่า โภชฺชยาคุํ ได้แก่ ยาคูที่ยังการห้ามให้เกิด. บทว่า ยทคฺเคน มีความว่า ทำยาคูใดให้เป็นต้น. หลายบทว่า สคฺคา เต อารทฺธา มีความว่า บุญเป็นเหตุให้เกิดในสวรรค์ ท่านได้สร้างสมแล้ว. สองบทว่า ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ มีความว่า ภิกษุนั้นพึงให้ทำตามธรรม ด้วยปรัมปรโภชนสิกขาบท เพราะว่า การห้าม (โภชนะ) ย่อมมีเพราะยาคูที่ควรฉัน. สองบทว่า นาหนฺตํ กจฺจาน มีความว่า ได้ยินว่า เทวดาทั้งหลายเติมโอชะอันละเอียดลงในน้ำอ้อยงบที่เหลือนั้น น้ำอ้อยงบที่เหลือนั้น ย่อมไม่ถึงความย่อยไปได้ สำหรับชนเหล่าอื่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า คิลานสฺส คุฬํ มีความว่า เราอนุญาตน้ำอ้อยงบภายหลังภัตแก่ภิกษุผู้อาพาธด้วยพยาธิเห็นปานนั้น. บทว่า สพฺพสนฺถรึ มีความว่า อาวสถาคาร (เรือนเป็นที่พักแรม) จะเป็นสถานอันปูลาดทั่วถึงด้วยประการใด ได้ปูลาดแล้วด้วยประการนั้น. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ เรื่องพราหมณ์ถวายยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวานเป็นต้น จบ. |